การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา


การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานี้ คงไม่มีใครปฏิเสธถึงความสำคัญ ประโยชน์

และความจำเป็นเพราะผลที่ได้จากการประเมินเปรียบเสมือนตัวชี้วัดว่า การขับเคลื่อนการศึกษาของชาติ

เดินถูกแนวทางมากน้อยแค่ไหนทั้งนี้ นับตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ เข้าสู่ยุคการปฏิรูปการศึกษา โดยมี

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 แก้ไข พ.ศ.2545 เป็นตัวกำหนดทิศทางขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยน การวัดและ

ประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยหลักที่ระบุไว้ชัดเจนและถือว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับเรื่อง โครงสร้างการ

หลักสูตรการเรียนการแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการกำหนดให้รัฐจัดการ

ศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 12 ปีเมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ซึ่งส่งผลให้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี

แบ่งการจัดการเรียนการสอน การวัดผลหรือการประเมินผลออกเป็น 4 ช่วงชั้น ได้แก่ ช่วงชั้นที่หนึ่งคือ ป.1-3 ช่วงชั้น

ที่สองคือ ป.4-6 ช่วงชั้นที่สามคือ ม.1-3 และช่วงชั้นที่สี่คือ ม.4-6 จากเดิมที่เราแบ่งการศึกษาออกเป็นสองช่วงชั้นคือ

ป.6 และ ม.6 นั่นคือเด็กที่เรียนจนถึงชั้นสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น คือ ป.3, ป.6, ม.3 และ ม.6 จะมีการวัดผลสัมฤทธิ์

ของการจัดการศึกษาแต่ละช่วงไป เป้าหมายคือ เพื่อจะได้สามารถแก้ไขทันเวลา หากพบว่าเด็กมีข้อบกพร่องหรือ

จุดอ่อนในวิชาด้านใดโดยหน่วยงานซึ่งรับหน้าที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในชั้นสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น คือ

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ซึ่งเพิ่งได้ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน เป็น ผอ.สทศ.คนใหม่

หันมามองอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ เนื้อหาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีการ ยกเครื่อง” ครั้งใหญ่

โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ช่วงชั้น ดังกล่าวเช่นเดียวกัน และในแต่ละช่วงชั้น มีการจัดวางเนื้อหาที่เหมาะสมกับอายุ

วัย ของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น ทั้งมีการแบ่งองค์ประกอบของเนื้อหาหลักสูตรออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนแรก ได้แก่ เนื้อหาหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ “ราก” ของตนเอง ความเป็นมาและ

เป็นไปของท้องถิ่นที่เกิดและอาศัยอยู่ ส่วนที่สอง ได้แก่ เนื้อหาหลักสูตรเกี่ยวกับชาติไทย ซึ่งเป็นการเรียนรู้

เกี่ยวกับประเทศของเรา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ เพื่อหล่อหลอมเด็กไทยให้มีความ

เป็น “พลเมืองไทย” และมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งประเทศ ส่วนที่สาม คือ เนื้อหาหลักสูตรระดับที่เป็น

สากล เพื่อเตรียมเด็กไทยให้มีความรู้ความสามารถในการก้าวขึ้นไปเป็น “พลเมืองโลก” ที่ดี

สำหรับข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมในเนื้อหาของหลักสูตรแต่ละวิชา ในแต่ละช่วงชั้นนั้น ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย

องคมนตรี และอดีต รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอธิบายพร้อมให้คำแนะนำว่า “เราต้องยอมรับว่า ความรู้ทุกศาสตร์ ของโลก

ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลกมีการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลา เราจึงไม่ควรยึดตำราเล่มใดเล่มหนึ่งเหมือน

กันทุกโรงและยึดถือเป็นเวลาหลายๆ ปี เพราะแทนที่จะมุ่งสร้างตำรามาตรฐาน เราก็ควรหันไปสร้างสาระการเรียนรู้

ในแต่ละสาขา โดยมองว่า แต่ละช่วงชั้นเด็กควรเรียนเนื้อหาอะไร แค่ไหน

เรื่องของหลักสูตรนี้ ต้องมีกรรมการขึ้นมาดูแล เช่น วิชาประวัติศาสตร์ ผมแนะนำว่า หากเป็นหลักสูตร

ท้องถิ่น ก็ควรมีกรรมการชำระประวัติศาสตร์ของจังหวัดตนเอง โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมด้วย

และตกลงร่วมกันว่าโรงเรียนในจังหวัดนั้นๆ ควรเรียนอะไรบ้าง และเมื่อขยับมาเป็นหลักสูตรแกนกลางหรือ

หลักสูตรระดับชาติและสากล ควรเป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการที่จะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการ ในต่างประเทศเขามีสถาบันพัฒนาหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ

ทำงานทุกวัน เพราะเนื้อหาหลักสูตรเปลี่ยนแปลงทุกวัน สำหรับประเทศไทย ผมคิดว่า เราน่าจะมีสำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ทำหน้าที่กำหนดสาระการเรียนรู้แต่ละวิชา

ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงชั้น” ศ.นพ.เกษม กล่าวย้ำ

เมื่อหลักสูตรมีความหลากหลาย การวัดประเมินผลจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับ

ว่าได้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ จึงต้องใช้ไม้บรรทัดอันเดียวกันเป็นเครื่องมือวัดผล ถือเป็นการวัดผลระดับชาติ

ที่เรียกว่า การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในแต่ละช่วงชั้น โดยผ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยสะท้อนมาตรฐาน

ของแต่ละช่วงชั้น หรือ National Education Test หรือ NET ซึ่งผู้รับหน้าที่ในจุดนี้ ก็คือ สทศ.นั่นเอง

โดย สทศ.จะทำการวัดผล เมื่อเด็กเรียนถึงชั้นสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้นคือ ป.3, ป.6, ม.3 และ ม.6 ส่วนในระหว่าง

ช่วงชั้น เป็นหน้าที่ของโรงเรียนร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการวัดและประเมินผล

ในปี 2549 สทศ. เริ่มทดลองการวัดประเมินผล หรือ ผลสอบ NET ในช่วงชั้นที่ 4 ที่เรารู้จักกันดีในชื่อแบบทดสอบทาง

การศึกษาแห่งชาติ ขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ วิชาหลัก 5 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เด็กไทยได้คะแนนเฉลี่ยไม่ผ่านเกณฑ์ 50% ทุกวิชา หรือตกเกณฑ์ทุกวิชา

ผลจากคะแนนสะท้อนให้เห็นจุดอ่อนของการจัดการศึกษาในแต่ละโรงเรียน เห็นสภาพปัญหา มีข้อเปรียบเทียบ

คุณภาพการจัดการศึกษาแต่ละห้องเรียนภายในโรงเรียนเดียวกัน ระหว่างโรงเรียน ระหว่างสำนัก งานเขตพื้นที่การ

ศึกษา ซึ่งก็จะรู้ว่านักเรียนตนเองอยู่ระดับใดของโรงเรียน ของเขตพื้นที่ ของจังหวัด และของประเทศ และจะต้องไต่

บันไดกี่ขั้น เพื่อที่จะประสบความสำเร็จ

ขณะเดียวกันก็เป็นฐานข้อมูลในการจัดสรรทรัพยากร เพื่อเติมเต็มจุดอ่อนด้อย ให้ได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพ

ตนเอง

ทั้งนี้การวัดประเมินผลทั้ง 4 ช่วงนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ควรจัดการทดสอบนักเรียนทุกคน ทุกโรงเรียน แต่เท่าที่ สทศ.

จัดสอบ เมื่อปี 2549 คือการจัดสอบนักเรียน ม.6 ทุกคน และคงจัดขึ้นอีกทุกปี เพราะผลการสอบโอเน็ตจะเป็นส่วนหนึ่ง

ขององค์ประกอบ หนึ่งในการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

ส่วนช่วงชั้นอื่นๆ นั้น เนื่องจากประสบปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ ในปีการศึกษา 2550 ขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อยุติว่า

จะสอบช่วงชั้นใด สอบทุกคน หรือสุ่มสอบเป็นบางโรงเรียน เพราะต้องใช้เงินมหาศาล ซึ่งล่าสุด มีข้อเสนอจาก สทศ.

ที่จะจัดการทดสอบช่วงชั้นที่ 3 หรือ ม. 3 แทน โดยมองว่าน่าจะเป็นผลดีกว่า เพราะจะเป็นการประเมินคุณภาพการ

ศึกษาภาคบังคับ ซึ่งเดิมกำหนดที่ ป.6 เป็น ม.3 แต่ก็ยังไม่มีข้อยุติ

ผมขอฝากข้าราชการประจำ นักการเมือง ให้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการวัดประเมินผลของ สทศ. มากำหนดเป็น

นโยบายและหลักปฏิบัติในการจัดการศึกษา ถ้าใครจับได้ ก็จะเป็นฮีโร่” ศ.นพ.เกษมกล่าวฝากทิ้งท้าย

ทีมการศึกษา เห็นด้วยเต็มร้อยว่า การวัดประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา คือสิ่งจำเป็นและต้องทำ แต่เราต้องขอฝาก

ว่า สิ่งแรกคือ สทศ.เองต้อง “ฟื้นศรัทธา” สร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจกับสังคมไทย

สำคัญที่สุดคือ ทุกภาคส่วน และทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานการศึกษาชาติ ต้องจริงใจ จริงจัง และมุ่งมั่น

เพราะงานการศึกษาไม่ใช่งานที่จะเห็นผลได้ในเวลาสั้นๆ การขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งการทำงาน

การศึกษา นอกจากจะเป็นคนเก่งแล้ว ยังต้องเป็นคนกล้า กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ และที่สำคัญกล้าที่จะยอมรับ

ความคิดของคนอื่น และพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเยาวชน

ที่มา :

 http://www.thairath.co.th/news.php?section=education08&content=20104

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 50824เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พระอภิรักษ์ ศรัสัจจา

โยมทำวิยานิพนธ์เกี่ยวกับเครื่องมือการวัดผลประเมินผลเอาไว้บ้างมัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท