ส้อ โส ซอม ส้างสา


เมื่อวันที่ ๒๒ ก.พ.๕๖ ได้มีโอกาสไปฟัง นักวิจัยชุมชน(ชาวบ้าน)ที่ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ได้มาเล่าประสบการณ์การนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาชุมชน พอจะสรุปเป็นความรู้ของตนเองได้ดังนี้
๑. ทุกทีมมีความคล้ายคลึงกันคือ การนำปรากฏการณ์หรือเหตุกาณณ์ให้มาฉุกคิด ร่วมกับข้อมูลของทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่มาประกอบ เป็นประเด็นสนใจในการเรียนรู้
๒. แต่ทุกทีมจะได้ใช้ทักษะการหาข้อมูล โดยสรุปเป็นเริ่มจาก การไปส้อ(ถาม พูดคุยกัยผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น) แล้วนำข้อมูลมาโส(ต่อข้อมูล บันทึก) บางครั้งทางทีมก็ได้ไป ซอม(สังเกต แหล่งข้อมูล) แล้วนำข้อมูลมาโส(ต่อข้อมูล บันทึก) จนได้ข้อมูลที่เพียงพอ
๓. การวิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งระหว่างเก็บ เพื่อเพิ่มประเด็นหรือแหล่งข้อมูล /หรือเมื่อข้อมูลเพียงพอ(มันสุดจู่ลู่..บ่มีอีก) หลายทีมใช้วิธี ต้นไม้หารากปัญหา (ที่แต่เดิมไม่ได้นำข้อมูลจากการเก็บมาใช้) ตุ๊กตาชุมชนในการหากลุ่มที่มาช่วยเป็นแขนขาในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการใช้แผนที่ทุนสังคมเพื่อหาแหล่งประโยชน์ในการแก้ปัญหา
๔. การนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการส้างสา(วางแผนพัฒนา) จากการวิเคราะห์เห็นทั้งรากปัญหา หาคนมาช่วย หาแหล่งประโยชน์ ผลที่เกิดแล้วผมเห็นการขับเคลื่อนที่ ไม่รู้จบ เช่น โครงการที่ อ.ชื่นชม อ.พยัคฆภูมิพืสัย อ.นาดูน อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม /อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธู์ / อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด
สรุปก็คือ ชุมชนได้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ ส้อ โส ซอม จนได้ พากันส้างสา

คำสำคัญ (Tags): #นักวิจัยชุมชน
หมายเลขบันทึก: 520501เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท