ประสบการณ์หนึ่งของครูเกษตร


ครูเกษตร เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆ จะต้องมีจิตวิญาณ ของการเป็นครูที่คอยช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน

 

 

               ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอทำความเข้าใจกับคำว่า  ครูเกษตร ก่อนนะครับ  ครูเกษตรเป็นครูที่สอนหมวดวิชาเกษตรในสถานศึกษาเช่นโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยม อาจจะรวมไปถึงผู้ที่ทำหน้าครูเกษตรทั้งในและนอกระบบ นักส่งเสริมการเกษตรก็เช่นกัน บทบาทของการเป็นนักส่งเสริม  ก็คือเป็นผู้กระตุ้นให้เกษตรกรเกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้การเกษตรแผนใหม่ ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจในชุมชน โดยมีเป้าหมายก็คือให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในที่สุด

 

 

               แต่การพัฒนาการเกษตรโดยเฉพาะด้านการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรของเกษตรกร ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม บางครั้งก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสแห่งยุค ทั้งนี้และทั้งนั้นการที่จะพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรได้ปัจจุบันต้องปรับที่แนวคิด หรือปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรและผู้ที่ทำหน้าครูเกษตรทั้งในและนอกระบบนั่นเอง

 

 

                 สำคัญที่สุดครูเกษตร เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆ จะต้องมีจิตวิญาณ ของการเป็นครูที่คอยช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน หรือหากจะพูดง่ายๆก็คือ จะต้องเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ เสนอแนะ รวมทั้งช่วยให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรแก่เกษตรกรได้นั่นเอง แต่ก็ต้องมีคติหรือข้อคิดอยู่เสมอว่า จะสอนวิธีหาปลาแก่เกษตรกร ดีกว่าการที่จะนำปลาไปให้เกษตรกร นั่นเอง

 

 

                 จากประสบการณ์ทำงานส่งเสริมการเกษตรของผู้เขียน มาตลอดระยะเวลา เข้ามา ๓๒ ปีแล้วครับบางครั้งก็ประสบผลสำเร็จ แต่บางครั้งก็ไม่ประสบผลสำเร็จก็มี ซึ่งมันมีปัจจัยเสริมหนุนที่เกี่ยวข้องหลายประการด้วยกัน แต่ด้วยความเป็นครูเกษตรนอกระบบ เราทำงานกับเกษตรกร เราทำงานกับกลุ่มอาชีพต่างๆ(ด้านการเกษตร)ในชุมชน การที่จะทำให้การทำงานราบรื่นและมีความสุขกับการทำงานได้  โดยจะขอนำเสนอทักษะที่จำเป็นในการทำหน้าที่ครูเกษตรให้เพื่อนๆในGK และผู้ที่สนใจได้รับทราบ อาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยก็ได้นะครับ

 

ทักษะที่ครูเกษตรทั้งในและนอกระบบ  ควรจะมีทักษะดังนี้

๑.  การประสานงานที่ดี  บางครั้งอาจจะรวมไปถึงมนุษย์สัมพันธ์ จะต้องมีความตั้งใจที่จะต้องทำการประสานงานกับบุคคลในองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนเกษตร ทั้งในและนอกโรงเรียน ได้ทำกิจกรรมด้านอาชีพการเกษตรร่วมกัน เพื่อฝึกให้เยาวชนได้มีความรู้ ด้านการเกษตร สามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือผู้ปกครอง หรือฝึกให้เขารักอาชีพเกษตร เมื่อเขาเหล่านั้นเติบโตขึ้นมาเขาอาจจะมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น บางท่านอาจจะกลับไปประกอบอาชีพแทนผู้ปกครองที่เป็นเกษตรกรอยู่ก็ได้นะครับ

                     

                     

                                 การสร้างกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร

๒.  การสืบค้นหาความรู้เชิงวิชาการทางIT ต้องยอมรับ ณ.ปัจจุบัน ผู้ที่ทำหน้าที่ครูเกษตร ต้องมีความสามารถสืบค้นหาความรู้ โดยใช้IT ได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปประกอบพัฒนาสื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ที่จะเสริมหนุนให้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ได้มีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องนั้นๆเป็นอย่างดีบางครั้งอาจจะใช้เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาเฉพาะเรื่องได้

 

๓.  การถอดบทเรียน บางครั้งก็อาจจะรวมถึงการถอดองค์ความรู้ก็ได้ ทั้งในระดับรายบุคคล แลรายกลุ่มการเลือกใช้เครื่องมือในการถอดบทเรียน ได้แก่ Mind Map,Village map,Fishbone Diagram,Venn Diagram,seasonal calendar,Transect,Village resource flow ,Problem Treeเป็นต้น เครื่องมือดังกล่าวนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่ครูเกษตรต้องมีทักษะในการใช้มาก่อนถึงจะทำการพิจารณาเลือกใช้ได้ตามสถานการณ์นั้นๆได้อย่างเหมาะสม

                  

                

                   เวทีที่สิงห์ป่าสักและเขียวมรกต ไปปฏิบัติงานร่วมณ.ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านที่บ้านนาป่าแดง

๔.  การจัดเวทีการเรียนรู้ ครูเกษตรต้องมีประสบการณ์ในการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อทึ่จะสามารถพิจารณาเลือกใช้ได้ตามสถานการณ์และบริบทนั้นๆ บางครั้งเคยออกแบบในห้องหรือที่ทำงาน เมื่อลงไปปฏิบัติจริงในชุมชนจะต้องปรับใหม่ทุกครั้งไปเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นจริงนั่นเองตัวอย่างเช่น บางครั้งต้องฝึกทักษะการปฏิบัติจริงให้แก่เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมยุวเกษตรในโรงเรียนร่วมกับครูผู้สอนวิชาเกษตร รวมทั้งผู้นำชุมชน และที่ปรึกษายุวเกษตรกรประจำชุมชนนั้นๆ

                  

                 

         กิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือนดินและทำน้ำหมักชีวภาพ ณ.โรงเรียนบ้านใหม่เชียงราย อำเภอปางศิลาทอง

        บางครั้งการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ครูเกษตร ต้องให้ความสำคัญกับปราชญ์ชาวบ้านที่ความรู้เรื่องภูมิปัญาท้องถิ่นอยู่ไม่น้อย การเล่าประสบการณ์จากปราชญ์ชาวบ้าน ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่ครูเกษตรควรให้ความสำคัญ

                          

                       

๕.  การประชาสัมพันธ์  ครูเกษตรจะต้องมีความเข้าใจงานประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการเรียนการสอนได้แก่ การใช้สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ(สื่อสิ่งพิมพ์ หอกระจาข่าว สื่อเสียงอีเล็คทรอนิกส์)และสื่อวิดีโอ เป็นต้น

 

๖. การนำการจัดการความรู้(KM) ไปเป็นเครื่องมือในการทำงาน ครูเกษตรต้องมีประสบการณ์ในการนำKM ไปเป็นเครื่องมือในการทำงาน สามารถกำหนดเป้าหมาย(Vision)งานร่วมกัน การสร้างทีมงาน การสร้างกรอบแนวความคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและคิดเชิงระบบ เป็นต้น เพื่อที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ โดยยึดหลักเรียนรู้ไปพัฒนาไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง

 

                     ทักษะทั้ง ๖ ประการที่ได้กล่าวมาแล้วครั้งต้น  จะเป็นพื้นฐานงานของผู้ที่ทำหน้าเป็นครูเกษตรทั้งในและนอกระบบ จำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดในศตวรรษที่๒๑ ต่อไปครับ

                   

                   

                   

                     

                      

                 การนำทักษะของการเป็นครูเกษตรไปปฏิบัติในชุมชนนั้น มันก็มีการพัฒนาเป็นลำดับ แต่ก็สำคํญอยู่ว่าใจมาหรือเปล่า หากจะพูดง่ายๆก็คือใจรักหรือเปล่านั่นเอง ผู้เขียนจะขอนำประสบการณ์ในการทำหน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตรก็คล้ายๆกับครูเกษตร แต่เราทำงานกับเกษตรกร กลุ่มอาชีพทางการเกษตร รวมทั้งต้องลงไปประสานการทำงานกับคณะครูโรงเรียนที่อยู่ในชุมชน(เป้าหมาย) อย่างต่อเนื่องเสมอมาโดยได้นำภาพที่เคยลงไปทำงานในพื้นที่ ชุมชนต่างๆในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มาให้ชมแล้วนะครับ

 

 

เขียวมรกต

๒o ม.ค.๕๖

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 516902เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2013 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สอนได้  แต่เป็นครูนี่...ยากเหมือนกันนะคะ

ทำให้ดู..อยู่ให้เห็น..สร้างการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์..การเกษตรไทยขยายผลอย่างยั่งยืนนะคะ

  • ขอบคุณครับ ทพญ.ริรัมภา
  • ทีกรุณาแวะแลกเปลี่ยนและทักทายกัน
  • เห็นด้วยครับ แต่อยู่ที่การสร้างประสบการณ์และการฝึกฝน เรียนรู้อยู่ตลอดเวลานั่นเองครับ

  • ขอบคุณครับ พี่ใหญ่
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่า ทำให้ดู..อยู่ให้เห็น..สร้างการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์..การเกษตรไทยขยายผลอย่างยั่งยืน
  • มีความหมายและเป็นข้อแนะนำที่มีประโยชน์ ครับ

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์อ้อย
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมา

  • ขอบคุณครับ ครูทิพย์
  • ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจกัน
  • ยินดีครับ

  • ขอบคุณครับ tuknarak
  • ที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท