ครัวของโลก VS ครัวของเรา


เพิ่งดูรายการสยามวาระชองไทยพีบีเอสคืนนี้จบไป นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจ พูดถึงการแก้เชิง "โครงสร้าง" และ "การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ" ผมกลับเห็นว่า คนเล็กคนน้อยค่อยๆ ทำเศรษฐกิจพอเพียงของตนไปโดยไม่ต้องใช้พลังงานไปแก้โครงสร้างอะไร และก็เลิกคิดแข่งขันกับคนอื่น เพิ่มความสามารถในการพึ่งตนเอง โดยเฉพาะการพึ่งตนเองด้านอาหาร ซึ่งเป็นจุดแข็งของเรา ผมคิดว่า "จุดแข็ง" ที่สุดของเราคือการอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก ทำให้ผลิตอาหารได้ทั้งปี ที่สำคัญคือ ชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ยังคงถือครองที่ดิน (อันเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการผลิตอาหาร) อยู่มิใช่น้อย (แม้จะสูญเสียไปเยอะแล้ว) เพียงแต่คนที่ยังถือครองที่ดินอยู่ไม่หลงไหลไปกับวาทกรรม "ครัวของโลก" หันกลับมาใส่ใจกับ "ครัวของเรา" เป็นลำดับแรก สรุปคือ หากทำเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างจริงจัง เอาเป็นว่าสัก ๑ ใน ๑๐ ผมก็เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบ(โครงสร้าง)เศรษฐกิจไทย (และเศรษฐกิจโลก) แล้ว

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
๓๑ ต.ค.๕๕

หมายเลขบันทึก: 507296เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2012 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ไปอ่านเรื่องนี้มา
  • http://www.life.ac.th/a/life/precha.html
  • นักศึกษาทำได้ดีมากเลย
  • ข้าวออกรวงเป็นอย่างไรบ้างครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท