การอ่าน ท ๓๑๑๐๒


 

ใบความรู้ที่ ๔

เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Reading)

ความหมายของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หรือ การอ่านอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ หรือ การอ่านอย่างวิพากษ์วิจารณ์ หมายถึงการอ่านที่ผู้อ่านนำเอาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณมาใช้ในการรับสารจากการอ่าน

เพื่อประเมินสิ่งที่อ่านและตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด

การคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคล ที่แสดงออกมาโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและตรึกตรองอย่างรอบคอบ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจที่จะเชื่อหรือกระทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ความสามารถย่อย คือ ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต ความสามารถในการนิรนัย ความสามารถในการอุปนัย ความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น (ชาลิณี เอี่ยมศรี, 2536: 7)

**

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึงการทำงานของสมองที่มีการคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับข้อมูล หรือสภาพการณ์ที่ปรากฏ โดยใช้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 7 ประการ

1.   ความสามารถในการระบุประเด็นปัญหา เป็นความสามารถในการระบุหรือ ทำความเข้าใจโดยพิจารณาความหมาย ความชัดเจนของข้อมูล ข้อความ ข้ออ้าง หรือข้อโต้แย้ง หรือสถานการณ์ที่ปรากฏ เพื่อกำหนดข้อสงสัยและประเด็นหลักที่ควรพิจารณาและแสวงหาคำตอบ

2.  ความสามารถในการรวบรวมข้อมูล เป็นความสามารถในการพิจารณาข้อ มูลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งได้จากการคิด การพูดคุย การสังเกต ทั้งจากตนเองและผู้อื่น รวมถึงการดึงข้อมูลจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่

3.  ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล เป็นความ สามารถในการพิจารณา ประเมิน ตรวจสอบ ตัดสินข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยพิจารณาถึงที่มาของข้อมูล สถิติ และหลักฐานที่ปรากฏ

4.  ความสามารถในการระบุลักษณะข้อมูล เป็นความสามารถในการจำแนกประเภทของข้อมูล ระบุแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ปรากฏ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการพิจารณาแยกแยะ เปรียบเทียบความต่างของข้อมูล การตีความ ประเมินว่าข้อมูลใดเป็นจริง ข้อมูลใดเป็นเท็จ รวมถึงการระบุข้อสันนิษฐานหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ปรากฏ การนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่อาศัยข้อมูลจากประสบการณ์เดิมมาร่วมพิจารณาด้วย

5.  ความสามารถในการตั้งสมมุติฐาน เป็นความสามารถในการพิจารณาถึง ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ สังเคราะห์ จัดกลุ่ม และลำดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยเน้นที่ความสามารถพิจารณาเชื่อมโยงเหตุการณ์และสถานการณ์

6.  ความสามารถในการลงข้อสรุป เป็นความสามารถในการพิจารณาอย่างมีเหตุ ผลเพื่อให้ข้อสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย (Inductive Reasoning) หรือเหตุผลเชิง นิรนัย (Deductive Reasoning)

6.1 การสรุปความโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย เป็นการสรุปความโดยพิจารณาข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง เพื่อนำไปสู่กฎเกณฑ์หรือหลักการ
6.2 การสรุปความโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย เป็นการสรุปความโดยพิจารณาจากกฎเกณฑ์ และหลักการทั่วไป เพื่อไปสู่เรื่องเฉพาะหรือสถานการณ์ที่ปรากฏ

7.  ความสามารถในการประเมินผล เป็นความสามารถในการพิจารณาประเมิน ความถูกต้อง สมเหตุสมผลของข้อสรุป จึงเกิดจากการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะ รวมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ การตัดสินคุณค่าและเหตุการณ์อย่างถูกต้อง (อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, 2537: 12-13)

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

 การอ่านงานเขียนโดยทั่วไปนั้น ใช่ว่าเราจะอ่านเพื่อให้ได้ความรู้ หรือบันเทิงเพียงอย่างเดียว เมื่อเราอ่าน ต้องรู้จักคิด พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณต้องอาศัยการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน ผนวกกับการประเมินค่าเรื่องที่เราอ่านอีกขั้นหนึ่ง คือ สามารถวิจารณ์เรื่องนั้น แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์ถ้อยคำ ประโยค วิเคราะห์ทรรศนะของผู้แต่งและเนื้อหาได้

1. การวิเคราะห์ถ้อยคำ

 1.1 ความหมายโดยตรง หมายถึงคำที่มีในพจนานุกรม ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ปาก หมายถึง ช่องสำหรับกินอาหาร ขอบช่องของสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากไห ปากทาง ฯลฯ
 1.2 ความหมายโดยนัย หมายถึงคำที่มีความหมายซ่อนเร้น ต้องตีความหมายตามสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ของสังคม หรือสภาพแวดล้อมผู้พูด หรือถ้อยคำ เช่น กิน - โกง ทำทุจริต กินดินกินทราย แมงดา - ชายที่เกาะโสเภณีกิน , อกหัก- ผิดหวังอย่างไม่คาดคิด
 1.3 ความหมายตามบริบท หมายถึง คำที่มีความหมายขึ้นกับข้อความรอบข้าง เช่นคำว่า ขัน ดังตาราง

- ไก่ขันแต่เช้า

-- พูดจาน่าขัน

- เขาหยิบขันมา 1 ชุด

-- เธอขันน็อตให้แน่นหน่อยสิ

บางคำเช่นคำว่า ขอหอมหน่อย อาจแปลได้ว่า ขอต้นหอม หรือ ขอจูบแก้ม เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ประโยค

การวิเคราะห์ประโยค คือ การพิจารณาการใช้และเรียบเรียงคำ ข้อความในประโยคว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น


ตัวอย่าง

ควรแก้เป็น

2.1 เขียนประโยคไม่สมบูรณ์

เรือนร่างและความสมบูรณ์ของท่าน ท่านเป็นคนที่ผอม แต่ไม่ผอมเกินไป ทำให้มีค่านิยมในตัวท่านมาก

ท่านเป็นบุคคลที่มีรูปร่างสันทัด ไม่ผอมหรืออ้วนเกินไป ทำให้มีค่านิยมในตัวท่านมาก

2.2 เหตุผลไม่รับกัน

ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้หญิงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเหมือนผู้ชาย เพราะต้องเรียนกับพระ

ผู้หญิงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือเหมือนผู้ชาย เพราะผู้ชายมีโอกาสเป็นเด็กวัดและเรียนหนังสือกับพระ

2.3 ใช้ถ้อยคำไม่สละสลวย

การเข้าทำงานหรือบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ มีการเล่นพรรคเล่นพวก เดินเงิน ใช้เส้น ทำให้ลูกตาสีตาสาที่มีการศึกษา ต้องยึดอาชีพ "ข้าราชการเกษตรกรรม" แทนบรรพบุรุษ

ในการบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการนั้น บางครั้งมีการทุจริต เห็นแก่เงิน ทำให้เสียความยุติธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูง มีความรู้ดีแต่ยากจนก็หมดโอกาสเข้ารับราชการ และต้องหันกลับมา ยึดอาชีพเกษตรกรรม เช่นเดียวกับบรรพบุรุษ

2.4 เรียงคำในประโยคไม่ถูกที่

เพื่อนบ้านของเราคือพม่า

พม่าคือเพื่อนบ้านของเรา

2.5 เลียนแบบภาษาต่างประเทศ

เขาถูกเชิญให้ไปบรรยาย

เขาได้รับเชิญให้ไปบรรยาย

2.6 ใช้คำสั่งไม่สิ้นกระแสความ

นักกีฬาที่ประชาชนยกย่อง เขาไม่ถือตัว

นักกีฬาที่ประชาชนยกย่อง ย่อมไม่ถือตัว

2.7 เว้นวรรคไม่ถูกต้อง

นักเรียนมีเงินใช้ไม่ได้ อดข้าว

นักเรียนมีเงินใช้ ไม่ได้อดข้าว

2.8 ลำดับความไม่รัดกุม

เขาไม่เคยโกงใคร แม้ว่าเขาจะไม่เก่งกล้าสามารถ ไม่ฉลาดเหมือนคนอื่น

ถึงแม้ว่า เขาจะไม่เก่งกล้าสามารถ ไม่ฉลาดเหมือนคนอื่น แต่ เขาไม่เคยโกงใคร

  2.9 การวิเคราะห์รสของคำ หมายถึง คำหรือข้อความที่แสดงให้เห็นภาพ ความรู้สึก เป็นคำแสดงอาการ เช่น

นิ้วกระดิกกระเดี้ยพอได้เห็น

เรี่ยวแรงที่แฝงเร้นก็ปรากฎ

ยอดหน้าแฝงหินแยกหยักระชด

เกียรติยศแห่งหน้าก็ระยับ


(เนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์)

3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ คือการวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละตอน ซึ่ออาจมากน้อยไม่เท่ากัน ต้องสามารถบอกได้ว่า ตอนใดสำคัญ ตอนใดไม่สำคัญ มีข้อสรุปโต้แย้งกับความคิดเห็นกับข้อเท็จจริงหรือไม่

4. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
 คือการนำบทความ ข้อความ ข่าว จากเรื่องเดียวกัน แต่จากผู้เขียน 2 คน มาวิเคราะห์ในด้านภาษา ท่วงทำนอง ความคิด จุดเน้น เจตนาผู้เขียน

ประโยชน์การอ่านเพื่อเปรียบเทียบ • มีความคิด สืบสวนสอบสวน ไม่ด่วนสรุปอะไรง่าย ๆ
 • รักการค้นคว้า แสวงหาเหตุผล
 • ไม่หลงเชื่อใครง่าย ๆ รู้จักไตร่ตรอง
 • มีวิจารณญาณในการอ่าน เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน

หลักการอ่าน

  ๑.อ่านอย่างพินิจ พิเคราะห์ เป็นการอ่านรายละเอียด

  ตั้งแต่  ชื่อเรื่อง  ผู้แต่ง  คำนำ  คำนิยม  สารบัญ  ข้อสังเกต  คำแนะนำ  คำปรารภ คำชี้แจงวัตถุประสงค์การพิมพ์  ประวัติผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง เพื่อ ได้รู้จุดประสงค์ในการเขียนการแต่ง แรงบันดาลใจ หรือสิ่งที่ผู้แต่งแฝงเร้นใว้

  ๒.ค้นหาความหมายในเรื่อง วรรณกรรม คำประพันธ์ สำนวนนั้น ๆ

  ๒.๑ ความหมายพื้นฐานตามตัวหนังสือ (แปลความ) (ดูจากพจนานุกรม คำอธิบายศัพท์  อภิธานศัพท์ )  และพิจารณา ความหมายแฝง 

  ๒.๒ ค้นหาเจตนา หรือทรรศนของผู้เขียนหรือกวีว่าเหตุใดจึงกล่าวหรือแสดงออกมาเช่นนั้น สั่งสอน ประชดประชัน ด่าทอ ตักเตือน

  พิจารณาสำนวน วรรณกรรมต่อไปนี้

  สำนวนว่า ได้เมียสาว กินข้าวขาว ขี้บนขอน นอนหวันสาย”

แปลความ............................................................................................................................................

ตีความ................................................................................................................................................

เจตนา.................................................................................................................................................

  อาเออเหอ  โลกสาวชาวเรินตีน

  เทียมได้ผัวจีน  นอนสาดเจ็ดชั้น

  ถ้าได้ผัวไทย  ผืนไหนผืนนั้น

  นอนสาดเจ็ดชั้น  โลกสาวชาวเริน เหอ ตีน

ความหมายตามตัวอักษร.....................................................................................................................

ความหมายแฝง...................................................................................................................................

เจตนา.................................................................................................................................................

  สำนวนว่า มีเงินให้เขากู้  มีคู่อยู่เมืงไกล

เจตนา.................................................................................................................................................

  ใหญ่จนหมาเลียวานไม่ถึง”

เจตนา................................................................................................................................................

  กระบือหนึ่งห้ามอย่า  ควรครอง

  เมียมิ่งอย่ามีสอง  สี่ได้

  โคสามอย่าควรปอง  เป็นเหตุ

  เรือนอยู่สี่ห้องให้  เดือดร้อนรำคาญ

เจตนาของคำประพันธ์......................................................................................................................

เหตุผลจากคำประพันธ์......................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

  ๓.ค้นหาประดิษฐการ คือค้นหาว่าผู้เขียนผู้ประพันธ์ใช้กลวิธีใด ในการสร้างสรรค์งานกวีงานเขียนแบบใด

  ๓.๑ การใช้บรรยายโวหาร คือใช้คำให้เห็นภาพชัดเจน ตามลำดับเหตุการณ์

  พี่เล็งแลกระแสสายสมุทร  ละลิ่วสุดสายตาเห็นฟ้าขวาง

  เป็นฟองฟุ้งรุ่งเรืองอยู่รางราง  กระเด็นพร่างพรายพราวราวกับพลอย  เห็นคล้ายตล้ายปลาว่ายเฉวียนฉวัด  ระลอกซัดสาดกระเซ็นขึ้นเต้นหยอย  ฝูงปลาใหญ่ไล่โลดกระโดยลอย  น้ำก็พลอยพร่างพร่างกลางคงคา

  ๓๒การใช้พรรณนาโวหาร

  โฮ้ชะนีเวทนาเที่ยวหาผัว  เหมือนตัวพี่จากน้องให้หมองหมาง  ชะนีเพรียกเรียกชายอยู่ปลายยาง    พี่เรียกนางนุชน้องอยู่ในใจ

  ความดีเด่นของคำประพันธ์...............................................................................................

  ๓.๓ การใช้เทศนาโวหาร คือการกล่าวสั่งสอนอย่างมีเหตุผลประกอบ

  ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา  เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน

  ให้ทุกข์ร้อนงอนหง้อทรพล  พระเวทมนต์เสื่อมคลายทำลายยศ

  แล้วสอนว่าอย่าใว้ใจมนุษย์  มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด

  ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด  ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

  คำประพันธ์นี้สั่งสอนให้เหตุผลเปรียบเทียบว่า...............................................................

  ........................................................................................................................................

  ๓.๔ การใช้สาธกโวหาร คือโวหารที่ยกตัวอย่างหรือเรื่องราวมาประกอบ

  รู้น้อยว่ามากรู้  เริงใจ

  กลกบเกิดอยู่ใน  สระจ้อย

  ไป่เห็นชเลไกล  กลางสมุทร

  ชมว่าน้ำบ่อน้อย  มากล้ำลึกเหลือ

  เป็นการยกตัวอย่างมาประกอบระหว่าง..........................................................................

.....................................................................................................................................................

  บอกให้เรารู้ว่า...............................................................................................................

  ๓.๕ การใช้อุปมาโวหาร เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง ( กล ดั่ง เปรียบเหมือน ดุจ ) จะกินข้าวคราวโศกในทรวงเสียว  เหมือนขืนเคียวกรวดแกลบให้แสบศอ

  เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง..........................................................................................

  นกแสกสกุณโทษเค้า  กู่กา

  ทิ้งทูดอูฐอีกลา  ล่องร้อง

  เสียงประทุษภาษา  หืนโหด

  ฟังบ่เพราะหูพร้อง  ดุจถ้อยทรชน

  เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง.......................................................................................

  ...................................................................................................................................

  คำประพันธ์นี้สอนเรื่อง..............................................................................................

  ...................................................................................................................................

  ๓.๖ การใช้โวหารเปรียบเทียบโดยใช้คำตรงข้าม

  ตัวเป็นไทใจเป็นทาส

  เขาหัวเราะทั้งน้ำตา

  ถึงตัวไปใจอยู่เป็นคู่น้อง

  ๓.๗ การซ้ำคำ เป็นการเน้นคำหรือข้อความให้เกิดความประทับใจ หรือเน้นย้ำความหมาย  ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์  มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

  แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร  จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

  เป็นการเน้นคำว่า.............................เพื่อเป็นการสอนให้รู้ว่า............................................  .........................................................................................................................................

  ๓.๘ การใช้โวหาร คำสัญลักษณ์ ใช้คำสัญลักษณ์มาเป็นเครื่องหมายแทนสิ่งที่ต้องการกล่าว เป็นการเปรียบเทียบโยงความคิดอย่างหนึ่ง ไปสู่ความคิดอีกอย่าง

  กระต่ายหมายจันทร์” กระต่ายแทน.........................................จันทร์แทน....................  ไยแม่หิ้วนั้นใช่    จะตก

  เอาพระกรมาปก  ดอกไม้

  สองมือแม่ทาบตีอก  ครวญใคร่  เห็นนา

  หัวยะยิ้มรอยให้  พี่เต้าไปหา

  ไยแม่หิ้วนั้นใช่  จะตก เป็นสัญลักษณ์ให้เราเห็นภาพว่า..................................................

.....................................................................................................................................................

  ดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์แทน..........................................................................................

  เหตุการณ์หรือภาพที่ปรากฏ............................................................................................

  ........................................................................................................................................

  ๓.๙ การใช้โวหารอุปลักษณ์ คือการใช้คำสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดภาพชัดเจน

ยิ่งขึ้น  เพชรน้ำค้างร่วงหล่นบนพรมหญ้า” น้ำค้างกับ...................พรมกับ............................

  ๓.๑๐ การใช้โวหารบุคคลวัต การนำเอาสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ให้มีชีวิตจิตใจ มีรูปร่าง มีกิริยาอาการ ดั่งมีชีวิต

  เห็นลมละเมอเพ้อหวาดผวา  เห็นฟ้าพะวงหลงโทษโกรธดิน

  เห็นใบไม้ครวญหวนอยู่ริมธาร  เห็นศาลเพียงตาแล้วข้าปวดใจ

  ๓.๑๑ การใช้โวหารอธิพจน์ คือการเปรียบเทียบเกินจริง

  โฉมแม่จักฝากฟ้า  ฤาดิน  ดีฤา

  เกรงเทพไท้ธรณินทร์  ลอบกล้ำ

  ฝากลมเลื่อนโฉมบิน  บนเล่า นะแม่

  ลมจักชายชักช้ำ  ชอกเนื้อเรียมสงวน

  ตีความได้ว่า.....................................................................................................................

  ........................................................................................................................................

  ๓.๑๒ การใช้โวหารลัทพจน์  เป็นการใช้คำเพื่อให้ได้ยินเสียง

  ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง  เพลินฟังวังเวง

  อีเก้เริงร้องลองเชิง

  พิณพาทย์ระนาดฆ้อง  ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง

  ระฆังดังวังเวง  โหง่งหง่างเหง่งเก่งก่างดัง

  ๓.๑๓ การใช้นาฏการ เป็นการใช้คำให้เห็นภาพเคลื่อนไหว

  นกเขาขันคูเรียกกันเพรียกไพร

  บ้างถาบถาพาคู่ลงฟุบฝุ่น  เห็นคนผลุนโผผินบินไถล

  บ้างก่งคอคูคูกุ๊กกูไป  ฝูงเขาไฟฟุบแฝงที่แฝกฟาง

  ภาพที่ปรากฏ..........................................................................................................

............................................................................................................................................

..........................................................................................................................................

..........................................................................................................................................   

ตัวอย่างการพิจารณาความงามจากคำประพันธ์

๑.คำประพันธ์ 

  จากมานักนิ่มเนื้อ  นอนหนาว

  หนาวเหนื่อยเพราะลมชาย  ซาบชู้

  จากบางทรนาวนาว  นมแม่ 

  หนาวเหนื่อยมือแก้วกู้  มุ่นมือ

๒.คำศัพท์  ความหมาย  สัญลักษณ์

  นิ่มเนื้อ  หมายถึงนางคนรัก  ลมชาย  หมายถึงคำพูดของชายอื่น

  ซาบ หมายถึงทราบ รู้ บอก พูด  ชู้ หมายถึงคนรัก  บางทรนาว ชื่อสถานที่

  นาว คือมะนาว เปรียบกับหน้าอกคนรัก สื่อสัญญลักษณ์ว่า......................................

  แก้ว หมายถึงคนรัก  กู้ หมายถึงเอาออกยกออก ปัดป้อง มุ่นมือ คือไม่หยุดมือ

๓.แปลความ

  ..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

๔.ความงาม

  ด้านวรรณศิลป์ ๑. การใช้คำว่านิ่มเนื้อ แทนตัวคนรัก สื่อถึงค่านิยมว่าผู้หญิงต้องเนื้อนิ่มให้ความอบอุ่น  ๒.หนาวเหนื่อย ตามธรรมดาไม่มีใครหนาวจนเหนื่อย แต่เป็นการสื่อให้เห็นถึงความหึงหวง กลัว ลมชาย ซาบชู้ คือกลัวนางไปหลงคำพูดชายอื่นที่มาพูดเกี้ยว

๓.นำผลมะนาวมาเปรียบกับนมนาง โดยนำเอาวิถีชีวิตของคนไทยในการนำมะนาวมาใช้ปรุงอาหารว่า........................................................... เปรียบกับเหตุการณ์ในความความหลัง ที่กวีมี ความใกล้ชิดกับนาง ๔.แล้วยังเพิ่มความทุกข์ใจในการคิดถึงความหลังว่าตอนอยู่ด้วยกันว่า

หนาวเหนื่อยมือแก้วกู้  มุ่นมือ แปลความได้ว่าคิดถึงตอนที่....................................พี่ไม่สบายใจเลย    แต่ทั้งหมดเป็นสื่อเพียงว่า รักมากไม่อยากจากนางมากลัวนางนอกใจ

  นักเรียนลองพิจารณาคำประพันธ์ต่อไปนี้

  บ่ได้กล้ำข้าวแต่  วันมา

  กลืนต่ายาคูกวน  ครึ่งช้อน

  รักกระลาพิม  พระมาศกูเอย

  ดานกระหายเร้าร้อน  ราคคืน 

ลักษณะความงาม

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

  ให้นักเรียนอ่านนิทาน นักเรียนฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ทำแบบทดสอบที่.....หน้า.......

  มีตากับยายสองคน อยู่กันตามลำพัง นานเข้าก็เกิดความเหงา วันหนึ่งยายบอกตาว่าให้ตาไปหาแมวมาเลี้ยงแก้เหงาสักตัวหนึ่ง ตาก็รับคำ เดินออกจากบ้านเพื่อไปหาแมวสวยสักตัวหนึ่งมาเลี้ยง

ตาเดินไปไม่ช้าก็พบแมวฝูงใหญ่ มอง ตัวไหนก็รู้สึกว่าน่ารักไปเสียทั้งนั้น หลังจากลังเลอยู่นาน ก็เลือกอุ้มแมวที่เห็นว่าสวยน่าเอ็นดูขึ้นมาตัวหนึ่ง  ครั้นแล้วก็เกิดความรักพี่เสียดายน้อง เลยอุ้มตัวนั้นบ้างตัวนี้บ้าง  จนแมวทั้งฝูงนั้นพากันเดินตามมาจนหมด

  ขณะที่เดินไปตามทางพอมาถึงบึงใหญ่แห่งหนึ่ง  แมวก็ร้องอุธรณ์ว่าหิวน้ำ ตาก็บอกให้ไปกินน้ำในบึง  แมวทั้งฝูงก็กรูไปกินน้ำที่บึงนั้นเพียงแค่กินกันตัวละอึกเท่านั้น น้ำทั้งบึงก็แห้งผากไป

ในฉับพลัน  ตาและฝูงแมวก็เดินต่อไปจนถึงทุ่งหญ้ากว้าใหญ่แหงหนึ่ง  แมวก็บอกตาว่าหิวหญ้า ตาก็บอกว่าไปกินหญ้าที่ทุ่ง แมวพากันวิ่งตามไปที่ทุ่งหญ้า  ต่างตัวต่างกินกันเพียงตัวละคำเท่านั้นหญ้าทั้งทุ่งก็เกลี้ยงไปในชั่วพริบตา  ตาพาแมวฝูงนั้นเดินต่อไปจนถึงบ้าน ยายออกมารับด้วยความยินดี

แต่พอเห็นแมวฝูงมหึมาเช่นนั้น  ยายก็ผงะด้วยความตกใจ และถามตาว่า เอาแมวมามากมายเป็นล้านอย่างนี้จะมีอะไรให้มันกินได้พอ ตาบอกว่าแมวพากันเดินมาเอง ตาเองก็ตัดสินใจไม่ได้ว่า ตัวไหนเป็นตัวสวยที่สุดก็ปล่อยให้มันตามมาเรื่อยๆ

  ยายจึงบอกว่า  ถ้าเช่นนั้นให้ตาเลือกตัวที่สวยที่สุดมาสักตัวก็แล้วกัน  ตาร้องถามแมวว่าตัวไหนสวยบ้าง  เจ้าแมวฝูงนั้นก็ร้องตะโกนกันลั่นว่า “ฉันสวย ฉันสวยที่สุด”และตะโกนแข่งกันจนเสียงดัง แล้วก็เกิดความเขม่นกันขึ้นในการแย่งตำแหน่ง “แมวสวย” โดยกระโดดเข้ากัดกันอย่างชุลมุน เสียงดังปานถล่มแผ่นดิน ยายกับตาเกิดความกลัวจนตัวสั่นรีบพากันเข้าบ้านปิดประตูแน่น

นั่งแอบฟังเสียงแมวกัดกันอยู่ในบ้านนั้น

  ไม่ช้าเสียงแมวที่ขู่และกัดกันนั้นก็ค่อยเงียบลง เงียบลง จนสนิท ตากับยายก็ค่อยเปิดประตู

โผล่ออกมาดู  ทั้งสองไม่เห็นแมวเลยสักตัวก็แปลกใจ  จึงออกจากบ้านมาดู ปรากฏว่าแมวหายไปหมด แต่เมื่อมองสภาพการณ์รอบๆแล้ว  ตากับยายก็สันนิษฐานว่าแมวทั้งหลายนั้นต่างก็กัดกันและกัน กินกันเองด้วยความโกรธและความหิวโหย  จึงไม่มีแมวเหลือสักตัวเดียว

  ขณะที่ยายกับตายืนรำพึงด้วยความเศร้าสลดและเสียดายอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงร้อง เหมียว ๆ ๆ อยู่ไม่ไกลตัวนัก เมื่อช่วยกันมองหา ก็เห็นลูกแมวสีดำตัวเล็กๆ  นั่งแอบอยู่ที่พุ่มไม้ ยายจึงเดินไปอุ้มขึ้นมา เป็นลูกแมวผอมโซ แสนจะขี้เหร่  ยายถามว่าทำไมจึงยังอยู่ไม่เป็นอะไรไปกับเขาด้วย

ลูกแมวตอบว่า “ฉันรู้ว่าฉันไม่สวยเพราะฉะนั้นฉันก็ไม่ร้องแข่งกับใครว่าฉันสวยก็เลยไม่มีใครมากัดฉัน”ยายก็อุ้มลูกแมวขี้เหร่นั้นเข้าบ้านด้วยความยินดี จัดแจงอาบน้ำเช็ดตัว แปลงขนให้จนสะอาดพองฟู แล้วเอานมมาให้กิน ไม่ช้ามันก็อ้วนจนตัวกลม ช่างเล่น น่ารัก ยายกับตาเลี้ยงลูกแมวตัวนั้นไว้ และอยู่ด้วยความสุขสืบมา

 

แบบทดสอบที่......

ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน

  ๑.ทำความเข้าใจ ตั้งคำถามและตอบ

- ทำไมแมวต้องมากัดกันจนตายหมด.............................................................................................

......................................................................................................................................................
- ทำไมลูกแมวตัวเล็กถึงรอดชีวิต...................................................................................................

......................................................................................................................................................

-  ถ้าตาไม่ลังเลใจตอนเลือกแมวมาเลี้ยง แมวจะกัดกันหรือไม่......................เพราะ....................................................................................................................................

-  ถ้าแมวกัดกินกัน ทำไมแมวหายไปหมด ไม่เหลือซาก หรือตัวสุดท้าย

..............................................................................................................................................

๒.เจตนาของเรื่อง หรือแนวคิด

๒.๑.................................................................................................................................................

๒.๒...............................................................................................................................................

๒.๓...............................................................................................................................................

๒.๔...............................................................................................................................................

  ๓. ความคิดเสริมของนักเรียน เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของมนุษย์

......................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

  ๔. ข้อบกพร่องในการเล่านิทาน

...........................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาล

  ของฝากจากน้าวันนี้ช่างถูกใจหนูแหวนเสียเหลือเกิน เป็นข้าวโพดต้มที่จับแล้วยังอุ่นมืออยู่เลยหนูแหวนเดินแอบหลบไปนั่งใต้ต้นไม้ กะว่าจะค่อยๆ ปอกเปลือก แกะกินทีละเมล็ดให้ชื่นใจสักหน่อย “การกินคนเดียวนี่ บางทีก็เป็นสุขเหมือนกัน” หนูแหวนบอกกับตัวเอง

  หนูแหวนค่อยๆ ปอกเปลือกออกอย่างตั้งใจ เปิดออกมาทีแรกกลิ่นข้าวโพดก็ยิ่งหอมฉุย เห็นเมล็ดของมันสีเหลืองอร่าม เรียงกันแน่นเป็นระเบียบและที่สำคัญคือ น่ากินยิ่งนัก หนูแหวนปอกเปลือกต่อไปอีก คราวนี้ก็อดหัวเราะคิกออกมาไม่ได้เมื่อเห็นข้าวโพดเมล็ดหนึ่งอยู่กึ่งกลางฝักเป็นสีน้ำตาลแก่ตัดกับสีเหลืองของเมล็ดที่อยู่รอบๆ

  “มีอะไรน่าขำนักหรือ” เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลพูดอย่างเคืองๆ

  “ฉันขอโทษด้วย” หนูแหวนกล่าว “แต่ฉันก็อดขำไม่ได้ เธอไม่คิดว่าของแปลกๆ เป็นสิ่งน่าขำบ้างหรือ”

  “ของแปลกอาจจะน่าขำอย่างเธอว่า แต่ถ้าเธอเป็นสิ่งที่แปลกแล้วเธอก็จะไม่รู้สึกขำดอก” เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลตอบ “มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าออก”

  “ลองเล่าชีวิตที่น่าเศร้าของเธอให้ฉันฟังหน่อยได้ไหมจ้ะ” หนูแหวนถาม

  “ตั้งแต่ฉันเกิดมา พอมีผิวเป็นสีน้ำตาลนี่ถูกใครๆ เขาล้อเลียนอยู่เรื่อย” เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลเล่าเสียง “พวกพี่ๆ น้องๆ ฉันบางทีก็แกล้งเบียดจนตัวลีบทีเดียว พอโตขึ้นเต็มที่พวกเขาก็เยาะเย้ยฉันว่า ผิวสีน้ำตาลอย่างนี้เขาไม่เก็บเอาไว้ทำพันธุ์หรอก”

  “แต่เป็นของแปลกนี่ก็ดีเหมือนกันนะจ๊ะ” หนูแหวนพยายามปลอบใจ “อย่างฉันปอกเปลือกออกมานี่ พวกเมล็ดสีเหลืองๆ ฉันก็ไม่สะดุดตา ไม่สนใจ จำได้แต่เธอนี่แหละที่แปลกออกมา”

  “จริงหรือ” เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลพูด

  “จริงซี” หนูแหวนยืนยัน “ของแปลกนี่ก็ทำให้เราเด่นเหมือนกัน อย่างตอนนี้นะ เวลาเขาโฆษณาขายของ ก็ต้องโทษโฆษณาว่าเป็นของแปลกใหม่กันทั้งนั้น”

  “ตัวฉันไม่ใช่สินค้านี่ ตัวของฉันก็แปลกมากอยู่แล้ว ถ้าฉันต้องทำตัวให้แปลกใหม่อยู่เรื่อยๆ มันไม่น่าเบื่อหรอกหรือจ๊ะ” เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลพูด

  “มันอาจจะน่าสนุกก็ได้ อย่างพี่บัวผันถอนขนคิ้วเสียหมดแล้ววาดใหม่ คิ้วของพี่บัวผันน่ะแปลกไม่มีใครเหมือนเลยทั้งหมู่บ้าน พี่บัวผันยังยิ้มแฉ่งภูมิใจอยู่เลย” หนูแหวนพูด

  “แต่นั่นแหละ” เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลแย้ง “ถ้าพี่บัวผันของเธอต้องอยู่หมู่บ้านนี้ เหมือนกับฉันต้องอยู่ในฝักข้าวโพดนี้ เขาก็ต้องรู้สึกเหมือนฉัน ที่ไม่มีเพื่อนและว้าเหว่

  “อาจจะเป็นอย่างเธอว่าก็ได้” หนูแหวนพยักหน้า “เพราะฉันเห็นบางคนแอบนินทาว่าแต่งตัวเป็นคุณนาย”

  “เชื่อฉันเถอะ ความแปลกหรือความเด่นน่ะ คู่กับความเหงา” เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลยืนยัน

  “ถ้าเช่นนั้นใครๆ เขาอยากจะแปลกกันทำไม” หนูแหวนถาม

  เมล็ดข้าวโพดสีน้ำตาลคิดสักครู่แล้วตอบว่า “เขาอาจจะอยากอยู่คนเดียวก็ได้ คนที่ทำอะไรให้แปลกกว่าคนอื่นแสดงว่าเขาชอบอยู่คนเดียว”

  “เขาอาจจะอยากให้คนอื่นไปรุมดูเขาก็ได้” ห

หมายเลขบันทึก: 512701เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื้อหาแบบนี้น่าจะเขียนเป็นบันทึกเลยจะดีกว่านำมาใส่ไว้ที่อนุทินนะคะ ศึกษาวิธีการใช้ได้จาก คู่มือ GotoKnow (ฉบับย่อ) .pdf ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท