พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak)
นางสาว พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak) Cherry ปฐมสิริรักษ์

ร่างกฎกระทรวงตาม ม.7 ทวิวรรคสามกล่าวถึงเด็กไร้รากเหง้าซึ่งเกิดไทยหรือไม่ เราควรทำอย่างไรต่อเด็กกลุ่มนี้


ข้อสังเกตและบทความทางวิชาการของผู้เขียน ซึ่งเป็นคณะทำงานในทีมผู้ช่วยทางวิชาการ ภายใต้ “โครงการประชาคมวิจัยการจัดการประชากร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” อันมีต่อประเด็นที่นำเสนอในเวทีหารือเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ. ... จากการประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรมในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายกับผู้แทนจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ตลอดจนประเด็นอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับ ร่างกฎกระทรวงมาตรา 7 ทวิวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

ร่างกฎกระทรวงตาม ม.7 ทวิวรรคสามกล่าวถึงเด็กไร้รากเหง้าซึ่งเกิดไทยหรือไม่ เราควรทำอย่างไรต่อเด็กกลุ่มนี้

ฉบับเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

โดย นางสาวพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์

คณะทำงานในโครงการประชาคมวิจัยการจัดการประชากร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเห็นต่อร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 7 ทวิวรรคสาม ในประเด็นเรื่องการกำหนดฐานะการอยู่อาศัย หรือสิทธิอาศัยของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กกำพร้า หรือเด็กถูกทอดทิ้ง หรือไม่พบบุพการี ดังต่อไปนี้

  จะเห็นได้ว่า ร่างกฎกระทรวงซึ่งจัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทยนั้น กล่าวถึงเฉพาะการกำหนดฐานะการอยู่อาศัย หรือสิทธิอาศัยของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย เฉพาะกลุ่มซึ่งสามารถรู้ได้ว่าบิดามารดา บุพการีนั้นคือใคร เพราะเป็นการกำหนดโดยอาศัยการสืบสิทธิจากบิดามารดา หรือก็คือ กำหนดสิทธิอาศัยโดยพิจารณาจากสถานะของบิดามารดา ซึ่งพึงตระหนักว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสังคมไทยนั้น ยังคงมีคนต่างด้าวไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยจำนวนหนึ่งซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าบิดามารดา บุพการีคือใคร กล่าวคือเด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง ซึ่งในภาษาของกฎหมายว่าด้วยการจัดการประชากรเราเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า เด็กไร้รากเหง้า”

ปัญหาคือ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ได้เข้ามารองรับการกำหนดสถานะเรื่องสิทธิอาศัยในประเทศไทยของเด็กไร้รากเหง้าซึ่งเกิดในประเทศไทย เอาไว้ จึงอาจจะกลายเป็นช่องว่างในการอนาคตที่เกิดประเด็กถกเถียงว่า คนต่างด้าวที่เป็นเด็กไร้รากเหง้าซึ่งเกิดในประเทศไทย” นั้นยังคงถูกถือว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายอยู่หรือไม่ จะมีสิทธิอาศัยอย่างไรในประเทศไทย

ดังนั้น คณะทำงานฯ จึงมีความเห็นเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ว่าควรมีการกำหนดเรื่อง สิทธิอาศัยของคนต่างด้าวที่เป็นเด็กไร้รากเหง้าซึ่งเกิดในประเทศไทย” ไว้โดยชัดแจ้งใน กฎกระทรวงตามมาตรา 7 ทวิวรรคสามฉบับเดียวกับเด็ก หรือบุคคลซึ่งปรากฏบุพการี ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการกำหนดสิทธิอาศัยของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 521074เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2013 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2013 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท