ครอบครัวประสาน ด้วยการเห็นคุณค่า


      บันทึกนี้  ได้แนวคิดหลักมาจาก  หนังสือทางเลือกที่สาม ของ Stephen R.  Covey ในบทที่ ๔  ทางเลือกที่สามกับครอบครัว    


                                         


       Covey สรุปว่า  "ความขัดแย้งทุกประการในครอบครัว ล้วนเป็นความขัดแย้งเรื่องอัตลักษณ์  นั่นคือ คุณค่าในตัวของเขาถูกคุกคาม  จะทำให้เขาเกิดความรู้สึก ไม่ได้รับการใส่ใจ  ไม่มีความสำคัญ  ถูกต่อว่า  รู้สึกผิด  คุณค่าในตัวเองลดลง หรือ ไม่ได้รับการยอมรับ ถูกปฏิเสธ ขาดอำนาจ แห้งแล้งในจิตใจ หรือ ไม่ได้รับความรัก"


      จากประสบการณ์จริงที่ผ่านมา  พบว่าหลายๆ ครอบครัว  ที่มีปัญหาเรื่องการหย่าร้าง  ปัญหาฝ่ายชายไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น ที่เรียกว่า "มีกิ๊ก"   ปัญหาการไม่ลงรอยร้าวฉาน   ก็ล้วนมีสาเหตุมาจาก ฝ่ายชาย  ไม่ได้รับการเห็นคุณค่า จากฝ่ายหญิง   ฝ่ายชาย  จึงไปหา "กิ๊ก"  ที่เห็นคุณค่าของเขาแทน


      ละครเรื่อง "แรงเงา"  ที่กำลังมาแรง   ก็เข้าข่าย  ผอ. ไม่ได้รับการเห็นคุณค่า  จากภรรยา


     ทางออกในเรื่องนี้  ถ้าเป็นฝ่ายหญิิง  ก็คงต้องทำเป็น "แกล้งโง่"  บ้าง   เห็นคุณค่าในตัวของสามี  ให้การยอมรับและยกย่องชมเชยบ้าง  ตามควร  ไม่เพิ่มคุณค่า  ก็อย่าไปลดคุณค่าในตัวเขา   หรือ ถ้ามีอะไรที่เขาทำไม่ดี  ไม่ถูกใจ   ก็ให้มีศิลปะในการเจรจาต่อรอง  ที่ไม่ไปลดคุณค่าในตัวเขา


                                     

 

    สำหรับฝ่ายชาย  ที่รู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าจากฝ่ายหญิง Covey ได้ใหคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ว่า  เมื่อฝ่ายชายถูกฝ่ายหญิง ลดคุณค่า  ให้ใช้ทางเลือกที่สาม  เป็นทางเลือกที่ดียิ่งกว่าการควบคุมอารมณ์ไว้  หรือ ปลดปล่อยมันออกมา  คือ  การเปลี่ยนแปลงอารมณ์แบบนั้นไปเลย


    บางคนใช้วิธี "เก็บกด"  แต่ไม่หายไปนะครับ    ไประบายออกที่อื่น  ไประบายออกทางอื่น   ที่เห็นได้ชัด คือ  ไประบายออกในที่ทำงาน  กับคนที่ไม่มีอำนาจ  ไปสร้างปัญหาให้คนอื่นอีก

 

      ใช้วิธีปลดปล่อยออกมา  ก็จะยิ่งร้าวฉานรุนแรงขึ้นไปอีก

   

   ทางออกที่สาม  Covey บอกว่า   "จงเปลี่ยนแปลงอารมณ์แบบนั้นไปเสีย จงทดแทนความขุ้นข้อง ความโกรธเคือง และ แรงกระตุ้นที่ทำร้ายเรา ด้วยความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น"


                               


      ซึ่งต้องอาศัยอาศัยความสุขุมรอบคอบ อาศัยความมีสติรู้ตัว และ การฝึกฝนซ้ำๆ  เพื่อที่จะได้สงบนิ่งอย่างครุ่นคิดพิจารณาอยู่ภายในพื้นที่ว่างระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และเลือกที่จะ


       เห็นอกเห็นใจคนอื่น


       ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ  เคยมีใครบ้างไหมที่เป็นที่รักมากขึ้นโดยการทำร้ายคนที่เขารัก   คำถามจาก Covey


        ครับ ฝ่ายชาย  คงต้อง "หนักแน่น  และ พร้อมที่จะให้ความรักความเข้าใจ ในคนที่เรารัก  เขาต่อว่าต่อขานเรา  เราต้องเข้าใจในตัวเขา  ว่าเขาต้องการคุณค่าในตัวเองเหมือนกัน   เมื่อเราให้คุณค่าเขา  เขาก็จะให้คุณค่าเราเอง

     

       เปาบุ้นจิ้น  กล่าวไว้ว่า  ยศฐาบรรดาศักดิ์เป็นของนอกกาย ลูกแก้วเมียขวัญเป็นความสุขอันแท้จริงของมนุษย์


                                            


       มาปรับตัวปรับใจเข้าหากัน  ด้วยการเห็นคุณค่าของแต่ละฝ่าย  ดีกว่านะครับ   ดีกว่าไปลดคุณค่าอีกฝ่าย เพื่อมาเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง


   

หมายเลขบันทึก: 509094เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 06:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนท่านอาจารย์

  • ผอ.โรงเรียนประถมฯที่อยู่ข้างบ้านคุณยายไปแต่งงานใหม่ เพราะทนการดูถูกจากภรรยาไม่ได้ค่ะ หลายคนจับตามองและกังวลว่าจะเป็นแบบนี้ แล้วก็เป็นจริงๆ ภรรยาของท่านชอบจิกด่าต่อหน้าสาธารณชน เพื่อแสดงความเป็นใหญ่ และพูดเสมอว่า ท่านผอ.ได้ดีเพราะตัวเอง ตอนนี้ท่านผอ.แต่งงานใหม่ ควงภรรยาออกงาน หวานจ๋อยเลยค่ะ

Ico48 คุณมนัสดา ครับ

     ขอบคุณมากครับ เสนอประสบการณ์จริงที่เป็นประโยชน์  ผอ.โรงเรียนประถม  ( ผอ.อีกแล้ว)

     ยิ่งคนมีอำนาจตำแหน่ง ยิ่งต้องการคุณค่าจากที่บ้่านครับ  ที่บ้านไม่เห็นคุณค่า แล้วจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน ๕๕

     ที่ผมเห็นมา  หลายคน  ไปมีกิ๊ก   ก็เพราะ ภรรยา  ไม่เห็นคุณค่าสามี  ไม่ยอมรับสามี   แถมยังต่อว่า  บ่นด่า  มีแต่ไปลดคุณค่าเขา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท