การทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่คู่กับการทำปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ


โครงการทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่เพื่อเป็นการร่วมกันกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวที่มีอยู่มากมายและกำลังทำให้เกษตรกรพ่อแม่ของเด็กนักเรียนรวมทั้งพวกผมด้วยนั้นแหละครับที่เดือดร้อนกันอยู่ในขณะนี้

     จากการที่ได้ดำเนินการกลุ่มฯมา ในทุกๆสัปดาห์ ก็จะมีการมานั่งพบปะพูดคุยกันในหมู่ของคณะกรรมการ เนื่องจากการแบ่งงานกันไปทำ มีโครงงานอยู่อย่างหนึ่งที่ทำลงไปแล้วและได้ผลตอบรับกลับมาดีมากครับ ( ถ้าหากหากอาจารย์จำนง ไม่ทวงถามว่าทำอะไรไปบ้างก็คงลืมที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังครับ )

     โครงการทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่ เพื่อเป็นการร่วมกันกำจัดศัตรูพืชในข้าว ที่มีอยู่มากมายและกำลังทำให้เกษตรกร  พ่อ แม่ ของเด็กนักเรียนรวมทั้งพวกผมด้วยนั้นแหละครับ ที่เดือดร้อนกันอยูในขณะนี้(ไม่ได้นำมาใส่ในกองปุ๋ยนะครับ แต่ทำเสร็จแล้วก็นำไปรดต้นไม้ได้เลย เพราะได้ผลเร็วกว่า ) โดยการร่วมมือกันกับคณะครู อาจารย์ โรงเรียนตรีเอการาม หมู่ที่ 1 ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการให้เหล่าบรรดาเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึงชั้น ป. 6 ไปหาเก็บหอยเชอรี่ที่มีอยู่มากมาย นำมาที่โรงเรียนโดยมีพี่พัน  ( นายบพิตร ทิพย์เสวก ) กรรมการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง คอยรับอยู่ที่โรงเรียน ที่แกไม่ไปใหนก็เพราะว่าแกเป็นนักการฯอยู่ที่นั่น โดยให้ผลตอบแทนแก่เด็กนักเรียน กิโลกรัมละ 2 บาท แล้วมีการสอนให้เด็กนักเรียนหัดทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่ สอนการนำไปใช้กับพืชผักที่บ้าน 

     จากการที่ทำโครงการน้ำหมักจากหอยเชอรี่ร่วมกับคณะของครูและนักเรียน โรงเรียนตรีเอการาม ผลที่ใด้คือ.....

     1. เป็นการกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวที่มีอยู่มากมายในชุมชนฯ แทน    

         การใช้สารเคมีกำจัด

     2. นักเรียนมีรายใด้จากการเก็บหอยเชอรี่มาทำน้ำหมักฯ

     3. นักเรียนมีความรู้ในการทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่

     4. ลดต้นทุน/เพิ่มรายได้ ให้กับเกษตรกร

     5. เป็นการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในนาข้าวของชุมชน

     จากการดำเนินการที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ที่ขอเข้ามาชมและนำกลับไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูในนาข้าวของชุมชน ของตนเองต่อไป

     โครงงานที่ทางกลุ่มจะดำเนินการต่อไปก็เป็นการนำการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง ระบบกองเติมอากาศ ไปปรับใช้ในโรงเรียนต่างๆและพื้นที่ใกล้เคียง  เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในระดับที่กว้างขึ้นและเน้นเหล่าคุณกิจที่เป็นเด็กนักเรียนมาเรียนรู้ร่วมกัน ในด้านการนำประโยชน์กลับคืนจากเศษพืชและวัชพืชที่มีในโรงเรียนและในชุมชนมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 52188เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เยี่ยมมากเลยครับที่ขยายขอบข่ายเนื้อการเรียนรู้กว้างขวางออกไปมากกว่าปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศฯแต่เพียงอย่างเดียว ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด ต้องโยงเข้ามาเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาของเราให้ได้ จะเป็นปัญหาเรื่องใดก็แล้วแต่
  • แบ่งมอบหมายหน้าที่กันดีจังเลย กรรมการวิสาหกิจกลุ่มฯที่เป็นภารโรงก็ไปสร้างเครือข่ายในโรงเรียน ชวนครู นักเรียน ผู้ปกครอง มาเป็นคุณกิจเพิ่มมากขึ้น
  • ไม่ทราบโรงเรียนนี้มีอินเตอร์เน็ตแล้วยัง ถ้ามีแล้วแนะนำให้เขาทำบล็อกด้วยก็จะดีนะ
  • มีภาพกิจกรรมมาฝากมั่งก็จะดี โดยเฉพาะการทำงานของพี่พัน กรรมการของวิสาหกิจที่เป็นภารโรงของโรงเรียน.....สัมภาษณ์เอารายละเอียดมาลงสักบันทึกก็จะดีมากเลยนะครับ
  • ขอให้กำลังใจและติดตามการดำเนินงานทุกโครงงานครับ
มาให้กำลังใจเหมือนกันค่ะ ขอให้กลุ่มเข้มแข็งยิ่งขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท