dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

ความคิดเห็นของครูสอนดีปี 2555


ความคิดเห็นของครูสอนดีจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2555

  ถ้าพูดถึงครูในวันนี้ก็มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คือหลังจากผ่านวันครูในปีพ.ศ. 2556 ไปแล้ว มีการพูดถึงการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถและทักษะของครูไทย โดยหน่วยงานที่ร่วมมือกันระหว่างสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และสถาบันรามจิตติ ได้รายงานว่าขณะนี้กำลังเกิดการผนึกพลังของเครือข่ายครูเพื่อขยายผลครูดีให้มีทั้งแผ่นดิน ซึ่งเกิดจากเครือข่ายครูสอนดีที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน  จำนวนกว่า 20000 คน เฉลี่ยตำบลละ 2-3 คนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นครูนอกเครื่องแบบที่ไม่สังกัดรัฐที่ทุ่มเทการสอนให้กับเด็กที่ยากไร้กว่า 1000 คน และเครือข่ายครูนักวิจัยของสกว.กว่า 1000 คน ซึ่งถือเป็นพลังเงียบของครูซึ่งถือว่าเป็นครูผู้มีฝีมือที่จะกอบกู้คุณภาพการศึกษาไทย ซึ่งทั้งสสค. สกว. และรามจิตติได้ดำเนินการร่วมกันจัดทำระบบเครือข่ายการพัฒนาครูผ่านระบบครูพี่เลี้ยงเพื่อช่วยพัฒนาครูมือใหม่เป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง และเสนอว่ารัฐบาลควรจะใช้วันครูที่ผ่านมาเป็นจุดเปลี่ยนการพัฒนาครูไทยและการศึกษาไทยได้อย่างไม่ยาก ขณะนี้สกว.และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน((สพฐ) กำลังเตรียมพัฒนาระบบครูพี่เลี้ยงที่ประกบดูแลพัฒนาครูรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่วนสสค.เปิดเผยผลการวิจัยในเรื่องความคิดเห็นของครูสอนดี จำนวน 210 คน โดยกลุ่มตัวอย่างกระจายใน 4 ภูมิภาคของประเทศ เพื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครู และแนวทางส่งเสริมครูให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ผลสำรวจพบว่า

  มีปัญหาอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูอยู่ 6 ปัญหา เรียงตามลำดับดังนี้

  1 ภาระหนักนอกเหนือจากการสอน 22.93 %

  2 จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ 18.57 %

  3 ขาดทักษะด้านไอซีที  16.8%

  4 ครูรุ่นใหม่ขาดจิตวิญญาณ ขณะครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว 16.49 %

  5 ครูสอนหนักส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น 14.33 %

  6 ขาดอิสระในการจัดการเรียนการสอน 10.88%

  มีปัจจัยส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมีดังนี้

  อันดับหนึ่ง คือการอบรม แลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ 19.32 %

  อันดับสอง การพัฒนาตนเองในเรื่องไอซีที 19 %

  อันดับสาม การเพิ่มฝ่ายธุรการ 18.01 %

  อันดับสี่ ปรับการประเมินวิทยฐานะ 17.12 %

  อันดับห้า การลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและการเรียนของเด็ก 13.42 %

  อันดับหก การปลดล็อกโรงเรียนขนาดเล็ก 13.13 %

  จากผลงานวิจัยดังกล่าวจะเห็นว่ามีปัจจัยที่ทำให้การจัดการเรียนรู้มีปัญหาโดยมาจากตัวครูและปัญหาที่มาจากโครงสร้างของระบบ  มีการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทักษะที่ต้องพัฒนามีดังนี้

-  ทักษะในการตั้งคำถาม

-  ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ

-  ทักษะในการคัดเลือกความรู้ตามสภาพแวดล้อมจริง

-  ทักษะในการสร้างความรู้ใช้เกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องอย่างไรเพื่อทำให้ศิษย์

เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน

-  ทักษะให้ศิษย์คิดเป็น

-  ทักษะในการประยุกต์ใช้

-  ทักษะในการประเมินผล

  ประเด็นหรือสิ่งสำคัญที่ได้จากงานวิจัยดังกล่าวสามารถที่จะนำมาใช้ในการพัฒนานักเรียนได้ในหลายๆเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับครู

 

           


หมายเลขบันทึก: 522102เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท