การจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน (ตอนที่1 )


เกริ่นนำ

  การจัดการความรู้คำๆนี้เป็นปัญหาความเข้าใจของผู้คนในสังคมปัจจุบันพอสมควร ว่าแท้จริงมันเป็นอย่างไรกันแน่ ผมเองในฐานะนักวิชาการที่รับผิดชอบเรื่องนี้คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้ละครับที่จะเร่งรัดหาคำตอบที่จะคลายกังวลของผู้ทำงาน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน รวมทั้งลูกค้าของกรมฯรวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย มิฉะนั้นหลายๆกิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่คงได้ผลผลิตที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินงานนะครับ และที่สำคัญมีหลายกิจกรรมที่กำหนดให้มีการจัดการความรู้แล้วรายงานให้กรมฯทราบตามกำหนด

-ความรู้คืออะไร อะไร คือ ความรู้?

  คำถามนี้น่าสนใจนะครับ เพราะหากเราไม่สามารถตอบตัวเองและคนอื่นๆได้ว่าความรู้คืออะไร? ท่านจะจัดการได้อย่างไร เพราะสิ่งนั้นท่านอธิบายหรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าท่านจะจัดการอะไรกันแน่ ในประเด็นนี้ก่อนที่ท่านจะลงมือจัดการความรู้ คงต้องหาความหมายที่ชัดเจนเสียก่อนละครับ ว่าความรู้ในนิยามความหมายของท่านและคนทั่วทั้งองค์กรเข้าใจความหมายของคำว่า ความรู้ คืออะไรกันแน่ เข้าใจตรงกันหรือไม่

-การจัดการคืออะไร อะไรคือการจัดการ?

  เมื่อเราทราบความหมายของความรู้แล้วว่าในงานพัฒนาชุมชนหากพูดถึงความรู้คืออะไร คงต้องชวนท่านมาหานิยาม/ความหมายคำว่า การจัดการเป็นลำดับต่อไป

-การจัดการความรู้คืออะไร อะไร คือการจัดการความรู้?

-มีประโยชน์อย่างไร ทำไมต้องจัดการ?

 -มีคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายใกล้เคียงการจัดการความรู้หรือไม่ต่างกันอย่างไร?

-จัดการความรู้ต้องทำอย่างไรและมีเครื่องมืออะไรบ้าง?

การจัดการความรู้มักใช้กระบวนการจัดเวทีประชาคม เพื่อจัดการความรู้

๑. องค์ประกอบของการจัดเวทีประชาคมเพื่อจัดการความรู้เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี นั้นต้องประกอบด้วย

๑)  ประเด็นที่เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นปัญหาร่วม ซึ่งประเด็นดังกล่าวต้องชัดเจน ครอบคลุม ง่ายต่อความเข้าใจ โดยไม่ต้องอธิบายความมาก เป็นเรื่องที่มีการรับรู้ร่วมกันมาก่อนแล้วสำหรับผู้เข้าร่วมในกระบวนการประชาสังคมทุกคน

๒)  มีวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีประชาคมเพื่อจัดการความรู้ที่ชัดเจน ว่าจัดเพื่ออะไร จัดไปทำไม 

และจะเอาผลที่ได้ไปทำอะไร ควรมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชาคมอย่างตรงไปตรงมา

๓)  มีกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการที่ โดยทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม

๔)  ผู้เข้าร่วมการจัดเวทีประชาคมเพื่อจัดการความรู้ มีการแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกได้

อย่างกว้างขวาง อิสระ  ไม่ถูกครอบงำ และเป็นไปอย่างเท่าเทียม ผู้เข้าร่วมต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง สามารถแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนที่แท้จริงของชุมชนที่เข้าใจปัญหาหรือประเด็นที่พูดคุย และผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนของผู้มีหน้าที่ให้การเอื้ออำนวย หรือร่วมจัดการปัญหาในชุมชน เช่น ตัวแทนชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อสม. พระ ครู ฯลฯ กับ กลุ่มที่สองที่เป็นผู้มีหน้าที่ให้บริการ (หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ) เช่น พัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เกษตรอำเภอ เป็นต้น

๕)  มีผู้อำนวยการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือวิทยากรกระบวนการ

(Facilitator/Moderator) ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดเวทีประชาคมเพื่อจัดการความรู้ ที่มีทักษะและประสบการณ์  และเป็นกลาง ไม่ครอบงำ ไม่ชี้นำ หรือมีคำตอบอยู่ในใจล่วงหน้า (Pre-conditioned decision)  ทักษะที่จำเป็นคือ ทักษะในการตั้งและถามคำถาม รู้จักเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคนแต่ละกลุ่ม ทักษะในการฟัง ทักษะในการวิเคราะห์และสรุปประเด็นหรือข้อคิดเห็นจากกลุ่ม  และทักษะในการจัดการกลุ่ม เช่น จัดการกับผู้เข้าร่วมที่ชอบพูดมากเกินไปหรือไม่ชอบพูดเลย โดยใช้คำพูดและท่าทีที่นุ่มนวลหรืออาจใช้อารมณ์ขันเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดการถกอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน (Deliberate) อย่างกว้างขวาง ตรงประเด็น และมีข้อสรุปที่นำไปปฏิบัติหรือทำให้เกิดความก้าวหน้าในขั้นตอนต่อไปได้

๖)  มีบรรยากาศที่ดี ซึ่งรวมถึง มีคำถามที่ดี ที่เปิดโอกาสให้คนได้เกิดการแสดงความเห็นอย่าง

ตรงไปตรงมา  มีบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกันและสมานฉันท์  มีสถานที่ที่ดีและเอื้ออำนวยต่อการพูดคุย เช่น มีห้องที่ทำให้ผู้เข้าร่วมเวทีมีสมาธิ มีเครื่องขยายเสียงที่ช่วยให้ได้ยินการสนทนาต่างๆ อย่างทั่วถึง มีการจัดที่นั่งที่เหมาะสม มีผู้อำนวยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี  เป็นต้น

๗)  มีระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เร็วหรือรวบรัดเกินไปจนทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกอึดอัด และไม่ช้าหรือนานเกินไปจนทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อ

๘)  ต้องมีข้อสรุปเกิดขึ้นทุกครั้งที่ทำเวทีประชาคมเพื่อจัดการความรู้ ว่า คนในกลุ่มคิดอย่างไร

กับประเด็นนั้นๆ จะมีแนวทางในอนาคตร่วมกันอย่างไร เพื่อแก้ไขหรือผลักดันประเด็นดังกล่าว มีข้อเสนอแนะไหนบ้างที่น่าสนใจและน่าจะนำไปขยายต่อ เมื่อสรุปแล้วต้องแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อแก้ไข เพิ่มเติม และให้ที่ประชุมมีมติยอมรับผลที่เกิดจากการประชาสังคมนั้นๆ

๙)  มีสื่อและอุปกรณ์การสื่อสารที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจประเด็น เนื้อหา ตรงกัน เช่น ใน

ขั้นตอนการอธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดเวที อาจจำเป็นต้องใช้สื่อภาพและเสียง ( Audio/visual) เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เช่น การฉาย power point หรือการแจกเอกสารชี้แจงประเด็นหลัก ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมเวที รวมไปถึงกระดาน กระดาษ การ์ด ปากกา เทปกาวหรือหมุด ฯลฯ

๑๐) มีการประสานงานล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ที่จะมาร่วมเวทีมีเวลาเตรียมข้อมูล เตรียมความคิดที่จะมานำเสนอได้เป็นอย่างดี หากเนื้อหามีความซับซ้อนอาจจำเป็นต้องส่งข้อมูลให้ศึกษาล่วงหน้า เป็นต้น


คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 517212เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2013 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะ อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท