เหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่องสัปดาห์ที่แล้ว


บทเรียนจากความจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104     

เหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่องสัปดาห์ที่แล้ว

 

ผมได้ทำงาน  2  เรื่องใหญ่ในสัปดาห์ที่แล้ว จึงอยากแบ่งปันความรู้ให้ท่านผู้อ่าน เพื่อนำไปพิจารณาต่อยอดเป็นบทเรียน

เรื่องแรก คือ ได้รับเกียรติไปเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อ “การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อนำไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ในงานประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย สร้างสรรค์ทางการจัดการ ระดับ ปริญญาตรี ของชาติประจำปี 2556 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ประทับใจที่นักศึกษาจากหลาย ๆ มหาวิทยาลัยมารวมตัวกันเสนองานวิจัยระดับปริญญาตรี และมหาวิทยาลัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากหลาย มหาวิทยาลัยมาวิจารณ์ทำให้ผมประทับใจมากมหาวิทยาลัย (มอ.) มีวิทยาเขตหลายแห่ง เช่นที่ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ปัตตานี และตรัง ขยายความรู้กว้างขวางมากขึ้น

ที่วิทยาเขตตรังมีคณะบริหารธุรกิจและคณะสถาปัตย์ฯ ซึ่งเป็นคณะที่มีประโยชน์ต่ออาชีพและการจ้างงานที่สำคัญที่สุด คือ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ที่น่าสนใจคือ ผมมีลูกศิษย์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คือ คุณเชษฐา หรนจันทร์ ที่เป็นตำรวจที่จังหวัดสตูล ถือโอกาสไปเยี่ยมและหาความรู้ที่จังหวัดสตูล 1 วัน

สตูลมีชาวมุสลิมกว่า 90% สามารถใช้ชีวิตอย่างสันติ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเลยทำให้ผมมีความมั่นใจว่า ปัญหาขัดแย้ง 3 จังหวัดภาคใต้จะสามารถแก้ไขได้ ถ้าใช้บทเรียนของจังหวัดสตูลซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ชายแดนติดกับมาเลย์เซียถ้าใครยังไม่เคยไป ผมขอแนะนำให้ไปเที่ยวและไปเกาะตะรุเตากับเกาะหลีเป๊ะด้วย ซึ่งผมยังไม่มีเวลาไปคราวนี้ เพียงแต่ได้แวะที่ท่าเรือ พบนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากจากต่างประเทศให้ความสนใจ

สรุป

1)  ได้เห็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีการทำงานในระดับวิทยาเขต ซึ่งทำได้ดี ผมในฐานะกรรมการสภาฯ รู้สึกภูมิใจ

2)  มีความหวังเรื่องสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น โดยใช้สตูลเป็นตัวอย่างให้ความสำคัญการบริหารความหลากหลาย ( Diversity) ระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ความหลากหลายไม่ใช่อุปสรรค ต้องสร้างประโยชน์จากความสามัคคีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะต้องเป็นองค์กรหลักในการดับไฟใต้ให้ได้

อีกเรื่องที่สำคัญ คือ ได้รับเชิญไปร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง ยุทธวิธีและทางออกที่เป็นไปได้ของ SME ไทย  .. เพื่อรองรับ ASEAN 2015 ที่ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งประธานฯ สนั่น อังอุบลกุล เป็นนักธุรกิจที่มีบทบาทสูง ทั้งในระดับประเทศ และระดับองค์กร บริษัท ศรีไทยฯ ปรับตัวเรื่องนวัตกรรมของสินค้าอย่างต่อเนื่อง สามารถอยู่รอดได้อย่างดีในอาเซียน มีการขยายโรงงานไปในอาเซียนหลายโรง คงจะช่วยกระตุ้นให้ SMEs ในประเทศไทยมีบทบาทเตรียมตัวรองรับการเปิดอาเซียนเสรีได้

แนวคิดของผมมีหลายข้อ สรุปสั้น ๆ ได้ดังต่อไปนี้

(1)  SMEs มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ต้องทำจุดอ่อนมาใช้และเน้นจุดแข็ง

จุดอ่อนของ SMEs คือ

-  มาตรฐานต่ำ

-  คุณภาพยังไม่ดีพอ

-  ทรัพยากรมนุษย์ที่คุณภาพยังไม่เข้าสู่ SME

-  แหล่งเงินทุนไม่พอ

จุดแข็งของ SMEsคือ

-  คล่องตัว (Flexible)

-  เล็กและว่องไว (Agility)

-  ระบบ Silo ยังไม่มี

-  โครงสร้างไม่แข็งตัว ปรับตัวได้ง่าย

-  สายการบังคับบัญชาขึ้นไม่ยาว

แม้กระทั่ง Jack Welch ยังพูดว่าธุรกิจใหญ่ต้องมีพฤติกรรมเหมือนระบบครอบครัว และ SMEs เป็นวิธีการทำงานที่คล่องตัว

(2)  จะแก้ปัญหา SMEs เพื่อรองรับอาเซียนต้องทำอย่างต่อเนื่อง ชนิดกัดไม่ปล่อย เป็นการเดินทาง (Journey) และต้องเน้นกระบวนการ (Process) ไปสู่ความสำเร็จ มี 4 ขั้นตอน

  (1) Where are we?เราอยู่ตรงไหน?

  (2) Where we want to go?เราต้องการไปถึงไหน? - Vision (วิสัยทัศน์)หรือ Goal เป้าหมายสูงสุดคืออะไร?

  (3) Strategic – How to get there? มียุทธศาสตร์ เราจะไปถึงจุดนั้นอย่างไร?

(4) Execution – ทำให้สำเร็จ วัดผล

(3)  การมียุทธศาสตร์เข้าสู่อาเซียน

-  ทำการบ้านอย่างรอบคอบเกี่ยวกับอาเซียน

-  ศึกษารายละเอียด รู้เขา - รู้เรา

-  กฎ ระเบียบที่ตกลงและยังไม่ตกลง

-  ศึกษาเชิงลึกในแต่ละภาคส่วนSectorsให้ดี

(4)  การปรับตัวของ SMEs

-  ต้องปรับ ทัศนคติว่ามาตรฐานที่สำคัญที่สุด คือ มาตรฐานโลก (World Standard) และต้องพัฒนาให้ไปสู่จุดนั้นให้ได้

-  ปรับความเป็นมืออาชีพ

-  ปรับการทำงานแบบสากลมากขึ้น รวมทั้งการสื่อสารภาษา

-  ปรับพื้นฐาน คือ จริยธรรมและความถูกต้อง (Integrity) ให้พร้อมเสียก่อน

(5)  การปรับตัวต้องรู้ว่าใช้เวลา เพราะต้องเน้นความสำคัญของคนหรือทุนมนุษย์เป็นหลัก แต่การเปิดเสรีเริ่มต้นแล้ว จำเป็นต้องรู้ว่าตลาดทำงานแล้ว แต่พฤติกรรมของคนใน SMEs ต้องใช้เวลา จะทำอย่างไร?

(6)  การปรับตัว นอกจากระดับบุคคลและองค์กรแล้ว ต้องดูว่านโยบายรัฐบาลจะประคับประคองให้ SMEs อยู่รอด เป็นอย่างไร? ตัวละครที่จะเล่นมีหลายตัว จึงต้องทำงานให้เป็นทีม อย่าขัดแย้ง อย่าเน้นระยะสั้นเพื่อเป้าหมายทางการเมืองเท้านั้นทำอย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบายในประเทศ ค่าแรง 300บาท จะกระทบการแข่งขันในอาเซียนหรือไม่ สำนักงาน สสว. มีประโยชน์แต่การเมืองยุ่งเกี่ยวน้อย ๆ เน้นมืออาชีพ ธนาคาร SMEs จะควบรวมกับธนาคารออมสินหรือเปล่า? การเงิน SMEs ใครจะดูแลอย่างจริงจัง ระดับนโยบาย SMEs ขาดความต่อเนื่อง และขาดความเป็นมืออาชีพถูกปัจจัยทางการเมืองกระทบมากเกินไป

(7)  การสร้างความสัมพันธ์ของ SMEs ไทย กับ SMEs ในอาเซียน+6 เป็นเรื่องสำคัญมาก การใช้ ทัศนศึกษาของสมาคมการค้าและวิชาชีพ และสร้างโอกาสในการเป็นพันธมิตรกับ SMEs ในอาเซียน เป็น Business Matching ซึ่ง สสว. และกระทรวงพาณิชย์เคยทำ น่าจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นมาก เพราะ การเชื่อมโยงของ ASEAN คือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของประชาชนกับนักธุรกิจ

(8)  ปัญหา SMEs กับความเป็นมืออาชีพของธุรกิจครอบครัว ต้องมีการศึกษาเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวเติบโตอย่างมั่นคง ปัจจุบันยังมีการศึกษา SMEs กับธุรกิจครอบครัวน้อยเกินไป ต้องมีการฝึกอบรมให้ครอบครัวที่เป็นเจ้าของทำหน้าที่เป็นมืออาชีพ สร้างความสัมพันธ์กับพนักงานมืออาชีพเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ SMEs ในอนาคต

(9)  ปัญหาการบริหารทุนมนุษย์ใน SMEs  ไม่ว่าจะปลูกคุณภาพของคนหรือทุนมนุษย์ใน SMEs (8K’s+5K’s) ที่สำคัญ การบริหารคนได้จะต้องเน้น “เก็บเกี่ยว” ผมใช้แนวคิด

HRDS

-  Happiness 

-  Respect

-   Dignity

-  Sustainability

เป็นหลัก คือ มองคนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ให้เกียรติและศักดิ์ศรี ไม่ใช่แค่พนักงานกินเงินเดือน

(10)  และสุดท้าย จะต้องปรับให้ผู้นำ SMEs เป็นผู้ประกอบการให้สำเร็จ เพราะการเป็นผู้ประกอบการ คือ หัวใจสำคัญที่จะขับเคลื่อนมูลค่าเพิ่มของ SMEs – 3V

-   Value Added

-   Value Creation

-   Value Diversity

ผมเชื่อว่า SMEs จะเป็นกำลังสำคัญในการเข้าสู่ ASEAN 2015 บริษัท ศรีไทยฯ ของคุณสนั่น ก็ต้องเติบโตมาจาก SMEsจึงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ SMEs อื่น ๆ ได้นำไปพิจารณา

 

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181


หมายเลขบันทึก: 520128เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท