คนไทยได้บทเรียนอะไรจากการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่ผ่านมา


บทเรียนจากความจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2556 ติดตามอ่านได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104  

คนไทยได้บทเรียนอะไรจากการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่ผ่านมา

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่ชนะการเลือกตั้งแบบพลิกล๊อกเกือบ 200,000 คะแนน ส่วน พล.ต.อ.พงศ พัศพงษ์เจริญ ก็ขอให้กลับไปถามตัวเองว่า ต้องการอะไรจากชีวิต ชีวิตของ พล.ต.อ.พงศพัศ ให้ประโยชน์คนไทยอย่างไร หรือมีเป้าหมายว่าจะทำให้คุณทักษิณคนเดียว แบบพลตำรวจโทคำรณวิทย์ธูปกระจ่าง ไม่ใช่พอแพ้ก็คิดกลับไปเป็นรองอธิบดีตำรวจอีก ที่ลงเลือกตั้งผู้ว่าเพราะคนอื่นขอให้ลง ไม่ใช่เพราะอยากให้คนกรุงเทพฯดีขึ้นขนาดนักวิชาการอย่าง อ.สุขุม นวลสกุล ยังบอกว่า อย่าไปเป็นตำรวจอีกเลย รอ 2 ปี สมัครเลือกตั้งอีกดีกว่า เดินมาเส้นทางนี้แล้ว เพราะศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ที่ไหน ไม่ได้ดูที่เงิน หรือ ตำแหน่ง ความภาคภูมิใจอยู่ที่ไหน?

และขอพูดถึงอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่ทำโพลโดยเฉพาะช่วงก่อนเลือกตั้ง สวนดุสิต,ABAC ส่วนมากก็ชี้ไปว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จะชนะครั้งนี้หลังจากเลือกตั้งแล้วถึงจะออกมาขอโทษ แก้ตัวใหม่ว่า ผมว่าไม่ใช่วิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่ตั้งใจจะเก็บข้อมูล เพราะรับจ๊อบทำให้ผิดหรือเปล่า? เพื่อสร้างกระแสให้คนกรุงเทพไปโหวดให้คุณพงศพัศ สิ่งที่น่าเศร้าคือสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์รับเงินแล้วยังตามโจมตีมรว.สุขุมพันธ์ ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งว่าพูดไม่เป็น พูดช้า ไม่มีผลงานเมื่อชนะแล้วก็ยังโจมตีว่าที่ชนะเพราะคน กทม.กลัวมากเกินไป

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

ผมยังคิดต่อไปว่า ถ้า ม.ร.ว.สุมขุมพันธ์ แพ้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย สื่อเหล่านั้นคงจะย้ำว่า เมืองไทยเป็นเสื้อแดงทั้งแผ่นดินแล้ว แม้กระทั่งทำอะไรก็ไม่ผิด จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมสะดวกขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ตามผู้ชนะก็ต้องทำหน้าที่ต่อไป อย่าพอใจกับชัยชนะเท่านั้น โดยเฉพาะการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ ก็ขอให้ทำงานเป็นทีมมากขึ้น เพื่อไปทำงานการเมืองระดับประเทศมากขึ้น เพราะชัยชนะครั้งนี้ก็ถือว่า ประเทศไทยและคนไทยยังฝากความหวังไว้ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้

ในเฟสบุ๊คของผมขอให้พรรคประชาธิปัตย์ขยายฐานเสียงไปยังต่างจังหวัด โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือมากขึ้นนโยบายที่หาเสียงไว้ ก็ขอให้ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน ซึ่งฝีมือในการบริหารและนโยบายจะเป็นจุดขายในอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปยิ่งไปกว่านั้น พรรคก็ต้องเป็นพันธมิตรกับกลุ่มต่างๆ ในมุมกว้างกับภายนอกมากขึ้น ไม่ใช่คนที่จะมีบทบาทในพรรคต้องเป็นคนที่ทำงานรับใช้พรรคเท่านั้น เน้น value diversity (มูลค่าจากความหลากหลายมากขึ้น)จะเห็นได้ว่า การที่ทุกกลุ่มในพรรคมาร่วมกันหาเสียง เมื่อคราวจำเป็นก็จะทำให้พรรคเข้มแข็งมากขึ้น จากนี้ไปก็ต้องสร้างความหลากหลาย (Diversity) มากขึ้น อย่าให้หลายคนมองว่าก๊วนเด็กเท่านั้นที่จะบริหารพรรคต่อไปผมเองก็ภูมิใจที่คนกทม. สามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง ทั้งๆที่สื่อทุกจุดกระหน่ำว่า พล.ต.อ.พงศพัศพงษ์เจริญเก่งมีความสามารถนำกทม.ไปสู่ความสำเร็จและExit poll ทุกสำนัก บอกว่าพล.ต.อ.พงศพัศชนะ แต่พอคะแนนจริงออกมาก็หน้าแตกไปตามๆกัน มี exit poll ไปเพื่ออะไร ? ทำไมถึงผิดพลาดมากขนาดนั้น

บรรยากาศ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับคุณศิวโรฒ จิตนิยม ปราชญ์ชาวบ้านและคุณแรม เชียงกา ผู้นำชุมชนบ้านหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี

สุดท้ายอาทิตย์นี้ นอกจากทุนทางอารมณ์ Emotional Capital ที่พูดไปอาทิตย์ที่แล้ว ผมคิดว่าทุนแห่งความยั่งยืนของ8K ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผล 2-3 ประการประชานิยมของรัฐบาลชุดนี้สร้างปัญหาระยะยาว เพราะประเทศจะมีความมั่นคง และยั่งยืนได้อย่างไร ถ้าประเทศพึ่งตัวเองไม่ได้มีกรณีศึกษาที่ชุมชนบ้านหนองสาหร่ายกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต รุ่น 9 ที่กาญจนบุรี ชาวบ้านเน้นความดี คุณธรรมจริยธรรมมากกว่าเงิน แต่ผู้นำคุณศิวโรฒ จิตนิยมบอกว่าเดี๋ยวนี้สู้กับเงินลำบากมาก เพราะรัฐบาลทำประชานิยมจะให้ชาวบ้านพึ่งเงินของรัฐบาลตลอดเวลา นโยบายจำนำข้าวก็เป็นนโยบายที่ไม่สนับสนุนให้ชาวบ้านพัฒนาตัวเอง และพึ่งตัวเองไม่พัฒนาพันธุ์ข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ แต่ทุกคนได้ 15,000 เท่ากันหมด

นโยบายรถคันแรกก็เช่นกัน ไม่เน้นระยะยาวว่าจะมีเงินผ่อนหรือเปล่าขอให้ได้เงินคืนจากรัฐบาลก็พอ แต่แนวทางความยั่งยืนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทำไมชาวบ้านหรือนักการเมืองไม่เข้าใจ

“พวกเราก็ต้องทำงานหนักต่อไป”

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181


หมายเลขบันทึก: 531855เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2013 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท