การเรียนรู้เสมือนน้ำซึมบ่อทราย


ครูอ้อยขอเป็นน้ำ  เมื่อเพื่อนถามว่า ระหว่าง หิน ทราย และน้ำ  ด้วยเหตุผลว่า  หากมีภาชนะวางไว้  บางคนอยากเป็นหินด้วยเหตุผลความหนักแน่น  อยากเป็นทรายเพราะมีความละเอียดกว่าแทรกเข้าไปอยู่ตามซอกหินได้  ส่วนครูอ้อยจะเป็นน้ำที่แทรกซึมเข้าไปได้ทุกที่  เวลาเขาอยู่เฉยๆเหมือนจะนิ่งเย็นชา   แต่เวลาน้ำเคลื่อนไหว  คนมหาศาลก็พ่ายแพ้พลังน้ำมาแล้วยังจำได้เมื่อปี 54 ที่ผ่านมานี่เอง


ได้โจทย์ว่า  การเรียนรู้เสมือนน้ำซึมบ่อทราย


ความหมายคือ  ทรายนั้นเป็นที่ซับน้ำได้ดี  ไม่ให้น้ำผ่านไปได้ง่าย  ผู้คนจึงนำถุงใส่ทรายกั้นน้ำไม่ให้เข้าบ้าน  ในทางตรงกันข้าม  ทรายกลับเป็นหน่วยที่สามารถกักเก็บน้ำ  อุ้มน้ำได้ดีด้วย


ถ้าการเรียนรู้เป็นภาชนะที่มีทรายอยู่  น้ำเข้าไปแทรกตามอณูของทรายได้จำนวนมาก  ยิ่งผ่านการเรียนรู้มามาก  น้ำก็จะอยู่ในทรายได้จำนวนมาก  หลายๆคนแนะนำว่า  การเรียนรู้ไปวันละนิด  แต่ต้องเรียนรู้ทุกๆวัน  ทำตนเหมือนน้ำซึมบ่อทราย  เมื่อบั้นปลายก็จะได้น้ำจำนวนมหาศาล  


วันนี้ดูมวยทางสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง  ก็เกิดการเรียนรู้ว่า  นักมวยที่ดีที่เก่งนั้น  ต้องแข็งแรง และฉลาดผ่านประสบการณ์ในการชกมามากมาย ผนวกกับเป็นคนอดทน  เพียรพยายาม รู้จักใช้เทคนิควิธีในการชก  และต้องศึกษาจุดอ่อนของตนเองและคู่ชก  นั่นคือ  ต้องผ่านการหาข้อมูลผนวกไปกับฝีมือ   ทั้งนี้ต้องมีเทรนเนอร์(ครูฝึกที่ดีด้วย)


ค่อยๆๆเรียนค่อยๆรู้เสมือนน้ำซึมบ่อทราย  ที่เก็บกักน้ำไว้มากมาย  มั่นคง  นำกลับมาใช้ได้อย่างดี  มีประสิทธิภาพ


เด็กๆบางคน  มีนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง  ไม่เก็บกักตุนความรู้ไว้เลย  เมื่อเวลาผ่านไป  เวลางวดเข้ามา  กิจกรรมต่างๆเร่งรัดเข้ามา  เวลาที่มีต้องไปทำอย่างอื่น  ไม่ได้อ่านหนังสือ  การบ้านก็ไม่เสร็จ  อาจารย์ก็สั่งงานหลายๆท่าน  ทำไม่ทัน  เสมือนน้ำที่หลากมา  หากเด็กๆรู้จักกักเก็บความรู้ไว้บ้าง  ทำการบ้านไปวันละนิด  อ่านหนังสือวันละ 30 นาที  เมื่อเวลางวดลงเหลือน้อย  แต่งานหรือการบ้านเราก็ทำไปได้มากแล้ว  


ผลการเรียนของเด็กๆเหล่านี้จึงไม่ดีเท่าที่ควร  เพราะไม่รู้จักแบ่งเวลา  กักตุนความสำเร็จไว้บ้าง  เขาไม่ทำตัวแบบ  น้ำซึมบ่อทราย  จึงถูกน้ำท่วมหรือน้ำพัดพาไป 

 

ปรารถนาให้เด็กๆรู้จักกับการเรียนรู้แบบน้ำซึมบ่อทราย  อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่าไป


น้ำซึมบ่อทราย  เป็นเทคนิควิธีที่ทำให้รักการเรียนรู้ตลอดเวลา  ได้เหมือนกัน

หมายเลขบันทึก: 531066เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2013 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท