ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 23


  • กริยาอดีตกาลธรรมดา
  • นามเพศหญิง อีการานต์
  • สนธิเสียงนาสิกท้ายคำ ง ณ น

หลายบทที่ผ่านไปคือการใช้กริยาปัจจุบันกาล คราวนี้เรามาเรียนเรื่องอดีตกาลธรรมดากันบ้าง  อดีตกาลธรรมดานั้น ภาษาสันสกฤตเรียกว่า อนทฺยตนภูตะ หรือใช้ศัพท์เฉพาะว่า ลัง (ลงฺ) ก็เป็นอันเข้าใจ ส่วนภาษาอังกฤษนั้น ตำราเก่ามักจะเรียกว่า imperfect (หรือ indicative imperfect) แต่ตำราสมัยใหม่ว่า past tense ก็มี

อดีตกาลในภาษาสันสกฤตมีหลายเทนส์ด้วยกัน แต่ละกาลไม่มีความแตกต่างในแง่ของระยะเวลา หรือรายละเอียดมากนักสำหรับภาษาสันสกฤตแบบแผน ในที่นี้จึงไม่ต้องอธิบายมาก เอาเป็นว่า อดีตกาลใช้เล่าเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว ไม่มีการเน้นจังหวะหรือช่วงเวลา

1. การสร้างกริยาอดีตกาลธรรมดา

การสร้างกริยาอดีตกาลก็ไม่แตกต่างมากนักจากกริยาปัจจุบันกาล เพียงเติมเสียง อะ á (มีเสียงเน้น) หน้าธาตุ ลงปัจจัยประจำหมวด (เฉพาะหมวด 1, 4, 6, 10) ลงปัจจัยเฉพาะของอดีตกาลธรรมดา ก็เป็นอันจบ มาดูขั้นตอนกันเลย

     1) ลงเสียง อะ ข้างหน้าธาตุ ซึ่ง อะ ตัวนี้ เราจะเรียกว่า อาคม (ไม่เรียกว่าอุปสรรค) เช่น √วทฺ √vad ลงอาคม อะ á ก็ได้ อวทฺ ávad จากนั้นก็เติมปัจจัยประจำหมวด 1 เป็น อวท ávada แล้วเติมปัจจัยบอกบุรุษ พจน์ เช่น อวท + ตฺ = อวทตฺ ávadat

     2) แต่ๆๆๆ... หากข้างหน้าธาตุเป็นสระ เมื่อลง อะ ข้างหน้า ก็ต้องสนธิ โดยเปลี่ยนรูปสระนั้นเป็นสระขั้นพฤทธิ (ไม่เปลี่ยนไปเป็นสระขั้นคุณตามการสนธิปกติ) เช่น อะ + √อีกฺษฺ > ไอกฺษฺ (ไม่ใช่ เอกฺษฺ)

     3) ถ้าธาตุนั้นมีอุปสรรค ก็ลง อะ หน้าธาตุเสียก่อน แล้วค่อยเอาอุปสรรคมาแปะข้างหน้าสุดอีกที เช่น อุปนี

  •   ลง อะ หน้า นี เป็น อะ + นี = อนี
  •   ลง อุป หน้า อนี เป็น อุป + อนี = อุปานี

  จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนปกติ คือ เติมปัจจัยประจำหมวด 

  •   อุปานี + อะ = อุปานยฺ + อะ = อุปานย
  •   เติมปัจจัย ตฺ เป็น อุปนายตฺ จบ

     4) เติมปัจจัยบอกเพศ พจน์ ในอดีตกาลธรรมดา ปรัสไมบท (ตัวอย่าง √วทฺ)

-m -มฺ

  -va  -ว*

  -ma  -ม*

  ávadam อวทมฺ

  ávadāva อวทาว

  ávadāma อวทาม

-s -สฺ

  -tam -ตมฺ

  -ta   -ต

  ávadas อวทสฺ

  ávadatam อวทตมฺ

  ávadata อวทต

-t  -ตฺ

  -tām -ตามฺ

  -an  -อนฺ**

  ávadat อวทตฺ

  ávadatām อวทตามฺ

  ávadan อวทนฺ

* เค้ากริยาที่ลงท้ายสระอะ ให้ยืดเสียงก่อนเติมปัจจัย  ** เค้าที่ลงท้ายสระอะ ให้ลบสระอะก่อนเติมปัจจัย

     5) ธาตุที่ควรรู้

√กฺฤตฺ + อว  อวกฺฤตติ avakṛtáti  ตัดออก
√ปฐฺ           ปฐติ       páthati     ท่อง, อ่าน
√วิศฺ + ปฺร    ปฺรวิศติ    praviśáti  เข้าไป
   √วิศฺ + อุป อุปวิศติ  upaviśáti    นั่งลง
   √หฺฤ + อา อาหรติ,  อาหรเต 
                  āhárati, āhárate     ไปเอามา, นำมา


แบบฝึก

1.1 จงแจกกริยาอดีตกาลธรรมดา เอกพจน์ บุรุษที่ 3 จากธาตุต่อไปนี้

     1) √ชิ  2) √ปฐฺ  3) √นี  4) √ทฺฤศฺ  5) √วิศฺ  6) หฺฤ

1.2. จงอธิบายการสร้างรูปกริยาต่อไปนี้ โดยละเอียด

     1) อุทปตนฺ  2) อาคจฺฉตฺ  3) อวคจฺฉาว  4) ปฺราวิศต


2.การแจกรูปคำนามเพศหญิง อี การานฺต

นามเพศหญิง ลงท้ายสระอีนั้นมีมาก ตำรามักจะให้แจกตามแบบ นที (แม่น้ำ) ดังนี้

การก

  เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

อาลปน

  นทิ       नदि

  นทฺเยา   नद्यौ

  นทฺยสฺ    नद्यस्

กรฺตฺฤ

  นที       नदी

  นทฺเยา   नद्यौ

  นทฺยสฺ    नद्यस्

กรฺม

  นทีมฺ     नदीम्

  นทฺเยา   नद्यौ

  นทีสฺ      नदीस्

กรฺณ

  นทฺยา   नद्या

  นทีภฺยามฺ नदीभ्याम्

  นทีภิสฺ    नदीभिस्

สมฺปฺรทาน

  นทฺไย   नद्यै

  นทีภฺยามฺ नदीभ्याम्

  นทีภฺยสฺ  नदीभ्यस्

สมฺพนฺธ

  นทฺยาสฺ  नद्यास्

  นทีภฺยามฺ नदीभ्याम्

  นทีภฺยสฺ  नदीभ्यस्

อปาทาน

  นทฺยาสฺ नद्यास्

  นทฺโยสฺ   नद्योस्

  นทีนามฺ  नदीनाम्

อธิกรฺณ

  นทฺยามฺ नद्याम्

  นทฺโยสฺ   नद्योस्

  นทีษุ     नदीषु


3. เสียงนาสิก งฺ ณฺ และ นฺ  ที่อยู่ท้ายคำ และหลังสระเสียงสั้น, เมื่อมีสระตามมาในคำถัดไป ให้ซ้ำเสียงนาสิกนั้น เช่น อติษฺนฺ อตฺร > อติษฺฐนฺนฺ อตฺร > อติษฺฐนฺนตฺรกรณีเช่นนี้จะพบอยู่ประปราย หากจำกฎนี้ไม่แม่น เห็นแล้วก็จะงง ไม่เข้าใจทำไมถึงซ้ำเสียงท้าย


4. คำศัพท์ (ซีกขวาเป็นศัพท์ที่น่าจะทราบหมดแล้ว)

  • อรฺถ ปุ. เป้าหมาย เนื้อหา ความหมาย ความมั่งคั่ง
  • อินฺทฺราณี ส. พระนางอินทราณี ชายาของพระอินทร์
  • กาวฺย นปุ. บทร้อยกรอง
  • คฺรนฺถ นปุ. หนังสือ คัมภีร์
  • ทาสี ส. ทาสผู้หญิง, หญิงรับใช้
  • นครี ส. เมือง
  • ปตฺนี ส. ภรรยา
  • ปุสฺตก นปุ. หนังสือ
  • ปูร ปุ. น้ำท่วม น้ำเอ่อ
  • ปฺฤถิวี ส. โลก, แผ่นดิน
  • สฺโตฺรต นปุ. เพลงสรรเสริญ
  • อินฺทฺร ปุ. พระอินทร์
  • เทวี ส. เทวดาสตรี ราชินี
  • นารี ส. สตรี ภรรยา
  • ปุตฺรี ส. ลูกสาว
  • ชนนี ส. แม่
  • พฺราหฺมณ ปุ. พราหมณ์
  • มตฺสฺย ปุ. ปลา
  • วาปี ส. ลำน้ำ
  • สภา ส. สภา การประชุม
  • เสนา ส. กองทัพ

แบบฝึก

2.1 แปลสันสกฤตเป็นไทย

  • नृपतिर्नगरीं सेनयाजयत्.  1.
  • कवयः सभायां काव्यान्य्पठन्.  2. 
  • दास्यो|न्नमानयन्.3. 
  • देवीर्देवांश्च हरिरपूजयत्.4. 
  • साधोः पत्न्या भिक्षवे रूपकाणि दीयन्ते.5.
  • नदीषु मत्स्यानपश्याम.  6. 
  • पुस्तकं पुत्र्या अयच्छद्विष्णुः.  7.
  • नगर्या रथ्यासु गजावभ्राम्यताम्.  8. 
  • पृथिव्याः  प्रभूता विहगा उदपतन्.  9. 
  • गृहं नद्याः पूरेणोह्यते.  10. 
  • पत्नीभिर्नरा नगर आगच्छन्.  11. 
  • यदा शिवो विष्णुश्च ग्रन्थमपठतां तदार्थं नावागच्छाव.  12.
  • शिष्या गुरोर्गृहं प्राविशन्नुपाविशंश्च कटयोः पृथिव्याम्.  13. 

2.2 แปลไทยเป็นสันสกฤต (ส่วนใหญ่จะเป็นกริยาอดีตกาลธรรมดา)

  1. เมื่อใด1ท่านเสาะหาแล้ว 4 (प्रपद्) ซึ่งพระราชา 2 (ซึ่งเป็น)ที่พึ่ง 3 (กรรมการก), เมื่อนั้น5ท่านอยู่แล้ว 7 (स्था) ในความโชคร้าย 6
  2. ในบรรดาแม่น้ำทั้งสอง 1 แม่น้ำคงคา2 และ4 แม่น้ำยมุนา3 มี 6 (वर्तते) น้ำเอ่อ 5.
  3. หญิงทั้งสอง1 ร้องแล้ว4ซึ่งเพลงสรรเสริญ 3 แห่งพระราม 2
  4. ดูก่อน1 ฤษีทั้งหลาย2, ทำไม3 ท่านทั้งสองสังเวย6 แด่เทวีทั้งหลาย4 ด้วยเนยใส5
  5. สาวใช้ 2 ของพระราชินี1 นำมาแล้ว6 ซึ่งอัญมณี3 และ5 แก้ว4.
  6. จากความโกรธ1 ครู2 ตีแล้ว4 นักเรียนคนหนึ่ง5 ด้วยมือ3.
  7. คนใช้ทั้งสอง1 นำมาแล้ว5 น้ำ4 จากลำธาร3 (ใส่)ในหม้อทั้งหลาย2.
  8. ท่านตัดแล้ว4 ไม้3 จากต้นไม้ทั้งหลาย2 ด้วยขวาน1.
  9. ฤษี1 สรรเสริญ6 พระอินทราณี4 ชายา3 ของพระอินทร์2 ด้วยบทสวดทั้งหลาย5.


หมายเลขบันทึก: 510068เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2012 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

อุปานี + อะ = อุปานยฺ + อะ = อุปานย

อะตัวแรกเป็นปัจจัยประจำหมวด แล้วอะตัวที่สองคืออะไรค่ะ มาจากตรงไหน

เอ๊ะ ..หรือ อะตัวแรกให้ทำสนธิ เพราะเห็นมี ยฺ เพิ่มมา

ขออาจารย์อธิบายด้วยคะ

อุป (อุปสรรค) + อะ (อาคม สำหรับอดีตกาล) + นี (ธาตุ) + อะ (ปัจจัยประจำหมวด 1)

มีการเน้น..... เสียง ..... เป็นความรู้ใหม่ อีหนึ่งอย่างนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ ท่านอาจารย์ค่ะ

อาจารย์ค่ะ หนูยังงงๆอยู่ เลยลองทำมาให้ดูสักข้อก่อน..

√ชิ - (ทำพฤทธฺิ) = ไช, ลงอาคมที่ข้างหน้าไช อ + ไช = อไช + อ ปัจจัยประจำหมวด 1 = อาชายฺตฺ

ไม่รู้จะผิดหรือเปล่า

หนูงงตรงนี้ละคะ = อชายฺ + อะ = อชาย เจ้าอะตรงนี้มาจากส่วนไหน ในเมื่อ ก็ลงอะหน้าธาตุไปแล้วหนึ่ง แล้วก็มาลงอะที่เป็นปัจจัยประจำหมวดอีกหนึ่ง อาจารย์อย่าเพิ่งรำคาญหนูเด้อคะ อิอิ

ขอโทษด้วยครับ เมื่อวานตอบผิด เลยลบออกไป

อะ (อาคม แห่งอดีตกาลธรรมดา) + ชิ (ธาตุ) + อะ (ปัจจัยประจำหมวด 1) (ถ้าหมวดอื่น ก็เป็นปัจจัยอื่น)

อะ + (ชิ + อะ) => อะ + ชยฺ + อะ

=> อะ +ชย

=> อชย เป็นเค้า ลงปัจจัย ตฺ

=> อชยตฺ

ชิ ไม่เป็น ไช เพราะ อะ อยู่หน้า ช (a + ji + a = a+jay+a = ajaya)

*ไม่ได้ทำพฤทธิ์ที่ธาตุ แต่หมายความว่า หาก อะ ตามมาด้วยธาตุที่ขึ้นต้นด้วยสระ เ่ช่น อี, อู  ก็จะได้ อะ+อี > ไอ, อะ+อู เป็น เอา

ชิ ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยสระ...

 

แบบนี้ถูกไหมค่ะ ...

อะ (อาคม) + √ภู = อภู + อะ = อภวฺ + อะ (ปัจจัยประจำหมวดที่ 1) อภวตฺ

อาจารย์ค่ะ วันนี้เกิดคราสที่ราศีพฤษภ จันทรคราสภาษาสันสกฤตว่าอย่างไรค่ะ แล้วจะบอกเป็นประโยคว่าเกิดคราสในราศีพฤษภต้องว่าอย่างไร ขอบคุณคะ อาจารย์ออกไปลอยกระทงอะไรไหมค่ะ แถวบ้าน..

จันทรคราส เรียกว่า จนฺทฺรคฺรหณะ (न्द्रग्रहण) ส่วนคราส ก็เรียก คฺราส (ग्रास) นั่นแหละ

อทฺย จนฺทฺรคฺรหโณ วฺฤษเภ ภวติ.. ง่ายๆ ครับ

ไม่ได้ไปลอยครับ แถวนี้ดูเงียบๆ แปลกจังเลย

คุณศรีฯ ไปลอยที่ไหนหรือเปล่า

ขอบคุณอาจารย์มากคะ ไม่ได้ไปไหนเช่นกันคะ แต่แถวบ้านมีฝนตกเล็กน้อย ปรอยๆ งงเหมือนกันจริงๆ ลอยกระทงไปฝนตกไป ฮ่าๆ

  • งงงวยข้อ4คะ บุรุษที่สาม ทวิพจน์ สรุปแล้วคือมันควรจะเป็นอะไรค่ะ ตัวโรมันอาจารย์เขียนว่า ตามฺ แต่ไทยอาจารย์เขียน ตมฺ

  • บุรุษที่หนึ่งเอกพจน์ เค้าก็ลงท้ายเสียงอะเหมือนกัน อวท แต่ในตัวอย่างอาจารย์ไม่ได้ยืดสระให้ หรือว่าให้ยืดแต่เฉพาะที่มีเครื่องหมายดอกจันทร์กำกับไว้เท่านั้นค่ะ

รอบนี้ส่งการบ้านช้าหน่อยหนูต้องทำธุระอย่างอื่นไปด้วยคะ แต่อ่านไปด้วยตลอดถ้าว่าง ..อิอิ

สฺ ตมฺ ต, ตฺ ตามฺ อนฺ ครับ ขอโทษด้วย เขียนสลับข้อ แก้แล้วครับ

หนึ่ง เอกพจน์ อวท + มฺ เป็น อวทมฺ ไม่ต้องยืดครับ ยืดเฉพาะทวิ และ พหุ

อ่านละเอียด ดีแล้วครับ ช่วยๆ กันดู ไม่ต้องรีบครับ

แบบฝึก

1.1 จงแจกกริยาอดีตกาลธรรมดา เอกพจน์ บุรุษที่ 3 จากธาตุต่อไปนี้

1.) อชฺยตฺ

2.) อปฐตฺ

3.) อนฺยตฺ

4.) อทฺฤศตฺ

5.) อวิศตฺ

6.) อหฺรตฺ

1.2. จงอธิบายการสร้างรูปกริยาต่อไปนี้ โดยละเอียด

1) อุทปตนฺ - ลงอาคม (อะ) ข้างหน้าธาตุก่อน ( อะ + ปตฺ = อปตฺ )

            - ลงอุปสรรคที่ด้านหน้า ( อุทฺ  + อปตฺ = อุทปตฺ )

            - เติมปัจจัยประจำหมวดที่ 1  (  อุทปตฺ  + อะ =  อุทปต )

           -เติมปัจจัยบอกบุรุษ พจน์  ( บุรุษที่ 3 ,พหูพจน์)  = อุทปตนฺ ( เขาทั้งหลายบินขึ้นไป / อดีตกาล)

2) อาคจฺฉตฺ - ลงอาคม (อะ) ข้างหน้าธาตุก่อน ( อะ คจฺฉ = อคจฺฉ )

               - ลงอุปสรรคที่ด้านหน้า ( อา + อคจฺฉ  = อาคจฺฉ )

              - เติมปัจจัยประจำหมวดที่ 1   ( อาคจฺฉ + อะ  = อาคจฺฉ )

             - เติมปัจจัยบอกบุรุษ พจน์  ( บุรุษที่ 3 , เอกพจน์ )  ( อาคจฺฉ + ตฺ =  อาคจฺฉตฺ )

## ตรงนี้สงสัยว่าทำไมใช้เค้ากริยาสำเร็จเลย ? ไม่เหมือนที่ทำให้เป็นกรรมวาจก คือหยิบธาตุดิบๆมาเติมปัจจัยต่างๆเลย

3) อวคจฺฉาว - ลงอาคม (อะ) ข้างหน้าธาตุก่อน ( อะ + คจฺฉ = อคจฺฉ )

                    - ลงอุปสรรคที่ด้านหน้า ( อว + อคจฺฉ = อวคจฺฉ )

                   -   เติมปัจจัยประจำหมวดที่ 1  ( อวคจฺฉ + อะ = อวคจฺฉ)
  • เติมปัจจัยบอกบุรุษ พจน์ ( บุรุษที่ 1 ,ทวิพจน์) ( อวคจฺฉ + ว ( ยืดเสียง) = อวคจฺฉาว (เราทั้งสองลงไป / อดีตกาล )

4) ปฺราวิศต - ลงอาคม (อะ) ข้างหน้าธาตุก่อน (อะ + วิศฺ = อวิศฺ )

                    - ลงอุปสรรคที่ด้านหน้า ( ปฺร + อวิศฺ = ปฺราวิศฺ )

                   -  เติมปัจจัยประจำหมวด (ปฺราวิศฺ + อะ = ปฺราวิศ )

                   - เติมปัจจัยบอกบุรุษ พจน์  ( บุรุษที่ 2 ,พหูพจน์ ) ( ปฺราวิศ + ต = ปฺราวิศต )

โอย .. ตาลายมากคะ อิอิ

อาจารย์คะ กาวฺย นี่เหมือนกับ กาพย์ของเราหรือเปล่า พ กับ ว ใช้แทนกันได้ เปลี่ยนเอา

กำ .. หนูว่าหนูจัดเรียงหน้าไว้ดีแล้ว ทำไมมันออกมาเละเทะแบบนี้ค่ะ เฮ้อ..

1. แจกกริยา ทฺฤศฺ เมื่อใช้กับปัุจจุบันกาล อดีตกาล (และอีก 2 กาล) จะใช้รูป ปศฺ > ปัจจุบัน ปศฺยติ, อดีต อปศตฺ

ที่เหลือถูกแล้ว

อาคจฉตฺ < อา(อุปสรรค) + อะ (อาคม) +คมฺ ... ต้องใส่รูป คมฺ เอาไว้ก่อนในตอนแรก เพราะในกาลอื่น คมฺ จะไม่เปลี่ยนเป็น คจฺฉฺ (แบบเดียวกับ ทฺฤศฺ)

กาวฺย เรานำมาใช้เป็น กาพย์ ถูกแล้วครับ แต่ความหมายคงแตกต่างไปพอสมควร

 

 

แปลสันสกฤตเป็นไทย 1.) พระราชาพร้อมด้วยกองทัพทรงชนะเมืองหนึ่ง

2.) –

3.) –

4.) นายหริบูชาเหล่าเทวและเทวสตรีทั้งหลาย

5.) ทองคำทั้งหลายถูกตัด(แบ่ง) จากคู่ครองของนักบุญท่านหนึ่งแด่ขอทาน

6.) พวกเราเห็นปลาฝูงนั้นในแม่น้ำ

7.) นายวิษณุให้หนังสือพร้อมด้วยบุตรสาวคนหนึ่ง

8.) ช้างทั้งสองเชือกเที่ยวเดินเตร็ดเตร่อยู่ที่ตามถนนในเมืองๆหนึ่ง

9.) นกทั้งหลายจำนวนมากบินขึ้นจากพื้นดิน

10.) บ้านถูกน้ำจากแม่น้ำท่วม

11.) คนทั้งหลายไปสู่พระนครพร้อมกับคู่ครอง

12.) เมื่อใดศิวะและวิษณุอ่านหนังสือเมื่อนั้นเป้าหมาย ....

13.) -

  • 1.) พระราชาพร้อมด้วยกองทัพทรงชนะเมืองหนึ่งแล้ว

  • 2.) कवयः सभायां काव्यान्य्पन्.  2. กวฺยสฺ สภายามฺ กาวฺยานิ อปนฺ กวีทั้งหลายท่องบทกวีทั้งหลายแล้วในที่ประชุม (โจทย์พิมพ์ผิด)

  • 3.) दास्यो|न्नमानयन्.3. ทาสฺยสฺ อนฺนมฺ อานยนฺ (อา+นี) ทาสีทั้งหลายไ้ด้นำอาหารมาแล้ว

  • 4.) นายหริบูชาเหล่าเทวและเทวสตรีทั้งหลายแล้ว

  • 6.) พวกเราเห็นปลาฝูงนั้นในแม่น้ำแล้ว

  • 7.) นายวิษณุให้หนังสือแล้ว แก่พร้อมด้วยบุตรสาวคนหนึ่ง  ปุสฺตกมฺ ปุตฺรไย อยจฺฉตฺ วิษฺณุสฺ

  • (ปุตฺรฺยา ตรงนี้ คือ ปุตฺรฺไย สังเกตว่ามี อ ตามมา, ถ้าเป็น ปุตฺรฺยา จะสนธิกับ อ ไม่แยกแบบนี้, ปุตฺรฺไย > ปุตฺรยายฺ > ปุตฺรยายฺ ลบ ยฺ ทิ้ง ตามที่เคยเรียนมา)

  • 8.) नगर्या रथ्यासु गजावभ्राम्यताम्.  ช้างทั้งสองเชือกเที่ยวเดินเตร็ดเตร่แล้วอยู่ที่ตามถนนทั้งหลายในเมืองๆหนึ่ง

  • 9.) पृथिव्याः  प्रभूता विहगा उदपतन्.  นกทั้งหลายจำนวนมากบินขึ้นแล้วจากพื้นดิน

  • 10.) गृहं नद्याः पूरेणोह्यते.  คฺฤหมฺ นทฺยาสฺ ปูเรณสฺ อุหฺยเต(√วหฺ หดเสียงเป็น อุหฺ ในกรรมวาจก) บ้านถูกน้ำท่วมจากแม่น้ำพาไป บ้านถูกน้ำจากแม่น้ำท่วม

  • 11.) पत्नीभिर्नरा नगर आगच्छन्. ปตฺนีภิสฺ นราสฺ นคเร อาคจฺฉนฺ คนทั้งหลายกลับไปสู่พระนครแล้วพร้อมกับคู่ครอง

  • ข้อนี้ นคเร > นครยฺ > นครยฺ

  • 12.) यदा शिवो विष्णुश्च ग्रन्थमपठतां तदार्थं नावागच्छाव.  ยทา ศิวสฺ วิษฺณุสฺ จ คฺรนฺถมฺ อปฐตามฺ ตถา อรฺถมฺ น อวคจฺฉาว.

  • เมื่อใดศิวะและวิษณุอ่านหนังสือแล้ว เมื่อนั้นพวกเขาทั้งสองไม่เข้าใจเป้่่าหมาย(ความหมาย)แล้ว .. แปลว่า ทั้งสองคนนี้อ่านหนังสือทีไร ก็ไม่เข้าใจสักที (อดีตกาล)

  • 13.) शिष्या गुरोर्गृहं प्राविशन्नुपाविशंश्च कटयोः पृथिव्याम्. 

  • ศิษฺยาสฺ คุโรสฺ คฺฤหมฺ ปฺราวิศนฺ(ปฺร + อ + √วิศฺ) อุปาวิศนฺ(อุป + อ + √วิศฺ) จ กฏโยสฺ ปฺฤถิวฺยามฺ

  • ศิษย์ทั้งหลายเข้าไปแล้วสู่บ้านของครู และนั่งแล้ว บนเสื่อทั้งสองบนพื้น

  • ปฺราวิศนฺ เพิ่ม นฺ อีกตัว เมื่ออยู่หน้าสระเสียงสั้น, อุปาวิศนฺ + จฺ แทรกเสียงนาสิก,

  • อาจารย์ค่ะลงเล่นในน้ำสันสกฤตว่าอย่างไรดี รวมถึงใช้ธาตุ ทีวฺ = เล่นได้ไหม หรือต้องใช้คำว่าลงอาบน้ำดี และไม่ค่อยแน่ใจว่ากริยาในลักษณะนี้ต้องใส่อุปสรรคเข้าไปที่ข้างหน้าด้วยหรือเปล่า

  • หนูสงสัยว่ากาลบางตัวตั้งแต่ที่เรียนมา ไม่ว่าจะเป็นปัจจุบันกาล กรรมวาจก อดีตกาลปกติและอีกต่อไป ว่ากริยาตัวไหนหยิบธาตุมาใช้ได้เลยหรือต้องใช้แต่เฉพาะเค้ากริยาสำเร็จรูปแล้วเท่านั้น

  • แล้วถ้าประธานมันก็เป็นพหูพจน์อยู่แล้ว ถ้าเราใส่คำคุณศัพท์ที่แปลว่ามากเข้าไปอีกเหมาะสมหรือไม่อย่างไรค่ะ

เสียดายแบบฝึกหัดข้างบน บางข้อรูปประโยคเป็นอดีตกาล หนูก็ลืมใส่คำว่าแล้วเพื่อบ่งบอก แต่จะจำไว้ค่ะ อิอิ

ขอบคุณมากคะ

  • เล่น ใช้ √ทีวฺ ได้ครับ, หรือใช้ √ปฺลุ (plávate) เล่นน้ำ ว่ายน้ำ ก็ได้  (อาบน้ำ ใช้ธาตุ 2,4√สฺนา (snā́ti, snā́yati) ยังเีีรียนไม่ถึง), การใส่อุปสรรคนั้นใส่เองไม่ได้ครับ ต้องเช็คก่อนว่ามีการใช้แบบนั้นหรือเปล่า
  • ตัวไหนใช้ได้ ตัวไหนแจกพิเศษ ดูในบทเรียน ตามนั้นเลย เช่น √คมฺ ใช้ ปัจจุบัน อดีตกาล แจกพิเศษ (คจฺฉฺ) แต่ใช้กรรมวาจก รูปปกติ "คมฺยเต"
  • พหูพจน์ ใส่คำว่ามากอีกก็ได้ เป็นการเน้น พบทั่วไป
  • ที่เขียนมา ส่วนมากก็ถูกแล้ว ไม่ต้องเสียดาย ;)

ป.ล. คราวหน้า ทำแบบฝึกหัด ให้ลอกโจทย์ด้วย เวลาตรวจจะได้ดูสะดวก

คิดว่าอาจารย์คงจะทราบข่าวนี้แล้ว แต่หนูเอามาโพสเผื่อท่านๆอื่นๆจะสนใจคะ ^ ^

2.2 แปลไทยเป็นสันสกฤต (ส่วนใหญ่จะเป็นกริยาอดีตกาลธรรมดา)

1.) เมื่อใด1ท่านเสาะหาแล้ว 4 (प्रपद्) ซึ่งพระราชา 2 (ซึ่งเป็น)ที่พึ่ง 3 (กรรมการก), เมื่อนั้น5ท่านอยู่แล้ว 7 (स्था) ในความโชคร้าย 6 = ยทา ราชาญฉรณํ ปฺราปทฺยะ ตทา อนรฺเถ อติษฺเฐ

2.) ในบรรดาแม่น้ำทั้งสอง 1 แม่น้ำคงคา2 และ4 แม่น้ำยมุนา3 มี 6 (वर्तते) น้ำเอ่อ 5. = นทฺโยรฺคํคา ยมุนา จ ปูโร วรฺตเต

3.) หญิงทั้งสอง1 ร้องแล้ว4ซึ่งเพลงสรรเสริญ 3 แห่งพระราม 2 = กนฺเย ราเม สฺโตฺรตํ อคาตามฺ ( ข้อนี้สงสัยว่าจะลงปัจจัยประจำหมวดที่ 1 หลังคาอย่างไรคะ ? )

4.) ดูก่อน1 ฤษีทั้งหลาย2, ทำไม3 ท่านทั้งสองสังเวย6 แด่เทวีทั้งหลาย4 ด้วยเนยใส5 = เห ฤษฺยะ กุโต เทวีภฺโย ฆฺฤเตณ ยชถะ

5.) สาวใช้ 2 ของพระราชินี1 นำมาแล้ว6 ซึ่งอัญมณี3 และ5 แก้ว4. = เทวฺยา ทาสี มณิํ รตฺนํ จ อหรตฺ

6.) จากความโกรธ1 ครู2 ตีแล้ว4 นักเรียนคนหนึ่ง5 ด้วยมือ3. = โกฺรธาทฺคุรุรฺหสฺเตนปีฑยตฺ ศิษฺยมฺ

7.) คนใช้ทั้งสอง1 นำมาแล้ว5 น้ำ4 จากลำธาร3 (ใส่)ในหม้อทั้งหลาย2 = ภฺฤตฺเยา ฆเฎษุ นทฺยา ชลานิ อาหรตามฺ

8.) ท่านตัดแล้ว4 ไม้3 จากต้นไม้ทั้งหลาย2 ด้วยขวาน1. = ปรศุณา วฺฤกฺเษภฺยะ กาษฺฐานิ อกฺฤตะ

9.) ฤษี1 สรรเสริญ6 พระอินทราณี4 ชายา3 ของพระอินทร์2 ด้วยบทสวดทั้งหลาย5. = ฤษิ อินฺทฺรสฺย ชายา อินฺทฺราณีํ สูกฺไตะ ศํสติ

ข้อ 3 หนูมาลองทำดู ยังไม่ค่อยแน่ใจ ไม่ทราบว่าจะถูกหรือเปล่านะค่ะ..

√คา (ทำให้เป็นอดีตการธรรมดา)

( วิธีทำ) - อะ (อาคม) + √คา = อคา + อะ (ปัจจัยประจำธาตุหมวดที่ 1 ) ?? ปัญหาของหนูคือตรงนี้ละคะว่าจะลงอะหลังคาอย่างไร หรือว่าก็ให้สนธิแบบง่ายๆไปเลยเป็น อคา (ได้หน้าตาเหมือนเดิม ) + ตฺ = อคาตฺ (เขาร้องแล้ว)

รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจอีกสักประโยคนะค่ะ อันนี้ลองนั่งคิดเองดู ประโยคนี้ก็อยู่ในรูปอดีตกาลเช่นกันคะ

  • พฺราหฺมณา พาลกา คํคาษุ ฤษีเกเศ อสฺนายนฺ

  • เหล่าพราหมณ์น้อยลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาในเมืองฤาษีเกศ

อยากทราบว่าเราต้องใส่นครใกล้กับฤาษีเกศไหม หรือไม่ต้องเพราะเป็นชื่อเฉพาะก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเมืองฤาษีเกศ

ขอบพระคุณคะ

ข้อ 3 หนูมาลองทำดู ยังไม่ค่อยแน่ใจ ไม่ทราบว่าจะถูกหรือเปล่านะค่ะ..

√คา (ทำให้เป็นอดีตการธรรมดา)

( วิธีทำ) - อะ (อาคม) + √คา = อคา + อะ (ปัจจัยประจำธาตุหมวดที่ 1 ) ?? ปัญหาของหนูคือตรงนี้ละคะว่าจะลงอะหลังคาอย่างไร หรือว่าก็ให้สนธิแบบง่ายๆไปเลยเป็น อคา (ได้หน้าตาเหมือนเดิม ) + ตฺ = อคาตฺ (เขาร้องแล้ว)

รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจอีกสักประโยคนะค่ะ อันนี้ลองนั่งคิดเองดู ประโยคนี้ก็อยู่ในรูปอดีตกาลเช่นกันคะ

  • พฺราหฺมณา พาลกา คํคาษุ ฤษีเกเศ อสฺนายนฺ

  • เหล่าพราหมณ์น้อยลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาในเมืองฤาษีเกศ

อยากทราบว่าเราต้องใส่นครใกล้กับฤาษีเกศไหม หรือไม่ต้องเพราะเป็นชื่อเฉพาะก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเมืองฤาษีเกศ

ขอบพระคุณคะ

2.2 แปลไทยเป็นสันสกฤต 

1.) เมื่อใด1ท่านเสาะหาแล้ว 4 (प्रपद्) ซึ่งพระราชา 2 (ซึ่งเป็น)ที่พึ่ง 3 (กรรมการก), เมื่อนั้น5ท่านอยู่แล้ว 7 (स्था) ในความโชคร้าย 6

= ยทา ราชาญฉรณํ ปฺราปทฺยะ ตทา อนรฺเถ/ทุะเข อติษฺเฐ/อติษฺฐะ

 

3.) หญิงทั้งสอง1 ร้องแล้ว4ซึ่งเพลงสรรเสริญ 3 แห่งพระราม 2 = กนฺเย ราเมรามสฺย สฺโตฺรตมคาตามฺ (สฺโตฺรตมฺ อคายตามฺ)

คา ที่ให้ไว้ในบทก่อนคือ คายติ gā́yati (กรรตุวาจก)  เราจึงเห็นว่า เค้ากริยาแห่งปัจจุบันกาลคือ คาย (gā́ya) ก็นำตัวนี้มาใช้ได้เลย เป็น อคายตาม. คาเป็น ธาตุหมวด 1 ป.(ปรัสไมบท) แจกพิเศษ เติม ยะ (ไม่ใช่หมวด 4) บางตำราว่าธาตุ ไค แปลง ไอ เป็น อาย ฯลฯ

 

5.) สาวใช้ 2 ของพระราชินี1 นำมาแล้ว6 ซึ่งอัญมณี3 และ5 แก้ว4. = เทวฺยา ทาสี มณิํ รตฺนํ จ อหรตฺ (สนธิเป็น รตฺนญฺจาหรตฺ หรือ รตฺนํ จาหรตฺ ก็ได้)

 

7.) คนใช้ทั้งสอง1 นำมาแล้ว5 น้ำ4 จากลำธาร3 (ใส่)ในหม้อทั้งหลาย2 = ภฺฤตฺเยา ฆเฎษุ นทฺยา ชลานิ(นิยมใช้ ชลมฺ) อาหรตามฺ (ชลมาหรตามฺ)

 

9.) ฤษี1 สรรเสริญ6 พระอินทราณี4 ชายา3 ของพระอินทร์2 ด้วยบทสวดทั้งหลาย5. = ฤษิ อินฺทฺรสฺย ชายามฺ อินฺทฺราณีํมฺ สูกฺไตะ ศํสติ

 

พฺราหฺมณา พาลกา คํคาษุ/คํคายามฺ ฤษีเกเศ อสฺนายนฺ/อสฺนานฺ

เหล่าพราหมณ์น้อยลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาในเมืองฤาษีเกศ ใช้แบบนี้ได้เลยครับ..

 

บทต่อไปเรียน แจกนาม สตรีลิงค์ อิ และ อุ การานต์ เบาๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท