การเก็บเมล็ดพันธุ์ต้นชุมเห็ดเทศ


ฝักต้นชุมเห็ดเทศค้ำจุนเมล็ดไปจนงอกต้นใหม่ได้อย่างดี

ต้นชุมเห็ดเทศเป็นพืชตระกูลถั่วจัดอยู่ในวงศ์ FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE  วงศ์ย่อย CAESALPINIODEAE ชื่อวิทยาศาสตร์  Senna alata (L.) Roxb. ใบชุมเห็ดเทศมีฤทธิ์ระบาย ดอกสีส้ม เหลือง เป็นช่อทะยอยบานจากล่างขึ้นบน ดอกจะบานอยู่นานอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ ระยะนี้จะมีแมลงผสมเกสรทั้งผึ้งและแมลงภู่ มาตอมดูดกินน้ำหวานแลัเกสร จะเริ่มติดฝัก ลักษณะฝักคล้ายถั่วพูคือมีปีก ฝักสีเขียว ยาวประมาณ ๔ ซม. เวลาผ่านไปประมาณ ๒ สัปดาห์ ฝักจะขยายใหญ่ขึ้นทั้งความยาว และความกว้าง ส่วนกว้างที่สุด วัดได้ ๒ ซม. ส่วนสันตรงข้าม กว้าง๑.๘ ซม. ปลายฝักเห็นติ่งโค้งเล็กน้อยยาวประมาณ ๑ ซม.ตัวฝักมีความโค้งเล็กน้อย  ต่อมาฝักเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล และเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนสีเกือบดำ ต่อมาสันของฝักด้านสั้นจะเห็นเป็นร่องตรงกลาง(ด้านสันแคบ) และเริ่มปริออก ถ้าไปเขย่าฝักจะมีเสียง แต่ถ้าเขย่าแล้วไม่มีเสียง ไม่มีการปริออก ยังเก็บไม่ได้ ต้องรอจนดำทั้งฝักเขย่ามีเสียงและเริ่มปริจึงสามารถเก็บได้ ความยาวของฝัก มีความยาว ๑๔-๑๖.๕ ซม. ความกว้างของฝักที่ ๑.๘-๒ ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝัก ๓๗-๔๙ เมล็ด/ฝัก น้ำหนักฝักเปล่าเมื่อแกะเมล็ดออกประมาณ๐.๘๐-๑.๐๕ กรัม (คิดจาก๕ตัวอย่าง) น้ำหนัก ๑๐๐เมล็ด เท่ากับ ๓.๔๖กรัม จากการเก็บเกี่ยว ๓๐๕ ฝัก ได้น้ำหนักฝักเปล่าที่แกะเมล็ดออกแล้วเท่ากับ ๒๔๒.๖๔กรัม คิดเป็น๓๓.๒๗เปอร์เซ็นต์ของนำหนักทั้งหมด และได้น้ำหนักรวมของเมล็ดเท่ากับ๓๐๕.๔๓กรัม คิดเป็น๕๕.๗๓เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักรวม น้ำหนักรวมเท่ากับ ๕๔๘.๐๗กรัม เมล็ดของชุมเห็ดเทศมีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ ด้านบนป้าน ด้านล่างเรียวแหลมและมีก้านขนาด ๑-๒ มิลลิเมตรติดที่ปลาย และติดกับฝักด้านในใกล้กับสันด้านแคบ เมล็ดเมื่ออยู่ในฝักจะมีขนโดยรอบ การจัดเรียงเมล็ดในฝักจะจัดเรียงเป็น ๒แถวสลับกันไปตลอดหัวฝักจดท้ายฝัก เมื่อเมล็ดแก่ ฝักปริออก เมล็ดบางส่วนจะออกมาตกพื้น รอให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมความชื้นพอดีก่อนเมล็ดจึงจะงอก เมล็ดบางส่วนออกมานอกฝักแต่ยังติดกับก้านเล็ก ๆ แกว่งไป มาได้ เหมือนหยดน้ำ เมล็ดบางส่วนหลุดจากฝักแล้วแต่ยังคงตกค้างอยู่ในฝักตรงติ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง ติ่งที่ปลายฝักนี้มีความสำคัญมากเพราะเป็นตำแหน่งที่จะเปิดให้ฝักแยกเป็น๒ซีกได้โดยง่ายและพื้นที่สุดท้านมีลักษณะเป็นกรวยช่วยเอื้ออำนวยให้เมล็ดอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เมื่อฤดูฝนมาถึงเมล็ดที่อยู่ที่ติ่งนี้จะได้รับการปกป้องจากเปลือกที่ทำหน้าที่อุ้มน้ำและเปื่อยยุ่มเป็นอาหารให้ต้นอ่อนที่จะเจริญเป็นต้นใหญ่ในเวลาต่อมา

ODD-บ้านสมุนไพร



ชุมเห็ดเทศ











หมายเลขบันทึก: 515066เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2013 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท