เยี่ยมผู้สูงอายุ เมืองนาคานคร ... หนองคาย (1) งานทันตสาธารณสุขที่นี่ ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ



เมืองหนองคาย แม้กระทั่งแผนที่ของเมือง ก็คล้ายพญานาค หรือมังกร โดยมีส่วนหัวอยู่บึงกาฬ และหางอยู่ทางหนองคาย เมื่อแยกบึงกาฬไปเป็นจังหวัดใหม่แล้ว หนองคายก็จะมี 9 อำเภอ แบ่งออกเป็นโซนเขียว ฟ้า และแดง หรืออาจเรียกได้เป็น โซนเหนือ กลาง และใต้ โดยเอาแม่น้ำโขงเป็นสัญลักษณ์ วันนี้ คุณหมอหล้ามาเล่าให้ฟังค่ะ

คำขวัญ ของเมืองหนองคาย คือ "วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทยลาว"

ประชากรมี 500,000 นิดๆ ปิรามิดประชากร เปรียบเทียบย้อนหลัง 20 ปี จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เด็กลดลง วัยทำงานก็เพิ่มขึ้น ถ้าดูร้อยละของผู้สูงอายุของประเทศร้อยละ 12 ของหนองคาย จะมีผู้สูงอายุร้อยละ 17 

สถานบริการสาธารณสุข มีโรงพยาบาล 6 แห่ง กำลังสร้างอีก 3 แห่ง มี 74 รพ.สต. 43 เครือข่าย

กองทุนทันตกรรม มีการดำเนินการเป็นปีที่ 2 มีการบริหารจัดการระดับจังหวัด มีคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากของจังหวัด เป็นผู้จัดสรรงบประมาณ ตามรายหัวประชากร โอนเงินผ่านไปที่หน่วยบริการ คือ รพ. 6 แห่ง และเอกชน 1 แห่ง เพื่อดูแลประชากร UC

มีตัวชี้วัดทั้งระดับ จว. และอำเภอ เพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม ประเมินผล ตัวขี้วัดที่สำคัญ ได้แก่

  1. นักเรียน ป.1 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับบริการทันตกรรมแบบผสมผสานแบบ comprehensive care ครอบคลุมการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาทางทันตกรรม
  2. ผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียม

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของหนองคาย ทำขึ้นในปี 2554 เป็นปีแรกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากเดิมที่มีการทำแผนยุทธศาสตร์เมื่อปี 2546-2547 ต่อมายึดยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นหลัก เมื่อมีโครงการมากขึ้น จึงได้โอกาสทำแผนยุทธศาสตร์อีกครั้งในปี 2554 ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ ตามกลุ่มเป้าหมายหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ เด็กเล็ก เด็กประถม ผู้สูงอายุ และผู้พิการ/โรคเรื้อรัง แผนนี้จะใช้ต่อไปจนถึงปี 2557 หรือ 2559

โดยเริ่มทำแผนจาก การวิเคราะห์ตนเอง องค์กร กำหนดจุดยืนว่า ทำงานทันตฯ ของจังหวัดเพื่ออะไร จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และวิเคราะห์ พบว่า มี 6 ปัญหา ที่เป็นเรื่องของโรค และพฤติกรรม ได้แก่

  1. การแปรงฟันของเด็กก่อนนอน
  2. ฟันแท้ผุในเด็ก 12 ปี
  3. ฟันน้ำนมผุในเด็ก 3 ปี
  4. ฟันน้ำนมผุในเด็ก 18 เดือน
  5. การแปรงฟันก่อนนอนของผู้สูงอายุ
  6. การบริโภคน้ำหวาน และน้ำอัดลมของเด็กวัยเรียน

วิสัยทัศน์ “เป็นหน่วยงานที่มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ระบบบริการสุขภาพ ช่องปากที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อคนไทยมีสุขภาพช่องปากดี ภายในปี 2557”

พันธกิจ
  1. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามเกณฑ์กองทุนทันตกรรม
  2. พัฒนาระบบบริการ
  3. สร้างเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก ของประชาชนหนองคาย
พันธกิจ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามเกณฑ์กองทุนทันตกรรม มี 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
  1. การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการบริหารกองทุนทันตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
    เป้่าประสงค์ ... 
    ระบบบริหารจัดการกองทุนทันตกรรมมีประสิทธิภาพ
  2. การพัฒนาระบบข้อมูลทันตสารสนเทศ และการจัดการความรู้
    เป้าประสงค์ ... มีระบบข้อมูลทันตสารสนเทศที่ครบถ้วน ถูกต้องและทันสมัย  และ

    มีการพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อสนับสนุนการการพัฒนาสุขภาพช่องปาก

พันธกิจ 2 พัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ตามมาตรฐาน HA / Thai Dental Safety Goal มี 1 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ พัฒนาโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอก มีมาตรฐาน Thai Dental Safety Goal 2010 ตามทันตแพทยสภา

พันธกิจ 3 สร้างเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนชาวหนองคาย มี 1 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การส่งเสริม การเฝ้าระวัง การป้องกันโรค และปัญหาสุขภาพช่องปาก โดย ประชาชนได้รับการส่งเสริมและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง

รวมเป็น 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ทางด้านทันตสาธารณสุข ของจังหวัดหนองคาย กระจายเป็นผลลัพธ์ 9 ตัว และผลผลิต ที่ต้องทำให้เกิดขึ้น

เรื่องผู้สูงอายุ อยู่ในยุทธศาสตร์ "การส่งเสริม การเฝ้าระวัง การป้องกันโรคและปัญหาสุขภาพช่องปาก" กำหนดให้ร้อยละของผู้สูงอายุมีการแปรงฟันหลังอาหารร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียมพระราชทาน และชมรมผู้สูงอายุสร้างเสริมสุขภาพช่องปากอำเภอละ 2 ชมรม

ตัวชี้วัด ใช้ในการควบคุมกำกับ ประเมินติดตามผลงานระดับอำเภอ มี 12 ตัว ได้แก่

  1. กรรมการ คป.สอ. หรือ CUP ทุกแห่ง มีการประชุมเรื่องกองทุนทันตกรรมปีละ 3 ครั้ง
  2. มีคณะทำงานและแผนพัฒนาสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์กองทุนทันตกรรม
  3. อำเภอมีการรายงานข้อมูลทันตสาธารณสุขที่ครบถ้วน ถูกต้องและทันสมัย
  4. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก
  5. เด็ก 9 เดือน-2 ปี ได้รับบริการตรวจช่องปากและส่งเสริมทักษะการดูแลความสะอาดช่องปาก
  6. เด็ก 3-5 ปี ในศูนย์เด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ปีละ 2 ครั้ง
  7. เด็กชั้น ป.1 ได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน โดยทันตบุคลากรหรือครูปีละ 2 ครั้ง
  8. เด็กชั้น ป.1  ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้เพื่อป้องกันฟันผุ
  9. เด็ก ป.1 ที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมผสมผสาน (comprehensive care)
  10. ผู้สูงอายุของกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมทันตสุขภาพและใส่ฟันเทียมพระราชทาน
  11. ร้อยละของอำเภอที่ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (อำเภอละ 2 ชมรม)
  12. ร้อยละของโรงเรียนประถมศึกษาจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกชั้นเรียน

แผนปฏิบัติงานทันตสาธารณสุข ปี 2555 ได้แก่

1. โครงการสนับสนุนการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมายหลัก ภายใต้กองทุนทันตกรรม ปี 2555

    • พัฒนาการมีและใช้แผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากระดับพื้นที่
    • สนับสนุนการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน รพ.สต.ให้ได้คุณภาพ
    • สนับสนุนงบกองทุนทันตกรรม ให้ สสอ.พัฒนางานบริการสุขภาพช่องปากใน รพ.สต.
    • จ้างเหมาบริษัทในการดูแลซ่อมแซมยูนิตทำฟัน ใน รพ.สต./รพ. 48 ชุด/2 ครั้ง/ปี
    • การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลงานการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามเกณฑ์กองทุนฯ

2. โครงการพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลทันตฯหน่วยบริการ ภายใต้กองทุนทันตกรรม ปี 2555

    • พัฒนาระบบข้อมูลทันตสาธารณสุข
    • สำรวจสภาวะทันตสุขภาพและพฤติกรมสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลัก

3. โครงการพัฒนางานประจำตามมาตรฐานTDSGและงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเชิงรุก ด้วย R2R

    • พัฒนามาตรฐานงานส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกและมาตรฐานTDSG/รพ.สต.
    • จัดระบบพี่เลี้ยงฝึกงาน/สอนงาน/ให้คำปรึกษาการพัฒนา TDSG/งานเชิงรุก
    • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด

4. โครงการพัฒนาส่งเสริม เฝ้าระวังสุขภาพช่องปากโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

    • พัฒนากระบวนงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคสำหรับทีมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก
    • เสริมสร้างศักยภาพภาคีเครือข่ายด้านการจัดการสุขภาพช่องปากให้กับกลุ่มเป้าหมายหลัก
    • รณรงค์สร้างกระแสการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กปฐมวัย/วัยเรียน/ผู้สูงวัย
    • หน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

5. โครงการ R2R ตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

    • พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง+ทีมวิจัยหน้าใหม่  /จัดเวที ลป.รร. งาน R2R

กิจกรรม การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จังหวัดหนองคาย รับนโยบายมาดำเนินการ โดยนำร่อง ทำกิจกรรมป้องกันโรคในช่องปากสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุตามชุดสิทธิประโยชน์ เน้นกิจกรรมพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ งานป้องกันโรคในช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุมีส่วนร่วม ผู้สูงอายุจะได้รับการตรวจ และป้องกันโรค มีกิจกรรมฟื้นฟู ส่งต่อเป็นระบบ เมื่อตรวจคัดกรองพบผู้สูงอายุที่มีปัญหาต้องมีฟันทดแทน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ในเรื่องการบดเคี้ยว จะมีระบบ refer ไปรับการใส่ฟันเทียมต่อ ที่โรงพยาบาล


นั่นก็คือ มี 3 กิจกรรมหลัก 3 ได้แก่

  1. อำเภอ ... ทำกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีเวทีพัฒนาศักยภาพชมรมฯ
  2. ดำเนินการ ตรวจ คัดกรองสุขภาพทั่วไป สุขภาพช่องปาก ตาม F1 F2 F3 
  3. ส่งต่อ เพื่อรับการใส่ฟันเทียม

เจ้าหน้าที่ทุกคนใน รพ.สต. เป็น นสค. (นักสร้างเสริมสุขภาพประจำครอบครัว) รับผิดชอบ 1 นสค. รับผิดชอบ ประชากร 1,250 คน มีหน้าที่คัดกรอง แยกกลุ่มประชาชนเป็น กลุ่มดี เสี่ยง ป่วย และดูแล กลุ่มดี เสี่ยง ป่วย มี CANDO STW คือ ดูแลตั้งแต่ Child ANC NCD D (ผู้พิการ) Old และตามกลุ่ม Student Teenage Worker ... ครบทุกกลุ่มอายุ หนองคายทำหมด รวมทั้ง STI (กลุ่มโรคติดเชื้อ) ด้วย

แนวทางเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ คือ

  1. จัดเวทีชุมชนร่วมกับชมรมผู้สูงอายุเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายส่งเสริมสุขภาพระดับพื้นที่
  2. พัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ
  3. ดำเนินการพัฒนาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุตามแนวทางที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

    • ตรวจคัดกรองสุขภาพทั่วไป  สุขภาพช่องปาก  
    • สรุปข้อมูลแล้วสะท้อนกลับสู่ชุมชน
    • จัดกิจกรรมและสนับสนุนบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามความเหมาะสม

แนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันโรคในช่องปากในผู้สูงอายุ คือ

  1. ตรวจสภาวะช่องปากเพื่อให้คำแนะนำหรือรับบริการป้องกันโรคในช่องปากตามที่กำหนดในชุดสิทธิประโยชน์
  2. จัดกิจกรรมป้องกัน

       2.1 การให้คำแนะนำและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก

    • ให้คำแนะนำในการดูแลฟันแท้และ/หรือฟันเทียม
    • การใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อการทำความสะอาดตามที่จำเป็น

       2.2 การใช้ฟลูออไรด์

    • การใช้ฟลูออไรด์วานิชหรือเจลทุก 4 เดือนเพื่อป้องกันรากฟันผุในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดรากฟันผุสูง

       2.3 การขูดหินน้ำลายและขัดทำความสะอาดฟัน

    • กำจัดคราบจุลินทรีย์เพื่อป้องกันเหงือกอักเสบ หรือดูแลและคงสภาพสภาวะช่องปาก (maintainance phase) ในรายที่เคยเป็นโรคปริทันต์



พื้นที่นำร่องตอนแรก (รวมบึงกาฬ) มี 4 รพ. 5 รพ.สต. ตอนนี้มีการขยาย ทชมรมผู้สูงอายุ 1 อำเภอ 2 ชมรม ให้เป็นจุดเริ่มต้น และค่อยๆ พัฒนาต่อไป โดย สสจ. จัดเวทีให้ เพื่อการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับคนที่ทำกิจกรรมชมรมฯ ได้ดี มาถ่ายทอด และต่อยอดทำกิจกรรมกันต่อไป ที่สำรวจล่าสุด ได้ 48 ชมรม (สค.54)

จากการที่ สสจ. ให้ทำ Flow chart การทำงานของทุกกลุ่มงาน เราจึงได้ทำ Flow chart การทำงานในกลุ่ม ANC WBC ศูนย์เด็ก และผู้สูงอายุ โดย นสค.

ผลงานล่าสุด

  • ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมทันตสุขภาพและใส่ฟันเทียมพระราชทาน 251 ราย
  • ร้อยละของอำเภอที่ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (อำเภอละ 2 ชมรม) สุงสุดอยู่ที่ ท่าบ่อ 20 ชมรม
  • ปี 2554 มีผู้สูงวัยฟันดี ระดับจังหวัด ได้แก่ นางนวลคำ พุทธสังค์ อายุ 84 ปี หมู่ 10 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตากจ.หนองคาย มีฟัน 25 ซี่
  • ปี 2555 มีการประกวดผู้สูงวัยสุขภาพดี บูรณาการกับฝ่ายส่งเสริมฯ ได้ผู้สูงอายุ 97 ฟัน 29 ซี่ นายโฮม แก้วคำ เป็นผู้นำการออกกำลังกาย (รำไม้พลอง) บ้านนาฮำใหม่ ต.เฝ้าไร่ อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย ไม่มีโรคประจำตัว
    - นายคินทนา ศรีแสน อายุ ๘๑ ปี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย มีฟัน 29 ซี่ ไม่มีโรคประจำตัว
  • ปี 2556 เป็นผู้สูงอายุสำรอง เข้าประกวดระดับประเิทศ นางบุญเพ็ง บุตรศรี อายุ ๘๒ ปี ต.หนองหลวง อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย มีฟัน 26 ซี่ และคุณลุงวีระ อายุ ๘๒ ปี ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย มีฟัน 25 ซี่

ยลโฉม 80 / 90 ปีฟันดี ของจังหวัดหนองคาย


หมายเลขบันทึก: 519566เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แม่หมอครับ มาเชียร์ครับ สงสัยช่วงนี้งานยุ่งแม่หมอหายไปครับ...


พ่อลูกชายของเรานี่เอง ทำให้หิวสเต๊กขึ้นมาเชียว อย่าลืมนะ ได้เวลาเหมาะแล้วจะชะแว๊บไปหานะค๊า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท