ก้าวไกลสู่ครูไทย ไหมอาสา สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ก้าวไกลสู่ครูไทยไหมอาสา

สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

    ผ้าไหมเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก  กรมหม่อนไหมตระหนักดีในการที่จะสร้างกลไกลเพื่อผลักดันปราช์ญท้องถิ่น  เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้หายจากประเทศไทยจึงสร้างผู้ผลักดันคือครูในท้องถิ่นที่มีพื้นฐาน  เช่น เลี้ยงไหม  ทอผ้า ฟอกย้อม หรือมัดหมี่เพื่อสร้างลายผ้าแต่ละชนิดและงานที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น  นอกจากกลุ่มวิสาหกิจและยังมีเยาวชนจากท้องถิ่นและโรงเรียนช่วยกันเก็บข้อมูลและวางรากฐานและปลูกฝัง  ให้รักวัฒนธรรมท้องถิ่นสืบทอดชั่วลูกชั่วหลานต่อไป

    ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ (มุกดาหาร)    ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของกรมหม่อนไหม  เพื่อให้สนับสนุนครูไหมอาสาที่ผ่านการอบรมและรับทราบนโยบายของกรมหม่อนไหม  โดยมีโรงเรียนที่เริ่มดำเนินการเห็นความสำคัญและคุณค่าของหม่อนไหม การทอ การเลี้ยง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์  เพื่อการปลูกฝังให้นักเรียนในท้องถิ่น 5 โรงเรียน จากที่ผ่านการอบรมมาจำนวน 10 โรงเรียน มี

  1. โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
  2. โรงเรียนชุมชนบ้านเปือยหัวดง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
  3. โรงเรียนบ้านนาสะเม็ง ต.นาสะเม็ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
  4. โรงเรียนบ้านเปียด ต.ดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
  5. โรงเรียนบ้านชะโนด2 ต.ชะโนดน้อย อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

 

1.      โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา

ที่ตั้ง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งใน 7 อำเภอของจังหวัดมุกดาหาร  สินค้าที่เป็นจุดเด่นของอำเภอหนองสูงคือ

1.1   ผ้าไหมลายแก้วมุกดา  ซึ่งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์  มีนักท่องเที่ยวแวะพักค้างคืนและดูกลุ่มทอผ้าไหม

1.2   ผ้าตุ๊กตาเช็ดมือคุณนายสะอาด อยู่ที่บ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

1.3   ผ้าหมักโคลน ฝ้ายและไหม  ลักษณะเป็นผ้าพันคอและคลุมไหลผลิตที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองสูงเหนือ (โคลนช่วยการติดสีมีแห่งเดียวที่ชาวบ้านและกลุ่มเก็บรักษาและเป็นภูมิปัญญา)

ด้วยข้อมูลทั้ง 3 ประการดังกล่าวจึงทำให้ครูไหมอาสาจากโรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยาได้เสนอหลักสูตร การเรียน การสอนให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เวลา 40 ชั่วโมง  จำนวน 1 หน่วยกิต  กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

เนื้อหาสาระโดยรวม  เพื่อศึกษาประวัติความสำคัญประโยชน์การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมหนองสูง  แนวทางในการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม วิเคราะห์ขั้นตอนกระบวนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  เช่น  การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การสาวไหม วงจรชีวิตหนอนไหม การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการเลี้ยงไหมและสาวไหม  การจัดการผลผลิตและตลาดเส้นไหม  ปฏิบัติงานการปลุกหม่อน การเลี้ยงไหม การสาวไหม เป็นนักธุรกิจน้อย มีคุณธรรม ทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีความขยัน  อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน ซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความรักความสามัคคี ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  ประหยัดปลอดภัย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการปฏิบัติที่ผ่านมาในปี 2553-2554

  1. เลี้ยงไหมพันธุ์พื้นบ้าน จำนวน 2 รุ่น
  2. ปรับปรุงอาคารเกษตรให้เป็นแหล่งเลี้ยงไหม (เดิมเลี้ยงอยู่ที่บ้าน)
  3. ปลูกหม่อน   จำนวน  2 งาน
  4. ปลูกหม่อนผลสดเพื่อการแปรรูป  จำนวน  100 ต้น
  5. นักเรียนเป้าหมาย  จำนวน  25  คน
  6. ประสานกับหน่วยงานราชการเพื่อพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  7. 2.      โรงเรียนชุมชนบ้านเปือยหัวดง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

ได้เขียนโครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  โดยใช้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นบุคคลเป้าหมาย  จำนวน  50 ราย  ในปีงบประมาณ 2554

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาหม่อนไหมในท้องถิ่นให้คงอยู่
  2. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ในท้องถิ่นกับภูมิปัญญาและปรัชญาชาวบ้านโดยตรง

      3.โรงเรียนบ้านนาสะเม็ง ตำบลนามะเม็ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

          ได้นำนักเรียนมาฝึกปฏิบัติการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์ การแปรรูปดอกไม้จากรังไหม ทำชาใบหม่อน เยลลี่จากผลหม่อน และน้ำหม่อนผลสด  เพื่อนำไปแข่งขันทักษะทางวิชาการ ในเขตพื้นที่เขตการศึกษา จังหวัดมุกดาหาร

      4. โรงเรียนบ้านเปียด ตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร  

          ได้เสนอโครงการปลูกหม่อนผลสด เพื่อการแปรรูปจำนวน  500 ต้น ได้ดำเนินการเสร็จตามแผนงานที่เสนอจากทางโรงเรียน

     5. โรงเรียนบ้านชะโนดน้อย 2 ตำบลชะโนดน้อย อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร

          ได้ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริหารการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่การใช้น้ำของชลประทาน  โดยการปลูกหม่อนผลสดเพื่อการแปรรูปจำนวน 400 ต้น  หม่อนใช้ใบเพื่อการเลี้ยงไหมและแปรรูป จำนวน 1 ไร่

          ทั้ง 5 โรงเรียน ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ (มุกดาหาร)    ได้ให้การสนับสนุนในด้านวิชาการ พันธุ์หม่อน  ตลอดจนการวางแผนในการอบรมฝึกปฏิบัติตามนโยบายเร่งด่วนของกรมหม่อนไหม  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระชนมายุ ๗  รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช 84 พรรษา

 

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 528699เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2011 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ลุกศิษย์อาจารย์ อาลัย จันทร์กระจ่าง

ทำไมข้อมูลถึ่งเร็วจัง พึ่งสาวไหมอาทิตย์ก่อนนี้เอง หรือข้อมูลของคุณครู อาลัย จันทร์กาะจ่าง ครับ

ลุกศิษย์อาจารย์ อาลัย จันทร์กระจ่าง

ทำไมข้อมูลถึ่งเร็วจัง พึ่งสาวไหมอาทิตย์ก่อนนี้เอง หรือข้อมูลของคุณครู อาลัย จันทร์กาะจ่าง ครับ

ลุกศิษย์อาจารย์ อาลัย จันทร์กระจ่าง

ทำไมข้อมูลถึ่งเร็วจัง พึ่งสาวไหมอาทิตย์ก่อนนี้เอง หรือข้อมูลของคุณครู อาลัย จันทร์กาะจ่าง ครับ

คุณครูอาลัยจันทร์กระจ่างยังทำผ้าหมักโคลนทำอยู่บ้านด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท