เข้าใจ


เข้าใจ

เข้าใจ

 

เข้าใจแบบเข้าใจ

ในการทำงาน เรามีเพื่อนร่วมงาน ไม่มากคนก็น้อยคน

ที่บ้านหลังเลิกงาน เรามีคนของครอบครัว ซึ่งนอกเหนือไปจากเราคนเดียว

บางครั้งบางเหตุการณ์ บางเวลา เราเกิดความเห็นไม่ตรงกัน

ข้อคิดเห็น ความคิดในใจ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกัน หากกล่าวออกไปแล้ว จะไม่สามารถเรียกกลับคืน

 

คำพูดของเราเอง มีหลายวัตถุประสงค์ต่อการพูดออกไป

 

พูดออกไปเพื่ออธิบาย
เพื่อโต้ข้อขัดแย้ง
เพื่อแก้ตัว
เพื่อกล่าวพาดพิง
หรือเพื่ออื่น ๆ อีกหลายประการ

ทุกครั้งที่เราพูด อธิบาย โต้ แก้ตัว กล่าวพาดพิง หรืออื่น ๆ ออกไปนั้น
อาจไม่ได้ผล

ไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางบวก

ไม่ได้ก่อให้เกิดความเข้าใจกัน

ลองปรับเปลี่ยนวิธีการบ้าง


เปลี่ยนเป็นฝ่ายเงียบ รับฟังแต่เพียงฝ่ายเดียว


รับฟังแบบตั้งใจฟังจริง ๆ
รับฟังแบบละทิ้งอัตตา ตัวตน
รับฟังแบบ เราไม่ใช่เรา
รับฟังแบบเรามีความรักในการรับฟัง และตัวผู้พูด
รับฟังแบบให้เกียรติผู้พูด



เราคือเขา ผู้พูด


ถ้าเราคือเขา

เราฟังแล้วเราเข้าใจเจตนาผู้พูดหรือไม่

ถ้าไม่เข้าใจอีก ลองหยุด ปล่อยวางเรื่องนี้ไว้ก่อน

 

บางคนอาจบอกว่า อีกฝ่ายยังไม่หยุด

 

ไม่เป็นไร เราหยุดฝ่ายเดียว

ปล่อยให้เกิดความเงียบ

ปล่อยให้เกิดช่องว่างเงียบ ๆ

เหมือนอ่านหนังสือแล้วมีหน้าว่าง ๆ ให้พักสายตา

 


เมื่อเงียบ หยุด ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายจำต้องหยุดโดยปริยาย

เมื่อมีสภาวะการณ์ สถานการณ์ที่ดีขึ้น

เราสองคน สองฝ่าย สองด้าน สองกลุ่ม

อาจเข้าใจกันแบบเข้าใจ



โดย ไม่ต้องใช้การพูด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เข้าใจ...

คำสำคัญ (Tags): #เข้าใจ
หมายเลขบันทึก: 505389เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท