เก็บตก สไตล์ "ถอดบทเรียน" ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก @ อัมพวา


ทีม "ถอดบทเรียน"

ได้ข่าว "อ.เอก (จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร)" นำทีม ถอดบทเรียนให้กับสำนักทันตสาธารณสุข และเครือข่ายที่ร่วมทำกิจกรรม การขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในกองทุนทันตกรรม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ... เลยตามไปเรียนรู้สไตล์การทำงานของอาจารย์ ...

เราได้พบเจอ คนเนี่ยะ แผ่นดิน - GotoKnow ที่จริงได้เจอกันมานานละ ใน GotoKnow แต่คราวนี้ F2F ... อาจารย์เอกแนะนำ นี่ครับ อ.พนัส ปรีวาสนา เราก็ทำความรู้จัก ทักทายแบบเป็นปกติ ... แต่อาจารย์เอกแถมกระซิบว่า แผ่นดิน ไงครับ ... ถึงกับบางอ้อ จำได้สนิทใจขึ้นมาทันที (นี่ละ ผลพวงของ GotoKnow) และก็ใช้นิคเนมชื่ออาจารย์ เป็นอาจารย์แผ่นดิน ตลอด (ทั้งที่ ชื่อนี้ คงจะเป็นชื่อลูกชาย กระมัง) ... ในห้วงความจำของเรา อาจารย์เต็มเปี่ยมด้วยสุนทรีย์ของธรรมชาติ ครรลองของชีวิต และติดสาวผมมวย

อาจารย์เอก นำทีมมาอีก 3 ท่าน ... (เชิญ อาจารย์เอกมาครั้งใด เราก็จะได้พบเจอน้องใหม่อยู่เรื่อยๆ น่ะแหล่ะ ทุกท่านพกความสามารถมาอย่างหลากหลาย มากมาย)

น้องอาวุโสสอง น่าจะเป็น อาจารย์เปเล่ (กิตติพงษ์) อาจารย์เป็นเครือข่ายชุมชน เด็ก เยาวชน ที่ใช้สื่อในเรื่องการพัฒนาเด็ก อาจารย์เปเล่ และน้องนุก จะชวนกันนำนันทนาการให้กลุ่ม เพื่อสร้างความคุ้นเคย และบรรยากาศของการเสริมพลัง

ถัดมาก็คือ น้องนุก (จันทรัตน์) จากนครราชสีมา น้องนุกเป็นสถาปนิก ... ที่ อ.เอก ชมเสมอๆ ว่า น้องนุกจะสามารถออกแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดีมากๆ ในวิทยากรทั้งหมด น้องนุกจะเป็นอาจารย์ที่รุกเข้าหาผู้เข้าประชุม ได้มากกว่าใคร เพราะจะเปลี่ยนโต๊ะนั่งคุย เรียนรู้เรื่องราวของผู้เข้าประชุมไปเรื่อยๆ

น้องสุดท้าย ก็คงจะเป็น อาจารย์ตั้น (กรวิทย์) นี่ก็ไม่เบา เพราะว่าเธอเป็นนักพัฒนา software computer เพราะฉะนั้น เรื่องความเป็นระบบ เธอจะไม่แพ้ใคร



"เชื่อมมัด รัดร้อย ก้อยเกี่ยว
สำเนียง เสียงเสี่ยว เล่าขาน
"ลูกรักฟันดี" มีตำนาน
ประสบการณ์ ฝากไว้ ให้เป็นทุน"

กระบวนการถอดบทเรียน

"ถอดบทเรียน" ครั้งนี้ อ.เอก ออกแบบเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้ Theme "กระบวนการสื่อสารสุขภาพ" ผ่านประเด็น "ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก"

อ.แผ่นดิน เปิดใจคนทำงาน ผู้เข้าประชุม ด้วยการถ่ายทอดเป้าหมายคนทำงาน การเปิดใจรับฟังความคิดเห็น และความสุข ที่ได้จากการถอดบทเรียนชีวิต ถอดบทเรียนความสุขจากการทำงาน เปิด เปลือยความสุขที่ได้ทำงานให้กับใครสักคน คน หมู่บ้าน หรือองค์กร

อ.เอก นำเข้าสู่การเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้พื้นที่ คน ที่มีการทำกิจกรรม "ขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในกองทุนทันตกรรม" ผ่านการฟัง การรับรู้เรื่องราว บริบทของคนทำงาน ในกรอบประเด็นต่างๆ ก็คือ

  • สถานการณ์สุขภาพช่องปาก
  • แนวคิด นโยบายการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ของจังหวัด อำเภอ
  • กระบวนการพัฒนา (วิธีคิด วิธีทำ ผลลัพธ์) Timeline การขับเคลื่อน
  • รุปแบบการจัดการความรู้ (KM Model)
  • บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อน
  • ข้อเสนอแนะ ความเห็นต่อการขับเคลื่อน

มี 3 กลุ่ม ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในประเด็นเหล่านี้ ก็คือ

  • กลุ่ม ส่วนนโยบาย / คณะทำงานโครงการ มี คนทำงานจาก สปสช. สำนักทันตสาธารณสุข สสจ.
  • ส่วนผู้ปฏิบัติงาน 2 กลุ่ม มี คนทำงานในบริบทของพื้นที่ รวม 4 ภาค
สื่อสารวงกว้าง
"ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก" เป็นประเด็นที่โครงการต้องการสื่อสารให้ประชาชนคนไทยได้รับรู้ และเข้าใจว่า การส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเราจะดีได้ ต้องเริ่มดูแลกันตั้งแต่มีฟันขึ้นซี่แรก เป็นแนวคิดที่นำมาเผยแพร่ภายใต้การสื่อสารในวงกว้าง ทางทีวี วิทยุ เคเบิลทีวี การกระจายเสียงต่างๆ เพื่อให้ได้รับรู้ไปพร้อมๆ กันอย่างทั่วถึง
ขณะเดียวกัน โครงการพุ่งเป้าหมายรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อแม่ ได้ดูแลฟันลูก จึงส่งมอบสื่อเข้าไปให้ใกล้ชุมชนมากที่สุด นั่นก็คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ได้รับสื่อเป็นกระเป๋าให้ความรู้ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วย รวมทั้งมีการให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็ก ด้วยการตรวจฟัน การทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อการป้องกันฟันผุ รวมทั้งการให้ความรู้เพื่อให้มีการสร้างสุขนิสัยที่ดี
ทันตสาธารณสุขเชิงรุก
มีหลากหลายของการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย "ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก" อาทิเช่น
  • ทันตบุคลากรลงชุมชนกันมากขึ้น เพื่อไปเชื่อมการทำงานกับชุมชน แบบถึงที่
  • มีการปรับกลยุทธ์ในการทำงาน บูรณาการทำกิจกรรมร่วมกับงานอื่นๆ
  • มีการรวมทีม ร่วมคิด ร่วมทำกับชุมชน
  • มีการนำสื่อที่ได้รับ มาปรับใช้กับบริบทชุมชน เช่น การแปลภาษาท้องถิ่น
  • เกิดนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการทำงานที่คล่องตัวมากมาย
  • ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อดูแลลูกหลานให้มีฟันดี
  • ประกวดสื่อ ภาพถ่ายพ่อแม่ฟันดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ทั้งการสร้างภาพกิจกรรมทำให้เกิดสุขภาพช่องปากดี และเพิ่มทักษะของพ่อแม่ในการดูแลสุขภาพช่องปากลูก
  • เกิดนโยบายสาธารณะ ปลอดน้ำอัดลม ปลอดขนมหวาน ปลอดโรค
  • มีการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงทุกระดับ เกิด node การทำงาน เพื่อทำให้เกิดการประสานงานอย่างราบรื่น
  • เกิดการบริหารงานบนฐานข้อมูลที่เป็นจริง
  • เกิดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น หมอลำ กันตรึม เซิ้ง
  • มีโมเดลต้นแบบของการทำงานที่ประสบความสำเร็จ
  • มีการทำงานเชิงคู่หู ระหว่างโรงเรียน และการหมุนเวียนศึกษาดูงานซึ่งกันและกัน
  • มีการดึงประชาคม ชุมชน เข้าร่วมการทำงาน
  • เกิดการสร้างความมีส่วนร่วม ชุมชนดูแลชุมชน
  • เกิดแนวคิด "ทำดีให้ลูกดู"
งานดีดี ภายใต้การทำงานดีดี คนดีดี ... มีให้เห็นอยู่ทั่วไป

คำสำคัญ (Tags): #ลูกรักฟันดี
หมายเลขบันทึก: 517415เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2013 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ่านแล้วรู้สึกชื่นใจนะคะ เรามีคนดีๆเรื่องดีๆให้ได้รับรู้อีกเยอะแยะจริงๆ ขอบคุณพี่หมอนนท์ที่เก็บเรื่องราวมาฝากนะคะ 

  • Ico48
  • ค่ะ อ.โอ๋ ประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ได้รู้ว่า น้องๆ ทำงานกันอย่างเข้มแข็ง จริงจัง
  • เรายิ่งค้น เราก็ยิ่งพบเจอค่ะ
  • อ.โอ๋ สบายดีนะคะ

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ ไม่งั้นตอนนี้เหมือนอยู่บ้านน๊อก บ้านนอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท