พานักศึกษาไปดูงานการเลี้ยงแมลงและทดสอบพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวที่ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา


การทดสอบปฏิกริยาของพันธุ์ข้าวต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

เมื่อวันศุกร์ที่๒๑ธันยาคม๒๕๕๕ข้าพเจ้าได้พานักศึกษาที่เรียนวิชาแมลงศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิดจำนวน๑๒คน ระดับปริญญาตรี ไปดูงานการเลี้ยงแมลงและทดสอบพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวที่ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา เมื่อถึงเวลาดังกล่าว อาจารย์ไพรินทร์  ได้มาต้อนรับและนำชมกิจการของศูนย์ฯ จนได้เวลาพอสมควร พี่ออยเจ้าหน้าที่่พร้อมทีมงานได้พาคณะนักศึกษาฯไปที่โรงเลี้ยงแมลง พร้อมกับชี้แจงถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นว่าต้องมี กรงเลี้ยงแมลง หลอดดูดแมลง กระถางดินเผา ถาดสังกระสี กระบะพลาสติก กระบะไม้ ฯลฯ เตรียมดินป่นละเอียดใส่ในกระบะสูง๕ซม. แบ่งกระบะเป็น๒ส่วน แบ่งครึ่งตรงกลางตามยาว ทำร่องบนดินตามแนวขวางของกระบะ ห่างร่องละ๕ซม. ได้ร่อง๑๓แถว ใช้วิธีทดสอบของ Heinric et at.1985 วิธีทดลองศึกษาปฏิกริยาของพันธุ์ข้าว เริ่มด้วยการสุ่มจับ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล/เพลี้ยจักจั่นสีเขีวยจากนาของเกษตรกร เลี้ยงด้วยพันธุ์ข้าวอ่อนแอมาตรฐาน จนแมลงขยายพันธุ์ไปจนได้แมลงวัยที่๒-๓จำนวนมาก อายุของแมลงที่ใช้ทดสอบจะต้องสอดคล้องกับอายุของกล้าข้าว คือแมลงวัย๒-๓ กล้าข้าวอายุ๗วัน จึงปล่อยแมลงที่ทดสอบ หากศึกษาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ใช้จำนวน ๘-๑๐ตัว/ต้น มีข้าว๒๖แถวต้องใช้แมลง๕๒๐๐ตัว(๒๐๐ตัว/ข้าว๑แถว) หากทดสอบเพลี้ยจักจั่นสีเขียวต้องใช้แมลง๕-๖ตัว/ต้น มี๒๖แถวต้องใช้แมลง๓๑๒๐ตัว/กระบะ(๑๒๐ตัว/ข้าว๑แถว) การศึกษาปฏิกริยาต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้คะแนน ๖ระดับ คะแนนลักษณะอาการของพืชให้๖ระดับ การเรียงพันธุ์ข้าวในกระบะทดสอบให้ช้พันธุ์ต้านทานมาตรฐาน กข๒๓ ,สพ๙๐ ปิดหัวและท้าย ส่วนพันธุ์อ่อนแอมาตรฐานใช้พันธุ์TN1 และพันธุ์ กข๗ ปิดหัวและท้าย การเตรียมแมลงโดยเก็บต้นข้าวที่มีไข่ของแมลง(วางไข่ฝังในกาบใบข้าว) พักไว้๖วัน เมื่อครบ๖วัน ให้แช่เมล็ดข้าวที่จะทดสอบนาน๒๔ ชม.หุ้มเมล็ดไว้๔๘ ชม. นำเมล็ดข้าวที่เริ่มงอกแต่ละพันธุ์มาเรียงในแถวที่ทำร่องไว้พันธุ์ละ ๑แถว ปลูก๒๐เมล็ด/พันธุ์ เมื่อต้นกล้าของข้าวอายุครบ ๗วัน ตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ออกมาจากไข่จะเป็นวัยที่ ๒-๓ พอดี การประเมินระดับความต้านทานของพันธุ์ข้าว ใช้วิธีให้คะแนนของ standard evaluation system for rice (IRRI,1988) เช็คให้คะแนน เมื่อพันธุ์อ่อนแอมาตรฐาน TN1 ,กข๗ แสดงอาการเหลือง ประมาณ๙๐% หลังวันปล่อยแมลง รายละเอียดหากต้องการทราบโปรดติดต่อโดยตรงกับศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยาโดยตรง ข้าพเจ้าและคณะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา ขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ODD-บ้านสมุนไพร


หมายเลขบันทึก: 514253เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การเลี้ยงแมลงเป็นงานยากถึงยากมากหากแมลงวางไข่ในต้นพืช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท