ทำงานแล้วไม่มีความสุข ทำไมไม่คิดการปรับปรุงงาน ...



     วันนี้ได้มีเวลามากพอที่จะกลับมานั่งทบทวนว่า จากการนิเทศที่ผ่านมาทำไมหลายๆ โรงพยาบาลถึงยังดำเนินการโรงเรียนพ่อแม่ได้ไม่เต็มรูปแบบซักที  ทั้งๆที่ทุกคนพูดว่า "สำคัญ  เพราะเป็นการส่งเสริมสุขภาพแม่ลูก "  และในความเป็นจริงไม่ใช่แค่นั้น การทำกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ยังเป็นการ "ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว " อีกด้วย

     ได้เข้าไปเรียน e-learning ของกพ.เรื่อง "การปรับปรุงการทำงาน " ของ รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ จึงได้แนวคิดมาว่า บางครั้งคนเราอาจทำงานจนไม่มีเวลากลับมาทบทวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการมากขึ้น  แล้วปล่อยชีวิตให้ทำงานหมดไปวันๆ หนึ่ง เพราะขาดไฟที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เพราะการเริ่มต้นใหม่ ต่อสู่กับความคิดเดิมๆ ของผู้ร่วมงานย่อมต้องเหนื่อยอย่างแน่นอน  เพราะเพียงแค่ทุกคนลองถามคำถาม 3 คำถามว่า

                   ทำไมต้องทำงานนั้น ??

                   ทำวิธีอื่นได้ไหม??

                   ทำเวลาอื่นได้ไหม ??

  อืมมมม......นั่นสิ ทำไม ต้องทำโรงเรียนพ่อแม่   ??

           สิ่งที่ค้านอยู่ก็คงอยากตอบว่า..........ก็สอนสุขศึกษาให้ความรู้อยู่ทุกวันแล้ว

ถามต่อ ...แล้วที่สอนอยู่ทุกวันนั้นล่ะ ได้เคยประเมินผลการสอน เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์บ้างหรือเปล่า...??

ตอบ........ไม่มีเวลามากพอหรอกนะ ผู้รับบริการมาก เจ้าหน้าที่ก็มีไม่พอ งานก็มีหลายอย่าง สอนไปก็แค่นั้น  มีแต่เสียงบ่นว่าสอนไปก็จำไม่ได้  พอถามก็บอกว่าไม่ได้สอน ไม่เห็นจะทำเลย แล้วสอนทุกคนเลยนะ เหนื่อยจะแย่ เอกสารก็แจกไม่รู้จะเอาอะไรอีก  แล้วพอบอกว่าจะสอนก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ จะรีบกันทั้งนั้น  พ่อก็ไม่ค่อยเข้ามาฟังหรอก ต้องบังคับกัน ก็แค่ขับรถมาส่งก็ดีแล้ว

  อืมมมม....แล้วทำไมยังทำวิธีนี้อยู่....ทำไมไม่ลองคิดวิธีอื่นที่จะไม่ทำให้เราเหนื่อยแล้วไม่ได้ผลงาน  แล้วทำให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์จากการรับความรู้มากขึ้นล่ะ??    

ลองคิดนะว่า " อะไรจะเกิดขึ้น  ถ้าเรายังทำงานแบบเดิมๆ  ไปเรื่อยๆ ???"

ถาม....1. ถ้าเราทบทวนขั้นตอนการทำงานแล้ว  มีคนอื่นมาช่วยเราได้หรือไม่ เช่น เรื่องฟัน ให้ทันตะสอนได้มั้ย  เรื่องยา ให้เภสัชสอนได้มั้ย เรื่องนมแม่ให้มีสนมแม่สอนได้มั้ย  หรือเรื่องการเตรียมตัวก่อนคลอดก็ให้ห้องคลอดมาสอนได้หรือไม่

         2. ทบทวนเนื้อหาที่สอน ..มากไปหรือเปล่า  ใช่สิ่งที่ผู้รับบริการอยากรู้มั้ย  แล้วเนื้อหาที่สอนซ้ำซ้อนกันกับที่อื่นอีกหรือไม่ คนเรียนเบื่อตายชัก..เรียนซ้ำ พูดบ่อยๆ จนกลายเป็นพยาบาลขี้บ่น  ว่าอีกแล้ว ไม่ฟังดีกว่า

         3. เวลาที่ใช้สอน...นานไป น้อยไป หรือเปล่า

         4. สถานที่สอน...นั่งคุยกันไปเรื่อยๆ  หรือเป็นกลุ่ม  ห้องก็ดูให้วุ่นวาย คนเดินเข้าเดินออก หาสมาธิไม่ได้ อยากจะตั้งใจฟัง แต่บรรยากาศเหมือนตลาดสด ก็คงไม่ไหวเนาะ

         5. คนสอน...มาบ่น หรือมาให้ความรู้  รู้ประเด็นมั้ยว่าชาวบ้านเค้าสอนอะไรกัน  เนื้อหาขอบเขตแค่ไหน มี guildline ซักหน่อยก็ดีจะได้ไม่สอนไปเรื่อย

          6. คนเรียน...ก็ไม่ต้องคาดคั้น บังคับให้เรียนทุกคนหรอกนะ...แต่ใช้การจูงใจจะดีกว่า เช่น สามีถ้าเราอยากให้มาเรียนด้วย ก็ต้องมีกิจกรรมให้เค้ามีส่วนร่วม ไม่ใช่มานั่งหลับกรนดังในห้องอีกตะหาก...

          7. สื่อการสอน...น่าสนใจมั้ย เหมือนเราไปดูหนังซักหนึ่งเรื่อง ถ้าโปรแกรมหนังน่าสนใจก็อยากไปดู  แล้วพอเข้าไปดู ถ้าหนังสนุก ก็ดูต่อจนจบ แล้วอยากดูต่อภาค 2 จริงป่ะ

          ก็ฝากกำลังใจให้ทุกคนที่ทำงานค่ะ ..ถ้าปรับเปลี่ยนได้ การทำงานก็จะง่ายขึ้น  แต่ช่วงปรับเปลี่ยนใหม่ เหนื่อยแน่นอน เพราะชีวิตมักมีหนามกุหลาบแทรกอยู่ในกลีบกุหลาบเสมอ...


หมายเลขบันทึก: 508337เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2012 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท