คุยเรื่อง Transformation of Education for Health กับลูก


การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เทคนิค ความคิด ของครูหรือผู้สอนมีความสำคัญยิ่ง สอนให้น้อยลง เรียนรู้(ด้วยกัน)ให้มากขึ้น

ลูกรัก

 

เมื่อลูกยืนยันว่าจะขอเรียนไกลบ้านในต่างแดนต่ออีกสักปี สองปี หรือ.. โดยให้เหตุผลกับแม่ว่า

 

ลูกรักการเรียนการสอนแบบ เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง

เพื่อน ๆ และลูกคือบุคคลสำคัญในการเรียนการสอนทุกเรื่อง โดยแต่ละคนจะอ่านหนังสือ ค้นคว้า เรื่อง หัวข้อที่จะเรียนก่อนล่วงหน้า แล้วนำมาพูดคุยกันในห้องเรียนโดยมีคุณครูเป็นผู้เสริม แนะแนวทางที่จะไปหาความรู้เพิ่มเติม หาคำตอบ หรือคือผู้ช่วย พี่เลี้ยงช่วยวางแผน ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปได้อย่างสนุกสนานและต่อเนื่อง

 

แม่ลองถามลูกซ้ำ ๆ หลายครั้งหลายหน เพราะแปลกใจระคน ไม่แน่ใจ การเรียนการสอนอะไรจะดูสมบูรณ์แบบขนาดนั้น

แต่ลูกก็ตอบคล้าย ๆ เดิม

 

เมือแม่ถามคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากลูก หลังจากที่ทั้งพ่อและแม่ยอมรับแล้วว่า ลูกรู้คำศัพท์มากกว่าเราสองคนแล้ว

แรก ๆ ลูกตอบแม่ แถมเพิ่มเติมให้อีกในเรื่อง รากศัพท์ของคำ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์ ที่มา ที่ไป ที่คำ ๆ หนึ่งไปเป็นส่วนประกอบของสำนวน (idiom) เสน่ห์ของคำ ความสนุกในเชิงภาษาที่ลูกเล่าให้แม่ฟังช่วยเป็นหลักฐานพยานของคำตอบข้างบนประกอบให้แม่เชื่อได้สนิทใจมากขึ้นว่า 

การเรียนการสอนของโรงเรียนที่ลูกเรียนอยู่ เป็นโรงเรียนในฝันระดับหนึ่ง

 

 

ช่วงหลัง เมื่อแม่ถามถึงคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้น

ลูกไม่ค่อยตอบแบบร่ายยาวแล้ว ถึงแม้ลูกจะรู้ ลูกเลี่ยงไปใช้วิธี กดค้นหาในอินเทอร์เน็ตให้แม่ลองอ่าน ลองค้นคว้าหาต่อเอาเอง โดยลองทำให้ดูก่อนเป็นตัวอย่าง

แถมท้ายว่า 

"แม่ แม่ แม่ หาเอาเอง อ่านเอาเอง สนุกและจำได้แม่นขึ้นนะแม่"

 

 

ทำเอาแม่ ซึ่งมีอาชีพเป็นครู ออกอาการอึ้ง

นี่เรากลายเป็น ลูกศิษย์ของลูกในหัวข้อ การเรียนรู้ การค้นคว้า ด้วยตัวเองแบบ self learning ไปตั้งแต่เมื่อไร

 

วันนี้ในห้องเรียนของแม่ คุณครูนำหัวข้อนี้ Transformation of Education for Health มาอภิปรายกัน

มีการนำเสนอความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง

แม่จับใจความสำคัญหนึ่งได้ว่า

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เทคนิค ความคิด ของครูหรือผู้สอนมีความสำคัญยิ่ง

สอนให้น้อยลง เรียนรู้(ด้วยกัน)ให้มากขึ้น

 

แม่จึงคิดถึงคำพูดและวิธีการสอนให้แม่เรียนรู้คำศัพท์ของลูกขึ้นมา

จึงนำมาเขียนเป็นบันทึกและแน่นอน คัดลอกส่งเป็นจดหมายให้ลูก

 

แม่อยากได้ความเห็นของลูกเพิ่มเติม เพราะ แม่กระซิบบอกลูกก็ได้ว่า แม่นึกสนุกขึ้นมา อยากทำเรื่องนี้หมายถึง
ทำวิจัยหรือคิดต่อ...

 

จึงขอหยุดบันทึกหรือจดหมายฉบับนี้ไว้ก่อน ขอเวลาไปจดและทบทวนเรื่องที่ปิ๊งแวบขึ้นมาเมื่อกี้นี้ กลัวลืมจ้ะ 
มีภาคต่อแน่นอน

 

รักลูกมาก

แม่เอง

7.3.13

หมายเลขบันทึก: 521690เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2013 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เวลาพี่สอนในระดับอุดมศึกษา พี่มักใช้แนวการเป็น Advisor ทำนอง ชี้แนะ มอบหมาย กลับมาวิจารณ์ แล้วก็สรุปผลการเรียนรู้ ซึ่งก็ได้ผลดีอยู่ครับ 

อาชีพครูเป็นหนึ่งในอาชีพที่ต้องเรียนเพิ่มตลอด ไม่ควรหยุดอยู่กับที่ ป้องกันอัลไซเมอร์ด้วยครับ

คุณหมอภูสุภา เป็นแพทย์ ที่เขียนเรื่องที่น่าอ่านมากกว่าในตำราเสียอีก

...

เป็นกำลังใจให้นะครับ

ภาพเด็กน้อยน่ารักนะครับ

พาลูกสาวมาเยี่ยมครับ


 วันนี้พี่ชายเม้นท์ยาว อิ อิ

ค่ะ กำลังฝึกการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นเซ็นเตอร์ ม่ายช่ายเอาตัวเรา ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง พอยืนหน้าห้องแล้วชอบลืม ฮ่า ๆ

 หนูดวงใจโตวันโตคืน น่ารัก สวยหวาน..ค่ะ

วันนี้คุยกับเพื่อนครู 

ถ้าเป็นวิชาอนาโตมีล่ะ เนื้อหามากมาย จะลดการสอนได้อย่างไร...


น่าคิด

วิชาพื้นฐาน Basic sciences มีเนื้อหาท่วมท้นมากมาย ทำอย่างไรก็ไม่มีวันเล็คเชอร์ได้หมด เล็คเชอร์อย่างเอกอุ เด็กเหนื่อย ง่วงนอน ล้า..

หรือปรับเปลี่ยนวิธี ใช้ story telling สร้างแรงบันดาลใจแก่นักเรียนแพทย์ให้ใฝ่ฝันและเกิดความรักในวิชาชีพ จนเกิดการใฝ่รู้ หาวิธีเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นด้วย self learning

note ไว้เพื่อเรียบเรียงตอนต่อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท