ห้องเรียนในฝัน


สำหรับความเห็นเกี่ยวกับห้องเรียนในฝันนี้ ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ ห้องที่ใช้สำหรับการเรียน และ สิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับผู้เรียนในห้อง

ห้องที่ใช้สำหรับการเรียน

ควรมีพื้นที่พอเหมาะ (บางโรงเรียนโต๊ะเรียนมากเกินไปจนเด็กๆแทบจะไม่มีทางเดิน) สนับสนุนให้มีการใช้วัสดุรีไซเคิลในพื้นที่การเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกลดภาวะโลกร้อน มีมุมหนังสือสำหรับสร้างนิสัยรักการอ่าน และจัดให้เด็กได้มีการอ่านหนังสือให้เพื่อนฟัง เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษา การสร้างจินตนาการขณะฟัง และความสัมพันธ์ที่ดีในระหว่างเพื่อน

สิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับผู้เรียนในห้อง

คือให้มีการเชื่อมโยงธรรมในศาสนาเข้ากับทุกวิชาที่เรียน เพื่อค่อยๆปลุกฝังคุณธรรม ความรู้ในธรรม และกระตุ้นให้ใฝ่รู้ในธรรมและนำธรรมมาใช้ในชีวิตต่อไป

การปลูกฝังให้มีการนำธรรมะมาใช้ในชีวิต นอกจากจะเพื่อความสงบและเอื้อต่อการศึกษาของคนในสังคมแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนในหลายๆด้าน เช่น ก่อให้เกิดความสงบของจิต ทำให้ได้ใช้ศักยภาพของสมองมากขึ้น เพราะจะนำธรรมมาใช้ในชีวิต ต้องมีการทรงจำธรรมนั้นไว้ นำมาไตร่ตรอง เห็นประโยชน์ จึงครองตนตามธรรมนั้น อันเป็นการพัฒนาและใช้ศักยภาพของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในเวลาเดียวกัน

หากโยงหลักธรรมในพุทธศาสนาเข้ากับวิชาต่างๆ อาจเป็นดังนี้

วิชาวิทยาศาสตร์

เมื่อเรียนเรื่องของอะตอม อาจชวนเด็กพิจารณาการประกอบด้วยธาตุ 4 ของอะตอม

ธาตุทั้ง 4 นั้น โดยตัวธาตุเราไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากธาตุดิน หมายถึงการแผ่ขยาย การใช้เนื้อที่ ธาตุน้ำ หมายถึงการซึมซาบ การดึงดูดเข้าหากัน ธาตุลม หมายถึงการเคลื่อนไหว ธาตุไฟ หมายถึงความร้อน พลังงาน

อะตอมนั้น มีองค์ประกอบหลักคือนิวเคลียส และอีเลคตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆ ทั้งอะตอมนั้นคือการแสดงออกของธาตุดิน เพราะใช้พื้นที่ การที่อีเลคตรอนวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสได้ ก็เพราะแรงดึงดูดของนิวเคลียสเป็นการแสดงออกของธาตุน้ำ การวิ่งของอีเลคตรอน ก็คือการเคลื่อนไหวอันเป็นลักษณะของธาตุลม และเมื่ออีเลคตรอนเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ย่อมเกิดความร้อนอันเป็นการแสดงออกของธาตุไฟ

วิชาศิลปะ

อาจเล่าเรื่องราว หรือ องค์ธรรมในพุทธศาสนาให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กวาดภาพให้สัมพันธ์กับเนื้อความที่เล่า และเมื่อเด็กวาดภาพเสร็จแล้ว ควรให้เด็กได้เล่าสิ่งที่เขาสื่อออกมาสู่กระดาษเปล่าให้เพื่อนร่วมชั้นรับรู้ด้วย

เพราะการเห็นภาพ อันนำไปสู่การจำเป็นภาพ ช่วยให้เด็กมีความทรงจำที่ยาวขึ้น ความทรงจำที่เป็นรูปภาพ จะจำได้แม่นยำ และยาวนานกว่าความทรงจำที่เป็นตัวอักษร ดังนั้นถ้าเด็กอ่านไป ฟังไป เห็นภาพไป จินตนาการตามเนื้อเรื่องที่อ่านไป ก็จะจำได้ยาวนานและแม่นขึ้น

ความจำที่ยาวนานมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาความเฉลียวฉลาด หากเด็กได้รับการกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์ในเรื่องที่เคยจำไว้อีกครั้ง เมื่อดึงเรื่องราวจากความจำมาหาเหตุผลก็เท่ากับได้ใช้สมองซีกขวาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสมองซีกซ้าย

มีงานวิจัยในเด็กอายุประมาณ 6 ขวบที่ว่า ถ้าเด็กได้เรียนดนตรี และทำงานศิลปะควบคู่ไป สามารถทำโจทย์เลขคณิตได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเรียนเพียงวิชาเดียว สามารถสร้างศักยภาพเด็กในหลายๆด้านไปพร้อมๆกัน

วิชาขับร้องหรือดนตรีไทย

อาจนำแนวทางที่สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ให้ไว้มาเป็นแนวทาง เช่น ทรงโปรดให้มีการแต่งเพลงให้เข้ากับพุทธประวัติที่นำมาเล่าเป็นตอนๆ ดังตัวอย่างนี้

ตอนที่ ๙๙ พุทธมงคลประการที่๒๑
พุทธมงคลประการที่ ๒๑ ความไม่ประมาทในธรรม
ประมาท คือ อย่างไร
ประมาท แปลว่า มัวเมา เลินเล่อ เผลอ ลืมสติ ดูหมิ่น เช่นคำว่าประมาทหน้า ก็หมายถึงดูถูกว่าทำไม่ได้ หยามหน้า สบประมาท เป็นต้น คนที่ประมาทในการเรียนก็คือ คนที่ไม่สนใจในบทเรียน เลินเล่อ ไม่ตั้งใจทำ คนที่ประมาทในการทำงานก็คือ ทำงานทำๆหยุดๆ ทอดธุระ ปล่อยไปเรื่อยๆตามใจชอบ นึกสนุกก็ทำ ไม่นึกสนุกก็ไม่ทำ เห็นเรื่องจริงเป็นเรื่องเล่น ไม่ขะมักเขม้นที่จะทำให้ดีที่สุด ให้เสร็จเร็วที่สุด และเรียบร้อยที่สุด ดังนี้เป็นต้น
ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนไม่ประมาท?
พระท่านสอนว่า คนที่ไม่ประมาทนั้นจะต้องเป็นผู้มีสติ สตินั้นก็คือความระลึกรู้ตัวอยู่เสมอว่าตนกำลังทำอะไรอยู่ ฉะนั้นก่อนที่จะพูด จะทำ จะคิด จะต้องมีสติคอยกำกับควบคุม มีความยั้งคิดรอบคอบในกิจการงาน ความจำได้หมายรู้ จำได้ถึงการที่ตนได้ทำ และคำที่ตนได้กล่าว แม้จะนานก็ไม่ลืม ฉะนั้นคนที่ไม่ประมาท จึงเป็นคนที่มีสตอิยุ่เสมอ คนที่ขาดสติ มักทำผิด พูดผิด คิดผิด มักผลุนผลัน ไม่รอบคอบ บางคนขาดสติ ทำให้ได้รับภัยอันตรายก็มี เช่น คนที่ข้ามถนน ไม่มีสติคอยควบคุม ไม่ดูหน้าหลัง ข้ามพรวดพราด ก็อาจถูกรถชนได้
สำหรับความไม่ประมาทในธรรมนั้นก็คือ การระมัดระวังที่จะไม่ประพฤติผิดทั้งทางกาย วาจา และใจ ไม่ประมาทในความชั่ว คือมองเห็นเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ ไม่สำคัญ แล้วกระทำลงไป เพราะสิ่งเล็กๆน้อยๆนี้แหละอาจเป็นชนวนไปถึงเรื่องใหญ่ได้ ยกตัวอย่างเช่น คนที่คะนองปากคอ พูดจาลวนลาม ก่อให้เกิดความทะเลาะวิวาท และเมื่อเห็นอีกฝ่ายไม่พอใจ ก็ยิ่งยั่วยุมากขึ้นแทนที่จะสงบปากคำ หรือขอโทษเขา กลับเห็นเป็นเรื่องสนุก แต่อีกฝ่ายไม่สนุกด้วย ฉะนั้น เรื่องเล็กจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ คืออาจจะเป็นเรื่องถึงโรงถึงศาลก็เป็นได้ ฉะนั้น ความสำรวมระวังในกาย วาจา ใจ และประพฤติให้ถูกประพฤติควร อันเป็นความไม่ประมาทในธรรมนั้น จึงนับได้ว่าเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขความเจริญของชีวิตอีกประการหนึ่งดังนี้
เพลงประกอบ คำร้องของ อ.ร.ส.
ทำนอง คลื่นกระทบฝั่ง
ไม่ประมาท ในธรรม จงจำมั่น
จักป้องกัน ผิดพลาด อาจแก้ไข
โดยสำรวม ระวัง ไม่คลั่งไคล้
มิหลงใหล ได้สติ สมฤดี”

เหล่านี้คือความฝันที่อยากเห็นเกี่ยวกับ “ห้องเรียนในฝัน”

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 504864เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2016 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ห้องเรียนสงบเย็น เป็นประโยชน์

"ไม่ประมาท     ในธรรม    จงจำมั่น
จักป้องกัน      ผิดพลาด    อาจแก้ไข
โดยสำรวม     ระวัง      ไม่คลั่งไคล้
มิหลงใหล     ได้สติ     สมฤดี”

ไม่ทราบเพลงนี้หาฟังได้ที่ไหนครับ คุณณัฐรดา
ขอบคุณครับ...

 

อรุณสวัสดิ์รับฝนตกพรำๆกับแนวคิดดีๆของห้องเรียนในฝันนี้ค่ะ..

เรียน อ.นุ คะ

ในบันทึกของท่านนี้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/441065

พูดถึงเพลงคลื่นกระทบฝั่งไว้ค่ะ

มาเยี่ยมชมห้องเรียนในฝันของโยมด้วยความชื่นชม

มีห้องเรียนหนึ่งที่ใฝ่ฝันและอยากเรียนมานาน คือ ห้องเรียนพุทธศิลปะ เปิดเมื่อไร ไปเรียนเมื่อนั้น

อำลาจากบางแสน กลับไป มอดินแดง แล้ว นะท่าน

  • ชอบการเรียนรู้แบบนี้ครับ
  • พี่สบายดีไหมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท