ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา... เขียนอย่างไร ไม่ให้ผิด


ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา


ข้อความภาษาบาลีข้างบนนี้ นิยมใช้ถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว แต่เขียนผิดกันมาก จึงขออธิบายสั้นๆ ดังนี้

1. ทีฆายุโก หมายถึง มีอายุยืน, ผู้มีอายุยืน (นามเพศชาย เอกพจน์ ประธาน) คำนี้ ใช้ ท ทหาร (มิใช่ ฑ มณโฑ)

2. โหตุ เป็น กริยา เอกพจน์ บุรุษที่ 3 อาชฺญมาลา (ขอให้ ขอจง) ตัวกริยาแปลว่า เป็น, กริยาของประธาน "มหาราชา" ท้ายประโยค. คำว่า โหตุ เป็นอีกคำหนึ่ง จึงต้องเขียนเว้นวรรคจากคำข้างหน้า ไม่เขียนติดกับคำว่า ทีฆายุโก

3. มหาราชา หมายถึง พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นคำนามเอกพจน์ ทำหน้าที่ประธาน เว้นวรรคเช่นกัน.

แปลความหมายว่า (ผู้พูด) ขอให้พระราชา(พระองค์นี้)มีอายุยืน....


หากเป็นภาษาสันสกฤต น่าจะเป็น ทีรฺฆายุรฺ  โหตุ  มหาราชา

(ราชา ในที่นี้ มาจากรูปเดิม ราชนฺ ไม่ใช่รูป ราช)


อนึ่ง บางท่านเห็นว่า ผู้น้อยไม่สมควรจะให้พรแก่ผู้ใหญ่ แต่ข้อความนี้ใช้กันมาช้านาน เราอาจยกว่าเป็นคำอธิษฐาน ก็ไม่ผิดธรรมเนียมนัก.





คำสำคัญ (Tags): #ทีฆายุโกฯ
หมายเลขบันทึก: 510856เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2012 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับความรู้ภาษาไทยโดยเฉพาะคำว่า ทีฆายุโก โหตุ เพราะบางหน่วยงานยังใช้ ฑีฆายุโก โหตุเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครู

เห็นเช่นเดียวกันกับคุณครูนกค่ะ ใช้ ฑ กันจนชินตาไปแล้ว

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณครู Ico48 และคุณครู Ico48 ;)

เห็นที่เขียนผิดบ่อยๆ ครับ แม้กระทั่งป้ายใหญ่ๆ น่าเสียดายมาก...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท