dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี


การพัฒนาพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี

  การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี เป็นการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนามนุษย์ตั้งแต่ปฐมวัย บุคคลที่มีความเชื่อและเริ่มต้นของการพัฒนาเด็กปฐมวัยแนวนี้คือดร.มาเรีย มอนเตสซอรี(Dr . Maria Montessori) ขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับท่านให้ทราบบ้างเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับตัวท่านคือ ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับปริญญาทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัยของประเทศอิตาลี และมีเกียรติประวัติยอดเยี่ยมในฐานะแพทย์ ทั้งเป็นนักมนุษยวิทยา และนักวิชาการด้านการศึกษาโดยเห็นความสำคัญของความเป็นมนุษย์ ท่านเป็นแพทย์และมีเหตุผลทางการแพทย์เพื่อบำบัดเด็กที่มีกาการบกพร่องทางสมอง ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรีนำมาช่วยพัฒนาเด็กปกติให้มีศักยภาพและพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมเพื่อเด็กปกติโดยทั่วไป หรือในกรณีที่ต้องการพัฒนากลุ่มเด็กอัจฉริยะให้มีศักยภาพได้อย่างสูงสุด

  ในประเทศไทยมีการใช้แนวการเรียนการสอนดังกล่าวในหลายโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะในโรงเรียนที่มีครูที่ได้รับการอบรมและผ่านการอบรมจาก AMI (THE ASSOCIATION MONTESSORI INTERNATIONALE) โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี เป็นโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนหนึ่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยอาจารย์กรรณิกา กระกรกุล ได้ผ่านการอบรมและได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 สำหรับหลักการของความเป็นมนุษย์ที่ดร.มาเรีย มอนเตสซอรีได้เน้นและปฏิบัติในการพัฒนาเด็กนั้นอาจารย์กรรณิกา ได้ใช้อย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน เราจึงได้เห็นพฤติกรรมของเด็กๆที่โรงเรียนนี้มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงอาการสงบนิ่ง มีสมาธิในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ หยิบจับอุปกรณ์การเรียนการสอนของมอนเตสซอรีด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่น เป็นต้น ที่เราเห็นเป็นแต่เพียงอาการภายนอกยังมีสิ่งที่อยู่ภายในอีกมากมายที่สะสมอยู่กับเด็กๆแต่ละคน เพราะการพัฒนาเด็กยึดสิ่งที่สำคัญคือตัวตนของมนุษย์ ซึ่งมีพลังและพลังนี้จะเริ่มตั้งแต่เกิดจนตายทำให้มนุษย์อยู่ได้ทั้งร่างกายและจิตใจ มนุษย์มีความต้องการในเชิงจิตวิทยาเหมือนกันทุกคน  มีลักษณะเป็นสากลตามความต้องการเช่นเดียวกัน ไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มของคนอายุหนึ่งไปสู่อายุหนึ่ง มนุษย์มีความต้องการเพื่อคงความมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการพัฒนามนุษย์จึงเป็นภาระและหน้าที่ของผู้ไหญ่ที่จะต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่เด็กเล็กโดยเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้หรือรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้าและให้เวลาที่เหมาะสมในการทำงานของเด็ก การฝึกเด็กและการพัฒนาให้เด็กมีความเป็นมนุษย์ที่โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง นั้นจากการที่ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบการศึกษาปฐมวัยของเขตพื้นที่การศึกษาคือน.ส.ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ได้ไปเยี่ยมหรือไปนิเทศโรงเรียนครั้งใดก็ตาม ได้สังเกตเห็นบรรยากาศ สภาพแวดล้อม พฤติกรรมการทำงานต่างๆของเด็กที่โรงเรียนนี้มีหลักการจัดประสบการณ์ตามแนวทางและหลักการที่สำคัญของการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรีดังนี้

-   ความเป็นระบบระเบียบ ความเป็นระเบียบนี้ถ้าเด็กจะประสบความสำเร็จในการสร้าง

ความคุ้นเคยต้องรู้ระบบระเบียบ เด็กต้องจัดการกับระบบระเบียบได้จากที่ผู้ใหญ่เป็นคนที่คอยดำเนินการให้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

-   การสำรวจ  เป็นสิ่งที่เป็นความต้องการพื้นฐานจากภายในโดยการรับรู้ด้วยประสาสัมผัสทั้ง

ห้าจากการดม ชิม สัมผัส  สายตา ฟัง

-   การสื่อสาร การสื่อสารที่เด็กต้องการคือความรัก การสื่อสารกับบุคคลต่างๆ เพื่อต้องการการ

ยอมรับ เด็กจะซึมซับคำทุกคำ รวมถึงภาษาท่าทาง การแสดงออกทางหน้าตา ภาษามือ เป็นต้น

-   กิจกรรม การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรีถือว่ากิจกรรมคือสะพานเชื่อมประสาทรับรู้สู่

โลกภายนอก หรือโลกภายนอกสู่ประสาทรับรู้ ในช่วง 0-6 ปี มือเป็นเครื่องมือของการทำงาน วิธีพัฒนากิจกรรมต้องใช้มือในการปฏิบ้ติกิจกรรมต่างๆ ครูต้องช่วยให้เด็กได้ใช้มือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

-   การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  เด็กเล็กๆ ใช้มือในการหยิบวัตถุต่างๆ การหยิบจับวัตถุต่าง ๆโดย

ใช้มือและตาให้ประสานกัน สมองจะสามารถรับสาระให้เกิดการสร้างองค์ความรู้จากการที่ต้องใช้มือ

เป็นต้น

-   การงาน การทำงาน สำหรับการทำงานของเด็กคือความสำเร็จเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เด็ก

เจริญก้าวหน้าเพราะผลงานของตนเอง เด็กเรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรม และผู้ใหญ่จะเคารพโดยไม่เข้าไปขัดขวาง ทำให้เด็กไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน

-   การปฏิบัติซ้ำ การปฏิบัติซ้ำถือว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่ควรมีและปฏิบัติได้มากครั้งตามความ

พึงพอใจของแต่ละคน เด็กมีความต้องการที่จะปฏิบัติซ้ำแล้ซ้ำอีก

-   ความเที่ยง ความตรง ซึ่งเกิดจากการที่เด็กได้ปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการเรียนรู้การทำงาน

สู่ความสำเร็จ ซึ่งเป็นความสำคัญของมนุษย์

-   นามธรรม ถ้ามนุษย์ไม่มีความเข้าใจในนามธรรมจะทำให้สูญเสียความเป็นมนุษย์ เพราะเรา

ไม่สามารถสร้างองค์ประกอบของโลกนี้ได้ สิ่งที่ทำให้เด็กเข้าใจในนามธรรมก่อนคือ รูปธรรม เมื่อเด็กอายุ 5-6  ขวบถึงจะเริ่มเข้าสู่นามธรรม เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะเด็กจึงจะมีจินตนาการในเรื่องเวลา เรื่องราวในอดีต เด็กคนใดสามารถรับรู้ในรูปธรรมได้ชัดเจน เขาก็จะรับรู้นามธรรมได้ชัดเจนด้วย

-   ความพึงพอใจ มนุษย์แต่ละคนมีความต้องการทำอะไรแล้วต้องดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีขอบเขต

จำกัด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจของแต่ละคน ความพึงพอใจเป็นความต้องการภายในโดยไม่มีจุดจบ แนวโน้มความเป็นมนุษย์ช่วยให้คนรู้จักการปรับตัวในสังคม การสอนแนวมอนเตสซอรีสอนและฝึกฝนให้เด็กรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

  หลักการดังกล่าวจะสังเกตเห็นได้จากการที่เราได้เฝ้ามองพฤติกรรมของเด็กๆโรงเรียนอนุบาลวัดเพลงขณะเล่นหรือทำกิจกรรมตามความต้องการซึ่งมีครูคอยดูแล ช่วยเหลือและสนับสนุนตลอดเวลา


หมายเลขบันทึก: 515943เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2013 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2013 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท