เกลอควน ชวนเกลอเล บูรณาการงานเด็กใต้ไม่กินหวาน


สุขภาพฟนดีเริ่มที่ซี่แรก

      



  ในพัทลุงความผูกพันธ์ ทางความเป็นเพื่อน หรือ หัวเกลอ เป็นความผูกพันธ์ข้ามตระกูล ทั้งครอบครัว ทั้งเกลอย่าน  เกลอเขา เกลอนา เกลอเล  เป็นเกลอย่านกัน  ผู้เขียนรู้ได้ยินชื่อหมอหวาน  นายหร้อหวาน วัชรจิรโสภณมานานหลายปี  และไม่มีวาสนาได้พบกัน เมื่อสามปีก่อน  หมอหวานส่งบัณทิตอาสาจาก มอ.(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) มาฝึกงานรุ่นแรก ซึ่งผู้เขียนก็ได้ให้ความอนุเคราะห์ตลอดมา  

      จนกระทั่ง บัณทิตอาสา  ได้อาสาให้ผู้เขียนได้พบกับหมอหวาน  แต่ผู้เขียนติดภาระสำคัญทั้งๆที่หมอหวานมาหาในพื้นปากพะยูน ก็ยังไม่ได้พบกัน



     แต่เมื่อโอกาสวาสนาได้มาถึง จึงได้พบหมอหวานในเวทีประชาธิปไตยชุมชน  ที่ทะเลน้อย คืนนั้น สามสหายแห่งเทือกเขาบรรทัด คือ สหายโทน สหายแผ้ว แล้วสหายหวาน  เขารำลึกถึงความหลังครั้งเรียนมหาวิทยาลัยชีวิต  ทำให้ผู้เขียนทึ่งกับเรื่องราวที่พวกเขาเล่าและอำกันในครั้งอยู่ในป่า

       จากครั้งนั้นทุกครั้งที่ผู้เขียนมีโครงการ ไม่ว่าจะเป็นค่ายครอบครัว หรือเรื่องเยาวชน จะต้องชวนหมอหวานมาคุยให้ฟัง  และล่าสุดเมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา เราเกลอเขาเกลอเล นั่งคุยเรื่องหมู่บ้านปลอดเหล้ากันข้ามปี ที่โรงเรียนเกาะเสือ 



หมอหวาน

     และในการคุยกันหมอหวานบอกว่า วันที่ 8 มกราคม 2556 ทางคณะทันตแพทย์ มอ. จะมีนักศึกษาทันตกรรมมาเรียนรู้ในพื้นที่ ทำให้ผู้เขียนบอกหมอหวานว่า จะขอบูรณาการ(พลอย) นักศึกทันตมอ.ด้วยกัน



      จึงชวนหมอฟันโรงพยาบาลปากพะยูนไปร่วมเรียนรู้ในการจัดการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่กินหวาน  ภายใต้โครงการ"เด็กใต้ไม่กินหวาน" ที่อาจารย์ วรรธนะ พิธพรชัยกุล คณะทันตแพทย์ศาสตร์มอ.นำนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่  2 ออกสู่ชุมชน เพื่อฝึกการมีจิตอาสาในเบื้องต้น 

    ผู้เขียนชวนหมอมิว ปรียส หมอฟันและน้องมลกิจ สุทธิพันธ์ เจ้าพนักงานทันตชำนาญการโรงพยาบาลไปด้วยกัน เพื่อจะได้นำสิ่งดีมาจัดการใน ศพด.ที่ปากพะยูนบ้าง วันนี้ 4 ศพด.ที่เข้าเยี่ยมชม ในเรื่องสุขภาพช่องปากเด็กใน ศพด.มาจากคิดของหมอหวาน ที่ต้องการให้ลูกหลานมีสุขภาพช่องปากที่ หรือที่บอกว่า "สุขภาพฟันดีเริ่มที่ซี่แรก"  

     ตอนเที่ยงพวกเราก็ได้ บูรณาการข้าวเที่ยงจากบ้านหมอหวาน และทุก ศพด.ที่ไปเยี่ยม มีผลไม้ตามฤดูกาล ทั้ง ลองกอง เงาะ มังคุด กินไม่ไหว ทางศพด.ใจดี ใส่ถุงมาให้ในรถ  เป็นการร่วมเรียนรู้ที่  Happy มากๆ 

       เกลอเขา เกลอเล ร่วมร้อย รัด มัด ห่อ เชาะเงื่อน ทักทอความเป็นเพื่อนเป็นเกลอ ครั้งต่อไปจะได้ชวนทีมเกลอเขา มาล่องเล แลนก ตกปลา หากุ้งที่ปากพะยูน สานสัมพันธ์ บูรณาการเกลอให้มีปฎิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น


แกงส้มปลาทู กับลูกกล้วย หรอยแบบบ้านๆ





รู้จักหมอหวานเพิ่มเติมที่นี้

(http://happynetwork.org/upload/forum/doc49a26050cdcad.pdf)











ลูกตาหมัด












เด็กใต้ไม่กินหวาน สุขภาพฟันดีเริ่มที่ซี่แรก

หมายเลขบันทึก: 515707เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2013 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

I would add "too much" salt and oil (or fat) on top of sugar.

All things in moderation ;-)

  • สวัสดีครับท่านวอญ่าฯ
  • แวะมาเยี่ยม
  • เห็นด้วยอย่างยิ่ง หากปลูกฝังกันแต่เล็กจะดีครับ
  • ขอบคุณที่นำบันทึกดีๆมาแบ่งปัน

  • ยินดีที่ได้รู้จักหมอหวานนะคะ

สวัสดีครับท่านวอญ่า เด็ก ๆ น่ารักมากครับ 

สวัสดีค่ะ ท่าน วอญ่า

แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

เรียนท่าน sr ขอบคุณที่แวะมาส่งกำลังใจ เด็กใต้ไม่กินหวาน

แวะมาเยี่ยม ศพด.แถว ๆ บ้านลุงวอจ้ะ จาก ศพด.วัดอู่ตะเภาจ้ะ

เรียนท่านเขียว ศพด.ทั้ง สี่แห่งที่ไปเยี่ยม ทางศูนย์ เขาปลูกผักไว้ปรุงอาหารให้เด็ก

ส่วนผลไม้ตามฤดูกาล และ กล้วยกับมะละกอ ทางกลุ่มเกษตรเขาบริการ

เพื่อนร่วมทาง
ครับคุณหมอ ต้องตามไปดูเด็กกลุ่มนี้ ตอนขึ้นไป ป 1 ว่ายังรักสุขภาพช่องปากอย่างไร

ในการรับช่วงส่งต่อการดูแล

แวะมาให้กำลังใจครับ


Pundit
ขอบคุณท่านพันดิฐ ที่ส่งดอกไม้ ให้ความเห็น ให้กำลังใจ  และให้อาหาร กับข้าวผ่านบันทึก

สวัสดีครับครูทิพย์ ขอบคุณที่แวะมาส่งกำลังใจให้เสมอมา

เด็กน่ารักจัง  ลุงวอ ไปทำที่โรงเรียนบ้านคอกช้างบ้างซิค่ะ

คุณมะเดื่อ
สวัสดีน้องมะเดื่อ......ศพด.ที่ไปเยี่ยม เขามีกิจกรรมเรื่องอาหารที่ปลูกกินเอง และบางส่วนชาวบ้านก็นำมาให้ ไม่ขาด

Yong
สวัสดีครับคุณ ยงค์  งานสาธารณสุข พวกเราที่สังกัด งูพันคบเพลิงไม่ว่าแผนกไหน  แม้ทำความสะอาด คนชาวบ้านเขาก็เรียกเราว่าหมอ

เพราะฉะนั้น ถึงเราจะไม่ใช่หมอ แต่ใจเราเป็นหมอ

ให้กำลังใจกันยาว ๆ นะคะท่านลุง

เด็กๆเหมือนผ้าขาว ส่งมอบอะไร อย่างไร มักจะได้อย่างนั้น

โครงการดีๆ น่ารักมากค่ะ

สวัสดีครับท่านผอ.ปิยกุล 

อีกกิจกรรมหนึ่งในชุมชนคือ เด็กใต้ไม่กินหวาน ทำร่วมกับ ศพด. จะขยายพื้นที่ทุกอำเภอ

ได้คณะทันแพทย์มอ.ลงมาช่วยกิจกรรมดูแล

เริ่งที่อำเภอกงหรา 

หมอหวานเป็นคนเริ่มงาน

สวัสดีครับคุณ หมอธิรัมภา..

เขาบอกว่า เด็กช่วงอยู่กับพ่อแม่ สุขภาพฟันดี

อยู่ที่ ศพด.ก็ยังดี (เพราะมีการติดตามอย่างไกล้ชิด

แต่พอขึ้นประถม  ฟันเริ่มมีปัญหา เพราะคิดว่าเด็กเริ่มดูแลสุขภาพฟันได้

นี้คือข้อสังเกตหนึ่งของภาคใต้ครับหมอ

ทำงานเก่ง เดินทางเก่งจริงๆนะคะพี่วอญ่า

สวัสดีกล้วยไข 19 นี้เดินทางไปทำงานที่เชียงใหม่ ไปรับโล่ รางวัลวิศกรรมความปลอดภัยของ รพ.ปากพะยูน...

เดินทางอีกแล้ว

ลูกตาหมัด ใช้ทำอะไรบ้างคะพี่บังวอญ่า

เรียนอาจารย์ ภูสุภา ลูกตาหมัด  หรือตาหมัดทั้งห้า แก้ไขทับฤดู (ตำหรับหมอหวาน) 

และยังลดความดัน ลดไขมันในเลือด เส้นเลือดหัวใจตีบ และยังช่วยในการขับถ่าย

อันที่จริงตำรายาสมุนไพรตาหมัดทางเภสัชสมุนไพร เขาชื่อ ช้างน้าว บางที่เรียก  ผักหวานช้าง แต่ทางพัทลุงเราเรียกตาหมัด  น่าปลูกไว้ชายครัว เก็บยอดมาแกงเลียงอร่อยมากอาจารย์

ชอบคำนี้จังครับ

 "งานสาธารณสุข พวกเราที่สังกัด งูพันคบเพลิงไม่ว่าแผนกไหน  แม้ทำความสะอาด คนชาวบ้านเขาก็เรียกเราว่าหมอ

เพราะฉะนั้น ถึงเราจะไม่ใช่หมอ แต่ใจเราเป็นหมอ"

ทำให้คิดถึง อดีต....ไม่ว่าไปไหนชาวบ้านเห็นเขาก็เรียก"คุณหมอ" เราก็แอบปลื้มในใจนิดๆ อยู่ครับ


สวัสดีครับ หมอยงค์ มันเป็นเช่นนั้นจริงๆครับท่าน พักหลังผมไปอบรม   มาทำหน้าที่ เอ็กเรย์ ห้าปี ทุกคนเรียกหมอเอ็กเรย์ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท