บทบาทของอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันนี้วันที่ 7 ธันวาคม 2555 ผมได้มีโอกาสอีกครั้งที่มาบรรยายให้กับคณะครู อาจารย์ และตัวแทนจากหน่วยงานรัฐและเอกชน จำนวนกว่า 50 คน

ขอขอบคุณคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ อ.จงพิศ ศิริรัตน์ คณบดี คณะวิทยาการจัดการที่ให้เกียรติเชิญผมมาร่วมกิจกรรมที่สำคัญในวันนี้

ครั้งนี้ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในหัวข้อ บทบาทของอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผมขอใช้ Blog นี้ในการเรียนรู้และเปลี่ยนข้อมูลกันครับ

 

จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

 

 



 

 




 

คำสำคัญ (Tags): #ม.อ.สงขลา
หมายเลขบันทึก: 511221เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2012 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอขอบพระคุณ อ. จีระ ที่กรุณามาให้ความรู้และอำนวยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้แก่คณะ วจก. นะคะ

ดีใจ มากๆๆ ค่ะ  ท่าน ศ. ดร. จิระ .... ท่าน อจ. สบายดี และ แข็งแรงมาก นะคะ

 

ท่าน อจ. ยังตื่นเช้า  ออกมา วิ่ง อยู่นะคะ  ท่าน อจ. ดูหนุ่ม อยู่เสมอ นะคะ

บทบาทของอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

  • ขอขอบคุณคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และอ.จงพิศ ที่ให้เกียรติเชิญผมมาร่วมกิจกรรมที่สำคัญในวันนี้ นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ผมได้มีโอกาสมาพูดเรื่อง AEC ที่นี่   
  • ในชีวิตผมได้เรียนว่าคนเก่งในโลก จะถามคำถามที่ไม่มีคำตอบ ผมได้ทฤษฎีกระเด้ง
  • ก.พาณิชย์ได้รู้แล้วว่าต้องดูแลกลุ่มเสียเปรียบ เช่น SME’s , กลุ่มน้ำมันปาล์ม ส่งข้อมูลไปที่ ก.พาณิชย์ได้เลย
  • อาเซียนเสรี มีโอกาสมาก เราไม่เหมือน WTO เราเป็นโลกาภวัตน์บวกกับเชื้อชาติศาสนา สังคมวัฒนธรรม และรวมถึงความมั่นคงด้วย
  • ผมต้องการรับฟังความคิดเห็นของทุกๆฝ่าย
  • เป้าหมายในอนาคตอยากทำอะไร เราจะทำงานประจำอย่างเดียว เราต้องมีความคิดสร้างสรรค์
  • ยุทธวิธีของเรา ต้อง Mindset
  • ต้องมีความยั่งยืน มีความสมดุลในชีวิต ไม่เหมือนคนสิงคโปร์ที่ไม่มีตรงนี้ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อน ต้องไม่ใช่เงินอย่างเดียว ต้องมีความสุขด้วย
  • ชีวิตเราต้องเกิดพลัง Where are we?  ,  Where do we want to go?, How to get there?
  • ที่ยากที่สุดคือ Overcome Difficulties
  • ขอให้อยู่อย่างต่อเนื่องเราจะมีการทำประโยชน์ร่วมกัน คนไทยต้องใฝ่รู้
  • สิ่งแรกที่ต้องรู้ คือ รู้ให้มันจริง อย่าเพิ่งวิตกจนเกินไป
  • สิ่งแรกที่เราต้องศึกษาจากข้อมูล TDRI คือ Beyond  คนไทยต้องทำตัวยังทำอุปนิสัยเหมือนเดิม เช่น ยังโกงกินเหมือนเดิม เจ๋งแน่นอน ต้องปรับตัวให้ได้
  •  วัตถุประสงค์วันนี้  คือสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องประชาคมอาเซียน (AC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

     1.ผลกระทบต่อตัวเรา องค์กร สังคม เพื่อเป็นแนวทางในการ ปรับตัว/พัฒนาพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

  1. เปิดโลกทัศน์ให้ทุกท่านเห็นการเปลี่ยนแปลง
  2. สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ และการพัฒนา สนุกกับการฟังในวันนี้
  3. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเองและค้นหาองค์กรของท่าน.. จะทำให้สำเร็จได้อย่างไร?
  • ผมได้ไปทำให้กับผู้นำท้องถิ่นก็ได้มีการฝึกด้วย ผมได้ทำประมาณ 2,000 คน ดีมาก โดยให้พูดถึงโครงการใหม่และโอกาสที่สามารถสร้างได้ ลดปัญหาทางลบ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างมาก โอกาสคืออะไร การคุกคามคืออะไร โอกาสที่ยิ่งใหญ่คือวัฒนธรรม สิ่งที่สำคัญที่สุดในเมืองไทย การที่มีความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม
  • Step ต่อไปที่ผมอยากเห็นใน ม.อ.สงขลาคือ โครงการต่อเนื่อง อย่างที่ผมได้รับเชิญที่ ป.ป.ช. เรื่อง Anti Corruption  อ.วิชา มหาคุณ เชิญผมไป ผมกับ ป.ป.ช จัด Youth Camp ร่วมกัน เราต้องเอาจริงเรื่อง คอรัปชั่น โดยการนำเยาวชนจาก 10 ประเทศมาทำเรื่องคอรัปชั่นร่วมกัน เราต้องมีค่านิยมที่คล้ายกัน เราต้องมีการแชร์ข้อมูลร่วมกัน มีการกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลง
  • เสนอโครงการออกมา อย่าพูดไปเรื่อยๆ ไม่ต้องวิตกว่าจะมีเงินหรือไม่ ถ้ามีไอเดียดีๆ มีคนสนใจแน่นอน เช่น สำนักงบประมาณก็สนใจ ผมกระตุ้นให้พัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศ
  • เราต้องอยู่ในทั่วโลกนี้ให้ได้
  • ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยมี 3 เรื่อง เช่น เรื่องการท่องเที่ยว แต่คุณภาพของคนในท่องเที่ยวไม่ดี เราต้องพัฒนามากขึ้น เรื่องเกษตร แต่ต้องเป็นเกษตรมูลค่าเพิ่ม เรื่อง Wellness และ health สุขภาพ เป็นต้น
  • ผมได้ทำร่วมกับ ท่าน ว.วชิรเมธี และได้ทำโครงการต่อเนื่องร่วมกัน เรื่อง Youth Ambassador ท่านบอกว่าถ้าจะทำเรื่องนี้ ท่านจะให้ฝึกและนำไปถ่ายทอดเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ถ้าเราขาดเบสิค ทางด้านคุณสมบัติของคนเช่น คุณธรรม จริยธรรม ถ้ามีตรงนี้จะได้เกิดการกระตุ้นมากขึ้น
  • ผมมั่นใจว่าการมีอาเซียนเสรี ทำให้เราฟิต พร้อมที่จะสู้กับเขาได้
  • เรื่องท่องเที่ยวในภาคใต้ งานที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาทำเรื่องนี้อยู่ มีการจัดให้เกิดการพัฒนาใน 32 อาชีพขึ้นมา
  • ผมจะขอเริ่ม..10 ประเด็นที่ต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี เราเหมือนมี 6 + 4 ไทย คือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า เราต้องมองภูมิหลังของประเทศเหล่านี้ให้ดี  เรามีเพื่อนที่เป็นมิตรจริงๆ เราต้องสนใจที่จะสร้างความสัมพันธ์ประเทศเหล่านี้ให้มากขึ้น
  • ม.อ.สงขลา ถึงจะอยู่ไกลกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ก็สามารถทำได้ สิ่งที่เขามีมากกว่าเราคือทรัพยากรธรรมชาติมากมาย
  • เมื่อพม่าเปิดประเทศคนไทยวิ่งเข้าไปมาก และสิ่งที่ถามอันดับแรกก็คือ ค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่ อยากให้เรารู้ว่า เราต้องศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม เป็นต้นให้มาก
  • ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ มีความเสมอภาคและยกย่องนับถือร่วมกัน
  • ม.อ.สงขลามีคณะเยอะ มีวิทยาเขตมาก ถึงเราจะอยู่แต่การไปทำงานกับประเทศเหล่านี้ไม่ยากนัก มีประโยชน์ในเรื่องมหาวิทยาลัยสูงมาก
  • ประเทศสิงค์โปร์ พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า
  • ประเทศอินโดนีเซีย การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก
  • ประเทศมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563 ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง
  • ประเทศบรูไน มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก
  • ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่น่าสนใจที่สุด สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก
  • ประเทศเวียดนาม ข้อดีคือ คนของเขาไม่เคยเกลียดเวียดนาม คนเวียดนามเป็นคนที่ขยันมาก ใฝ่รู้มาก สมัยที่อยู่ธรรมศาสตร์ผมได้งบฝึกเวียดนามหลายปี มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว เวียดนามเป็นทั้งคู่แข่งและแนวร่วมกับเรา เค้าอยากเรียนกับเราเพราะเขาเรียนระบบคอมมิวนิสต์มา เวียดนามชอบเรียนภาษาไทยมากเลย
  • ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่ยุ่งยากกับประเทศไทย ความสัมพันธ์ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ผมเคยฝึกให้คนเขมรด้วย ช่วงที่มีความตึงเครียดของ 2 ประเทศ เขาเป็นคนศึกษาประเทศไทยตลอดเวลา ผมชอบเขมรอยู่1 อย่างคือ ด้านภูมิศาสตร์ เช่น สุรินทร์ เกาะกง เรามีแนวทางในการทำเรื่องการท่องเที่ยวร่วมกันได้ ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้
  • ประเทศลาว การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่ เราต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศลาว  ประเทศลาวดูแลทรัพยากรธรรมชาติได้ดีที่สุดในโลก

 

  • อ.สมมาตร ในอาเซียนบลูปริ๊นต์ต้องดูแลเรื่องท่องเที่ยวและการบินพลเรือน ในภาคใต้สนามบินไม่จอแจมากนัก เช่น ตรัง หรือหาดใหญ่เอง หรือกระบี่ แต่เรื่องการ Training ด้านบินด้านพลเรือน ในอาเซียนบลูปริ๊นต์หรือ Roadmap กระจายโอกาสในรุ่นแรกๆ
  • ต้องร่วมมือกัน ผมไปพม่ามา รัฐมนตรี มีภรรยาเป็นอาจารย์ที่ม.ย่างกุ้ง การพัฒนาการบินเขาต้องการเราแน่ แต่ถ้าเป็น G to G เราต้องส่งคนไปพัฒนาคนเหล่านี้
  • อาชีพอิสระ เรื่องการท่องเที่ยว ประเทศจะเป็นอุปสรรคในการตอบรับ สุดท้ายต้องทำอย่างไร
  • อีก 2 – 3 ปี ต้องเปิด ก.ท่องเที่ยวและกีฬาเป็นกระทรวงใหม่ เขาจะช้าหน่อย เพราะ 9 ประเทศเขาเปิดแล้ว
  • ผมชอบทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง  อยากจะทำอะไรให้มีประโยชน์
  • อยากทราบว่า อาจารย์คิดอย่างไรในการเคลื่อนย้ายเสรีของแรงงาน
  • TDRI ได้วิเคราะห์แล้ว บางเรื่องเป็นประโยชน์ต่อเรา ต่อเป็นปัญหาเรื่องกฎหมายบางฉบับ ผมได้เคยพูดไว้หลายแห่ง ผมเคยพูดและทำไว้เรื่อง Phuket Cyber Port ที่ภูเก็ต การเป็นมนุษย์ที่เป็นคนมีมันสมอง คนที่เข้ามาในไทย เป็นแรงงานไร้ฝีมือเต็มประเทศ แต่แรงงานมันสมองจริงๆเข้ามายากมาก ถึงจะมีอาชีพ 7 อาชีพ ที่เปิดเสรีอาเซียนก็จริง แต่ประโยชน์ที่จะได้รับยังต้องทำวิจัยอีกเยอะ
  • ซึ่งมหาวิทยาลัยของเราค่อนข้างจะผลิตทุกสาขาอาชีพ ถ้าเร่งเรื่องคุณภาพและภาษาด้วยจะดีมาก และใน 7 อาชีพนี้ คณะของเรามีบทบาทหรือมีความเกี่ยวข้องอย่างไร?
  • เราไปตายที่กฎระเบียบ เราไม่ได้เปลี่ยนกฎหมายในประเทศเพื่อให้รองรับใน 7 อาชีพ เราก็ไม่รอด
  • ในเมืองไทยลูกนักการเมืองส่วนใหญ่เรียน วิชากฎหมายและรัฐประศาสนศาสตร์
  • คนสิงคโปร์ไม่เน้นความสุข ทำงานหนัก เราต้องดูแลตรงนี้ด้วย
  • ผมอยากผลักดันโครงการบางโครงการ กับมหาวิทยาลัยและกับภาคใต้ด้วย
  • ในการประชุมสภา ผมขอ 2 เรื่อง คือ ขอให้มหาวิทยาลัยสนใจเรื่องอาเซียนและอีกเรื่องคือ ม.อ.สงขลาควรเข้าไปแก้ 3 จังหวัดชายแดนใต้
  • ในอนาคตเวลาผ่านไป ถ้าไม่เป็นปัญหาใหญ่จริงปัญหาน่าจะลด แต่ในขณะนี้ผ่านไปเป็น 10 ปี ปัญหาก็ไม่ลดลงเลย ม.อ.สงขลามีคนดีและคนเก่งอยู่มาก แต่เขาต้องไปรวมตัวและมีการทำวิจัยก็คงจะคุ้ม
  • เราสามารถขอเงินเพื่อทำวิจัยได้
  • ข้อสรุปที่น่าสนใจจากการวิจัยฯ นี้ อาทิการวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับการมองภาพอนาคต ปี 2020 ด้านการท่องเที่ยวและการกีฬาของประเทศไทย
  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบของ Learning / Training และ Coaching สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่น นักธุรกิจ SMEs และข้าราชการ โดยจัดเป็นรูปแบบ Cluster กลุ่มจังหวัด
  • กิจกรรม / โครงการต่าง ๆ โดยมุ่งไปสู่การสร้างให้เกิด 3 V (Value added, Value Creation & Value Diversity) เป็นต้น
  • ข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่ เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน สังคมและวัฒนธรรม ความมั่นคงทางการเมือง และสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า ASEAN Connectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน
  • ข้อสำคัญในเรื่องการค้าการลงทุน อยากให้เป็นการรวมกันเพื่อมีอำนาจต่อรอง ต่อ Economic ต่อรองกัน
  • เป็น Single Market  การเคลื่อนย้ายแรงงานระดับ Skill แรงงานชายขาดแคลนมาก ในอนาคตประเทศไทยขาดมากมาย
  • สิ่งที่น่าสนใจ เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร
  •  อนาคตมีการลงทุนมากขึ้น มีการพูดถึง 60 % แต่ยังไม่ได้เซ็นต์ ถ้าเกิดขึ้นจริงๆต้องไปดูกฎหมาย ก.พาณิชย์
  • ถ้าเราเปรียบเทียบกับบล็อกอื่นเช่น EU สัดส่วนของเราน้อยมากๆ
  • แต่ขณะเดียวกัน.. ถ้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เขาก็เข้ามาแข่งกับประเทศเราได้
  • นอกจากนั้น.. ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน
  •   เช่น ประเทศใดมีความสามารถในการระดมทุนการเงินมากกว่าประเทศอื่น ก็เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าสิงคโปร์มีทุนมากกว่าก็สามารถนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยได้กว่า 60%ซึ่งอาจจะหมายถึงการลงทุนในด้านการศึกษาด้วย
  • ผมอยากเห็นคนที่มีมันสมองมาอยู่ในเมืองไทยมากขึ้น แต่กฎระเบียบมากจริงๆ
  • ใน Blue Print  มีการพูดในมหาวิทยาลัย เช่น การแลกเปลี่ยนการศึกษา แลกเปลี่ยนนักศึกษา แลกเปลี่ยนหน่วยกิต เราจะได้ประโยชน์เรื่องเหล่านี้มากขึ้น
  • ผมอยากเห็นการปรับตัวมากขึ้น เราจะมีแนวทางอย่างไร และอยากให้ทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว.. สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่าน
  • สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้
  •  โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าเราจะฉกฉวยอย่างไร? โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน
  • สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆคือ ตลาด ตลาดก็จะใหญ่ขึ้น
  • จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.. ผมวิเคราะห์ว่า..การปรับตัวที่สำคัญที่สุดของทุนมนุษย์ “คนไทย” คือ เรื่องทัศนคติ (Mindset) เรื่องความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) เรื่องความเป็นสากล (Internationalism) และที่สำคัญที่สุดต้อง Back to basic คือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรม
  • เรื่องความเป็นสากล (Internationalism) อาจจะเป็นที่ยากที่สุดที่จะทำก็ได้ คนไทยไปได้ยากมาก สิ่งที่คนไทยขาดคือ เรื่อง International Mindset  สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้กับคนในมหาวิทยาลัย คุณภาพในมหาวิทยาลัยเป็นอุปสรรค เราเป็นโลกไร้พรมแดนเราต้องปรับ International Mindset   และมีรัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องนี้ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงทำเยอะแต่ยังไม่สำเร็จ คนไทยต้องกลับมาที่ Basic ให้ดี
  •  ถ้าเราจะอยู่ในอาเซียนได้เราต้องกลับมารักษาภูมิปัญญา รากเหง้าของคนไทยให้ดี อย่าลืมพื้นฐานของเรา สังคมไทยเปี่ยมไปด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่
  • ต้องพัฒนา คนไทย ให้ สื่อสารภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้           ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องมีความพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน  เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด
  • การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้ คือ สร้างให้คนไทย ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ เด็กและเยาวชนไทย ฯลฯ รวมทั้งตัวเราเอง และวัฒนธรรมองค์กรของเราให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากรของ ม.อ.
  • ทั้งหมดเป็นจุดอ่อนก็จริง แต่เราสามารถแก้ไขได้
  • การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของข้าราชการ SMEs และผู้นำชุมชน
  • ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้คนไทยอยู่รอดและก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
  • ต้องมีเครือข่าย
  • ต้องมองไกล ระยะสั้นต้องอยู่ได้ในระยะยาวด้วย ต้องมีสุขภาพดี ต้องมีความสุข
  • คนเรายุคใหม่อย่าลืมเรื่อง IT ด้วย ผมชอบระบบ Digital ผมก็เรียนรู้เรื่องนี้ และจะเชื่อมโยงกันในระบบทุกภาคส่วนด้วย
  • เทคโนโลยีเป็นอะไรที่ต้องปรับปรุง ต้องสนใจ คนที่ทำงาน IT ในระบบราชการ มีแค่ 1.5 % ของทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมด
  • ต้องมีข้อมูลโปร่งใส ข้อมูลต้องตรวจสอบได้ มีการทำวิจัยเรื่องทุนมนุษย์ กับ E Government ด้วย และต้องมี Skill ทักษะและทัศนคติ ด้วย
  • ความสมดุลที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้า อย่ารู้เฉพาะบางเรื่อง เช่น รู้เรื่องการเงินการตลาด ไม่รู้ภาพรวมเป็นต้น
  • ต้องมี 8K’s แล้วถึงจะมี 5K’s  ในยุค IT ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์มาก
  • การควบคุมอารมณ์ ต้องทำให้ได้ มนุษย์เราในอนาคตในอาเซียน ต้องมี 5K’s จะเป็นประโยชน์มาก
  • เราจะมีมาตรฐานสูงขึ้น มีการ Standard  มีมาตรฐาน Quality มีคุณภาพExcellence  มีความเป็นเลิศ Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้ Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด
  •  มหาวิทยาลัยเราต้องไร้พรมแดน
  • ข้อสรุปจากความเห็นของผมครั้งที่แล้ว..เรื่อง มหาวิทยาลัย กับ ASEAN และ Education Hub ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์หากคณาจารย์ในระดับคณะนำมาคิดและทำต่อ มีดังต่อไปนี้ คณะมีหน้าที่ผลิตทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพและหากมีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศด้วยก็จะทำให้เข้มแข็งมากขึ้น.. ทำต่อไปให้ดีที่สุด
  • ที่มหาวิทยาลัย ทำ BBA ก็มาทำให้เป็น Main ซะเลย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนครับ
  • คณะนี้นักศึกษาที่เรียน ปรับเปลี่ยนทัศนคติมาก ต้องปรับตัว อย่าทำตัวเป็นไดโนเสาร์ ต้องสร้างแรงกดดัน
  • นอกจากภาษาแล้วอยู่ที่วิธีการเรียนด้วย เด็กในเมืองไทยไม่คุณสมบัติ ความยากจนเหมือน ความรุนแรงมาก ขาดคุณธรรม เต็มไปด้วยคอรัปชั่น ขาดประชาธิปไตย ต้องพัฒนาให้คิดเป็นวิเคราะห์เป็น
  • สิ่งที่ Input คือเปลี่ยนการเรียน สร้างคุณค่ากับความคิดใหม่ บวกกับความ Diversity ต้องมีความหลายหลาย แต่ต้องให้ประเทศของเรารอด คิดเป็นสาธารณะ
  • การศึกษาเราเน่า เช่น บางมหาวิทยาลัยลอกกันเยอะ หรือจ่ายครบจบแน่?
  • ผมจะทำหน้าที่ผมให้ดีที่สุด คนไทยต้องออกไปมีอิทธิพลในต่างประเทศ
  • ภาพใหญ่ของ Education Hub คงไม่สำคัญเท่ากับจุดแข็งและความสามารถเฉพาะทางของคณะฯ ไม่มีคณะไหนที่จะเดินไปในจุดอ่อน ผู้นำต้องมาจากจุดแข็งของตัวเองก่อน
  • ดังนั้น น่าจะเริ่มจาก (1) สำรวจ Where are we? มี link กับ ASEAN ในระดับคณะฯในอาเซียนอย่างไร? อาจจะอาเซียน +6 ด้วย
  • Where do we want to go? กำหนด Vision ที่เน้นจุดแข็งของเรา เช่น สาขาอะไรในคณะ จะทำเองหรือจะทำร่วมกับหน่วยงานและอื่น ๆ มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะทำอะไร? เช่น แลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา วิจัยร่วมกัน ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและกำหนดพื้นที่ (ประเทศ) ให้ดีว่าจะเน้นประเทศไหน? และเน้นภาคไหนของประเทศ เช่น พม่า: ควรจะเน้นส่วนที่ใกล้ที่สุด กับ มหาวิทยาลัยฯถ้าต้องการความร่วมมือผมจะเป็นแนวร่วม การพูดยุคใหม่อยู่ที่ Trust  และมี People to People และ Academic People มหาวิทยาลัยดีเรื่องบ้าเรื่องความรู้ ให้ความสนใจนักวิชาการมากขึ้น สำนักงบประมาณก็ไม่ให้ความสำคัญ จะส่งงบมาให้ยากมาก แต่ถ้าเรารวมตัวกันได้ก็สามารถทำได้ เราต้องรวมพลังกัน
  • How to get there? กำหนดยุทธศาสตร์ใหญ่ระดับมหาวิทยาลัย ทั้งกิจกรรมและภูมิศาสตร์และมีระดับคณะช่วยกันสร้างเป็นแผน ASEAN ของคณะวิทยาการจัดการ ขึ้นมา
  • ต้องมียุทธวิธี คือสิ่งที่สำคัญคือคน ต้องมีความรู้สึกมีส่วนได้และเขาต้องได้ด้วย ต้องมี Human Capital  Management  ต้องมี Networking ร่วมกัน
  • How to get there successfully? –ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ Plan – Do – Check – Act, Follow up
  • มี Budget และการประสานงานที่ดี
  • มี Network ที่ดี เช่น งบประมาณจำนวนหนึ่งอยู่ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือจะเน้นไปที่งบประมาณแผ่นดิน การทำงานข้าม Silo อื่น ๆ มีมากมาย
  • โลกในอนาคตคือการทลายกำแพง
  • ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ของผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะปรับ Mindset และสร้างผู้นำในคณะของเรา
  • ต้องมีภาวะผู้นำ และต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมี Mindset  พร้อมที่จะเรียนรู้ทุกวัน
  • ผมมีทฤษฎี 3 L  L หนึ่งที่ผมใช้คือ Learning คือ เรียนจากความล้มเหลวและ Experience
  •  จากความคิดเห็นข้างต้น.. ผมลองนำมาสู่การวิเคราะห์เรื่องบทบาทของคณาจารย์ของคณะวิทยาการจัดการเพื่อก้าวสู่ AEC มีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ บทบาทของคณาจารย์ ประกอบด้วย 3 เรื่องหลักที่สำคัญ คือ การพัฒนาตนเอง การพัฒนางาน / คณะ / มหาวิทยาลัย การพัฒนาสังคม / ชุมชน
  • ความรู้ยุคใหม่ต้องมีการข้ามศาสตร์
  • การพัฒนาตัวเอง อาทิ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ค้นหาตัวเอง และเติมเต็มช่องว่าง (Gap) ในเรื่องคุณภาพของทุนมนุษย์ อาจใช้ แนวคิด 8K’s+5K’s เป็นแนวทาง พัฒนาเรื่องวัฒนธรรมในการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิตและไม่หยุดการพัฒนา
  • การพัฒนางาน / คณะ / มหาวิทยาลัย อาทิ ค้นหาช่องว่างและพัฒนา เรื่องคุณภาพการเรียนการสอน วิธีการสร้างคุณภาพของนักศึกษา /คณาจารย์วิธีการบริหารจัดการ วิธีการสร้าง Value  (ลองพิจารณาแนวคิด 3V)
  • Value Added ,Value Creation , Value Diversity
  • การพัฒนาสังคม / ชุมชน อาทิ ทำงานเชิงรุก เป็นศูนย์กลางความรู้ และเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนในสังคม
  • สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนให้กับสังคม / ชุมชน โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs
  • สร้างความเข้มแข็งเรื่องวัฒนธรรมและความเป็นไทย
  • สร้างงานวิจัยและพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม ฯลฯ

 

 

 

workshop

  1. สำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนและความสัมพันธ์ระหว่างคณะกับอาเซียนที่มีอยู่ Where are we?
  2. กำหนด Vision ว่าจะไปทางไหนในเรื่อง ASEAN 2015 และ Beyond มีโครงการใหม่ๆหรือใช้โครงการเดิม
  3. กำหนดยุทธวิธีที่ไปสู่เป้าหมายเหล่านั้นให้ชัดเจน
  • คน 
  •  เงิน     
  •  วิธีการ
  • ระบบการบริหาร                
  • สิ่งจูงใจ                 
  • How to get there

4) Overcome Difficulties หรือ Execution 

  • อุปสรรคที่จะต้องพบคืออะไร?
  • ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ

 

กลุ่ม 1

  • จุดแข็ง มีหลักสูตรแห่งเดียวในภาคใต้ มีอ.ที่มีคุณวุฒิเป็นมาตรฐาน ศกอ.
  • จุดอ่อน บุคลากรไม่เพียงพอ มีโครงสร้างการบริหารจัดการไม่คล่องตัว
  • มีโครงการใหม่ มีศูนย์วิจัยทางด้านบัญชีในอาเซียน
  • อยากเพิ่มอาจารย์ด้านปริญญาเอก
  • รายได้จาก หลักสูตรหาเอง เช่น การสัมมนา สร้างเครือข่ายกับองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน
  • ใช้ทีม Base System
  • Overcome ใช้ วิจัยเพื่อสะท้อนปัญหาจริง ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรวิชาชีพบัญชี วางแผนการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้ไปสู่จุดหมายเดียวกัน

 

 

 

กลุ่ม 2

  • จุดแข็ง เป็นศูนย์กลางภาคใต้ และเปิดมานาน
  • ความมั่นคงในการเงิน ในการ Support ในกิจกรรมต่างๆ
  • จุดอ่อน อินเตอร์เน็ท การพัฒนาการศึกษาต่อ
  • บุคลากรไม่เพียงพอ
  • ความสัมพันธ์ มีพื้นที่กับมาเลเชีย แต่ไม่มี
  • มีการทำการร่วมมือ
  • เป็นศูนย์กลางในอาเซียน
  • การแลกเปลี่ยนในการศึกษา ส่งอาจารย์ไปทำงานร่วมกัน
  • ด้านคน มีการอบรมและพัฒนา ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  • จัดการการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  • ใช้เงินเป็นค่าตอบแทนในการครองชีพ
  • ให้คนยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้ซับซ้อน
  • มีการสกรีนทั้งระบบ
  • การปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นการ Create

กลุ่ม 3

  • จุดแข็ง เราคณะที่ชั้นนำของภาคใต้ เรามีการศึกษาที่ครบ ทั้งตรี โท เอก
  • บุคลากรของเรามีความคิดการบริหารจัดการที่หลากหลาย เพราะมาจากหลายมหาวิทยาลัย
  • นักศึกษามีคุณภาพ ประสิทธิภาพพอสมควร
  • ภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม อยู่ใกล้ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม การคมนาคมก็สะดวก อ.ก็สะดวกในการมาสอน
  • การมีภูมิศาสตร์ที่ดี ทำให้มี Connection กับบางประเทศเช่น มาเลเชีย อินโดนีเชีย
  • จุดอ่อน นักศึกษามีปัญหาด้านภาษาอังกฤษ ต้องแก้ไขต่อไป
  • ผลงานการวิจัย ไม่เยอะมากนัก อาจจะด้วยปัญหาด้านการหางบประมาณ ทำให้ยังน่าสนใจเท่าที่ควร ทำให้การสอนของ วจก.เรามีโท เอก ทำให้มีการวิจัยน้อยลง
  • การเชื่อมโยงการดึงประโยชน์จากเครือข่าย มากเท่าที่ควร ผลิตการเป็นส่วนตัว ไม่มีการ Support จากข้างนอก
  • ขาดบูรณาการ ศักยภาพ ภาควิชา และการเรียนการสอน และไม่นำการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
  • องค์ความรู้ในอาเซียน ยังจำกัด เราไม่รู้จักมาเลเชีย สิงคโปร์และประเทศอื่นๆเท่าที่ควร ซึ่งเป็นที่ต้องเพิ่มอีกเยอะ
  • Vision ควรต้องเรื่องอาเซียนเข้ามาสอนให้มาขึ้น และใช้มากขึ้น
  • สร้างเครือข่าย เราต้องไปร่วมกับประเทศต่างๆให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มในการสอน
  • ศูนย์ศึกษาอาเซียน ที่คุยไว้ก็ยังไม่ทำ ก็ควรลงมือทำ
  • ยุทธวิธี ต้องค้นหาตัวตนว่าเรารู้และถนัดอะไร และกำหนดเป้าหมายของเราให้ชัด และทำได้แค่ไหน
  • สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติม
  • เมื่อเรารู้ว่าองค์ความรู้คืออะไร เราสามารถนำไปใช้ปรับการเรียนการสอนได้
  • อุปสรรค วจก.มีการปรับตัวน้อย การปรับตัวเข้ากับการแข่งขัน มี มหาวิทยาลัยอื่นที่จะมาแข่งขัน ที่เราจะพบแน่ อาจมีปัญหาตรงนี้
  • เราต้องสร้างบุคลากรใหม่ๆ เพื่อเตรียมพร้อมในการที่จะเจอกับอุปสรรค
  • การหล่อหลอมความคิดของบุคลากรทั้งหมด
  • จะต้องมีการพัฒนา IT ให้มากขึ้นทั้งธุรกิจ และรัฐประศาสนศาสตร์ด้วย

 

กลุ่ม 4

  • จุดแข็ง สถานการณ์ค่อนข้างจะตอบเรื่องอาเซียนพอสมควร เราอยู่ใกล้มาเล มีคุณภาพการศึกษามากกว่าเรา มีราคาถูก แต่แขวงด้วยมาตรฐานไว้ กำลังสำคัญมาจากที่คณะมีเครือข่ายกับนักธุรกิจในพื้นที่
  • มีลูกค้าจากคนต่างชาติที่มาทำงานในหาดใหญ่
  • นักธุรกิจที่มาทำงานในหาดใหญ่เป็นพื้นที่ปราบเซียน เสนอโครงการคือ คณะชั้นนำไปบูรณาการในชุมชน เน้นเรื่องการบริหารธุรกิจและปรับฐาน เพื่อยกธุรกิจชุมชน
  • วิเคราะห์สถานการณ์พบว่า เป็นคนในพื้นที่ มีความหลากหลายอยู่ สามารถนำเสนองานวิจัย และเน้นการจัดการโมเดลการจัดการธุรกิจ นำผลงานวิจัยมาใช้เพิ่มขึ้นและนำไปช่วย SME’s ด้วย
  • วิจัยและหาอัตลักษณ์ทางธุรกิจได้
  • อุปสรรค คณะเงินน้อย เราโดนเก็บไปเยอะ คณะมีคนมาเรียนเยอะในอันดับ 2 – 3เหมือนเงินเยอะ
  • พัฒนาภาษาอังกฤษได้น้อย ในกลุ่มที่อายุเยอะ
  • โครงการที่ทำ โครงการวิจัยเพื่อสู่ชุมชน ให้นักศึกษาเข้าไปช่วยเหลือชุมชนเพื่อให้แข่งกับโลตัสได้

 

กลุ่ม 5

  • จุดแข็ง มีแนวร่วมเป็น ม. ขอนแก่น มีการมองอนาคตไปสู่อนาคตในการสร้างความสัมพันธ์ในประเทศ เพิ่มแคมปัสต่างๆได้
  • สิ่งที่จะเกิด มีการร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว หลักสูตรที่เป็นอินเตอร์มากขึ้น มีการค้าชายแดนด้วย
  • สิ่ง ที่วันนี้เริ่มมีคือโลจิสติกส์

 

ดร.จีระ

  • ผมได้เรียนรู้ว่าในคณะนี้ความหลากหลายมีทั้งโอกาสและอุปสรรค
  • สิ่งหนึ่งที่พูดมาคือเราเป็นองค์กรที่ใหญ่มาก มีวิทยาเขตด้วย เราจะกระจายอำนาจมหาวิทยาลัยเราอย่างไร บริหารจัดการยากมาก ได้ความรู้ว่า แม้กระทั่งคณะที่มีความหลากหลายมากมาย
  • เป็นอุปสรรคและเป็นความหลากหลาย แต่ถ้าบริหารให้เป็นก็จะขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นเลิศ
  • การมีความสัมพันธ์ร่วมกัน คิดว่าเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัย
  • เราขาดเม็ดเงิน เราต้องบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ในคณะของเราให้ได้
  • ผมอยากเห็นแผนที่ภูมิศาสตร์ ที่ชัดเจนออกมา
  • การตั้งเป้าหมายที่สูงไว้นั้นดี
  • เมื่อเรากำหนดเป้าแล้วอยากให้รู้อุปสรรคเยอะ เราต้องเอาชนะมันให้ได้
  • ขอแสดงความยินดีที่ช่วงบ่ายที่ได้รับและได้ร่วมมือกันอย่างดียิ่ง
  • ต้องเรียนภาษาอังกฤษเยอะๆ เด็กเก่งมาก ต้องปลูกฝังให้มากๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
  • อยากให้จุดแข็งต่างๆที่อยู่ได้ทำต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท