คิดกลับหัว ทำกลับทาง (3-73)


“จะมีประโยชน์อะไรหากเรียนเก่งมากมาย ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต มีความสุขเฉพาะตนและพวกพ้อง แต่ไม่เคยรู้ร้อนรู้หนาว ใส่ใจความรู้ สุขทุกข์ของคนอื่นรอบข้างเลย...”

      .

        อ่านคำเชิญชวนให้เขียนประสบการณ์ “ห้องเรียนกลับทาง” ของผู้ดูแลระบบหลายวันแล้ว ได้แต่คิดๆ เพราะยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการสอนแบบห้องเรียนกลับทางและไม่มีเวลาพอจะนั่งคิดต่อ วันนี้พอมีเวลานั่งคิดเล่นๆ ว่า “ห้องเรียนกลับทาง” นี่น่าจะเป็นอย่างไร โดยไม่ได้อ้างอิงกรอบแนวคิดหรือทฤษฎีใดๆ แต่ใช้ “ความคิด” ของตัวเองเป็นหลัก


        พูดถึงคำว่า “ห้องเรียน” ก็คือ สถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอน/การเรียนรู้ จะใหญ่โต โอ่อ่า เล็กแคบ ติดแอร์ หรือไม่มีหลังคา ... สุดตามแต่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ นโยบายของแต่ละโรงเรียน แล้วทีนี้  “ห้องเรียนกลับทาง” นี่ล่ะ เป็นอย่างไรนะ


        คิดไปคิดมาก็นั่งยิ้มเดินยิ้มอยู่คนเดียว  (อาการสาหัสแล้ว) เห็นภาพที่นักเรียนยกมือสลอนและบอกครูว่า “จากมติของพวกเรา เราอยากเรียน..... “  จากนั้นคุณครูก็จดบันทึกไว้อย่างรวดเร็วเต็มอกเต็มใจ นัดหมายกันว่าจะ “เรียนรู้ร่วมกัน” ในวันไหน คาบไหน ใช้เวลาเท่าไร ด้วยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และอยากรู้แค่ไหน จะวัดประเมินผลกันอย่างไร ...ฯลฯ  ครูทำหน้าที่ผู้สนับสนุนการเรียนรู้ ไม่ใช่ผู้ให้เนื้อหาความรู้อย่างเดียว 

         แค่คิดก็รู้สึกสนุกตื่นเต้น เร้าใจกับห้องเรียนกลับทางนี้เสียแล้ว พูดถึงทฤษฎีไว้สักเล็กน้อย นักวิทยาศาสตร์ทางสมองและแนวคิดหลายสำนัก กล่าวไว้ว่า “เมื่อผ่อนคลายมีความสุข ไม่เครียด สมองจะเรียนรู้ได้ดีกว่าปกติ




          ส่วนตัวคิดว่าอาจไม่ต้องมีวิชาอะไรมากมายนัก เพราะทักษะการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 นั้น เน้นปัจจัยเรื่อง "การเข้าถึง" มากกว่าตัว "สาระเนื้อหา" แล้ว  แต่อย่างไรก็ตามที เรื่องที่จำเป็นๆ ก็น่าจะเป็นวิชาเกี่ยวกับสังคม (ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์)  ภาษา (ภาษาไทย อังกฤษ ทักษะการฟัง อ่าน เขียน ฯลฯ ที่สนใจ) ศิลปวัฒนธรรม (สุนทรียศาสตร์ ดนตรี ร้องเพลง ฟังเพลง อ่านโคลงฉันท์กาพย์กลอน) และที่สำคัญที่สุดคือ ศาสตร์การเรียนรู้ (วิธีการหาความรู้) เพราะข้อมูลความรู้ต่างๆ ในโลกนี้มากมายล้นทะลัก จนเสพและย่อยเกือบไม่ทัน (อาการของนักเรียนปัจจุบันที่พบคือ สำลักความรู้) แต่วิธีการเรียนรู้ต่างหากที่เราควรสอนให้เป็น “ทักษะพื้นฐาน” ของชีวิตเด็กๆ ที่ต้องเติบโตและใช้ชีวิตต่อไปในโลกนี้


          วิธีการ/ทักษะการเรียนรู้ เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน แสดงออก การเข้าใจยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง การเข้าใจในตนเองและผู้อื่น ... ทักษะเหล่านี้ต้องกำกับไว้ด้วยความรู้สึกยอมรับและเข้าใจใน “ความเป็นมนุษย์” ทั้งของตนเองและคนอื่น ดังที่ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ กล่าวไว้อย่างน่าคิดยิ่งว่า

“ภาวะพร่องของความเป็นมนุษย์และการขาดสำนึกของความเป็นมนุษย์ร่วมกันนี้เอง ที่ทำให้เราไม่รู้สึกรู้สมกับปัญหาสังคมและไม่อินังขังขอบกับความทุกข์ยากของผู้คน”


          เกิดคำถามที่ต้องถอนใจกับตัวเองว่า...  “จะมีประโยชน์อะไรหากเรียนเก่งมากมาย ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต มีความสุขเฉพาะตนและพวกพ้อง แต่ไม่เคยรู้ร้อนรู้หนาว ใส่ใจความรู้ สุขทุกข์ของคนอื่นรอบข้างเลย...”

ได้แต่หวังว่า... โลกคงไม่แห้งแล้งเสียขนาดนั้น...


         เขียนไปเขียนมาก็ตกใจ อ้าว...นอกประเด็นไปไกล แล้วเกี่ยวกับ “ห้องเรียนกลับทาง” ตรงไหนกันล่ะนี่... ฮาๆๆๆ  คิดข้างๆ คูๆ ต่อไปว่า เถอะน่า...อย่างน้อยก็คิดแบบไม่อยู่ในกรอบห้องเรียนพื้นที่จำกัดๆ นี่ เลยไม่ต้องสนใจ เรื่องการเช็คชื่อ การสอบ คะแนน หัวข้อประเด็น...ไงล่ะ

หาทางไปจนได้...เหมือนกันนะ ฮาๆๆๆๆๆ


หมายเลขบันทึก: 508275เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2012 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2013 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

"คุณครับ ห้องเรียน กลับทาง ไหน ครับ ไม่ได้เข้าห้องสอนนานแล้ว กลับไม่ถูก" อิอิอิ

สวัสดีค่ะท่าน อ. Ico48

แสดงว่าท่านได้จัด ห้องเรียนกลับทาง แล้ว น่าภูมิใจแทนนักเรียนจังค่ะ

แต่จะกลับทางไหน คนอื่นคงยากที่จะบอก ก็คงต้องกลับทางที่มานั่นล่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ  :) 

อ่านลื่นไหลได้อรรถรสและข้อคิด ชอบครับ

สวัสดีค่ะคุณ Ico48

พยายามเขียนแบบผ่อนคลายๆ ขำๆ เพราะในชีวิตประจำวันก็ต้องเขียนงานวิชาการที่เครียดๆอยู่แล้ว

ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ  :)

ดีจังเลยค่เ..เขียนได้ตรงใจมาก..เรียนรู้ให้อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างมีความสุข..

เคยลองไม่เช็คชื่อครับ  ห้องเรียนไม่เพียงแก่กลับทางครับ พลิกคว่ำด้วยครับ 555

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

การศึกษา ควรเป็นกระบวนการที่ทำให้ คนได้งอกงาม เติบโตด้านความรู้ ความคิด จิตวิญญาณ ซึ่งความเติบโตงอกงามนั้นควรเป็นไปเพื่อเกื้อกูลคนและสังคม...

ดังนั้นน้องคิดว่า หากไม่เป็นดังนี้ เราอาจต้องทบทวน "ระบบการศึกษา" เราพลาดไปตรงไหนหรือเปล่าค่ะ  :)

สวัสดีค่ะท่าน Ico48

หากเป็นดังที่ว่า ครูผู้สอน น่าจะต้องพิจารณาตัวเองก่อนอย่างเร่งด่วน...ฮาๆๆๆๆๆ

แต่ก็คงมีอีกหลายปัจจัยที่นอกเหนือจากการควบคุมจัดการของ ครู อาทิเช่น ระบบต่างๆ ทั้งที่บ้าน สถานศึกษา สังคม... ค่านิยม ฯลฯ

เป็นอันว่า เริ่มที่ตัวเราในฐานะ ครู ก็ทำให้เต็มที่... แล้วทำใจร่มๆ รอรับผลที่จะเกิดขึ้นด้วยใจเบาๆ ก็แล้วกันนะคะ  :)

“จะมีประโยชน์อะไรหากเรียนเก่งมากมาย ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต มีความสุขเฉพาะตนและพวกพ้อง แต่ไม่เคยรู้ร้อนรู้หนาว ใส่ใจความรู้ สุขทุกข์ของคนอื่นรอบข้างเลย...”

ชอบใจค่ะ ดูเหมือนบ่นเล็กๆ แต่หากทุกคนมีจิตสำนึก ก็ทำให้สังคมอุ่นขึ้นค่ะ

“จะมีประโยชน์อะไรหากเรียนเก่งมากมาย ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต มีความสุขเฉพาะตนและพวกพ้อง แต่ไม่เคยรู้ร้อนรู้หนาว ใส่ใจความรู้ สุขทุกข์ของคนอื่นรอบข้างเลย...” ชอบค่ะ อยากให้มีสุขนำแล้วเก่งค่อยตามมาค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ Ico48

จิตสำนึก เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องเร่งสร้างให้กับเด็กรุ่นใหม่นะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูนก Ico48

ดีใจได้ทักทายกับกัลยาณมิตรอีกครั้ง

ความเก่ง ต้องมีความดีกำกับ และความสุขก็ไม่ห่างไกลแล้วค่ะ  :)

เกิดคำถามที่ต้องถอนใจกับตัวเองว่า...
“ จะมีประโยชน์อะไรหากเรียนเก่งมากมาย ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต มีความสุขเฉพาะตนและพวกพ้อง แต่ไม่เคยรู้ร้อนรู้หนาว ใส่ใจความรู้ สุขทุกข์ของคนอื่นรอบข้างเลย...”

ได้แต่หวังว่า... โลกคงไม่แห้งแล้งเสียขนาดนั้น...

ปัจจุบันมีมากขึ้น หลายๆคนไม่รู้ร้อนรู้หนาว แต่หลายคนรู้ร้อนรู้หนาวและมีความพยายามจะช่วยแต่ช่วยแล้ว ไม่ไปถึงไหน ก็เกิดรู้สึกว่านิ่งดีกว่า ใจถอย เบื่อ ไม่ได้รับความร่วมมือ ทำเท่าที่ทำได้แล้วกัน

แต่ก็มีกลุ่มที่มีโอกาสทำได้เต็มที่ แต่ไม่ทำนี่ซิ ช่วยกันจับกลับทางดีไหม

สวัสดีครับคุณครูนก

ผมเห็นด้วยครับเีรียนเก่ง ประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต แต่ไม่ได้มองเห็นคนอื่นหรือเพื่อนร่วมโลกเลย และผมว่าควรเพิ่มวิชาวิชาการดำเนินชีิวิตอย่างไรให้มีความสุขทั้งกาย และใจด้วยนะครับ อิอิ...

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะพี่ Ico48  

อ่านคำถามของพี่ที่ว่า...มีกลุ่มที่มีโอกาสทำได้เต็มที่ แต่ไม่ทำนี่ซิ ช่วยกันจับกลับทางดีไหม...

ดีมากๆ เลยค่ะ ... กลับทางใหม่ ความคิดเปลี่ยน การกระทำก็เปลี่ยนค่ะ  

ขอบคุณภาพและเรื่องราวดีๆ ที่พี่ดานำมาฝากค่ีะ  :)

สวัสดีค่ะคุณ Ico48

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ วิชาการดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุข นี่ ควรเป็นวิชาบังคับเลยนะคะ  เพราะเราทุกคนต้องใช้ชีวิต หากมีแต่ทุกข์ คงน่าเสียดาย....

ขอบคุณค่ะ  :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท