โครงการ 2 ล้านล้าน : อย่ามองในแง่ดีข้างเดียว


บทเรียนจากความจริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่  30 มีนาคม 2556

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104   

โครงการ 2 ล้านล้าน : อย่ามองในแง่ดีข้างเดียว

คงไม่มีคนไทยคนไหนค้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล หลายคนอาจจะชื่นชมวิธีการคิดแบบธุรกิจของรัฐบาลชุดนี้ แต่อนาคตไม่มีใครทายได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขนาดประเทศใหญ่ๆ อย่างอเมริกา หรือยุโรป ยังมีปัญหาเศรษฐกิจอย่างคาดไม่ถึงและยังวุ่นวายมากมายทุกวันนี้ผมได้ยิน คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยกล่าวไว้ว่า อนาคตของประเทศไทยต้องทำ 3 อย่าง

1.โครงสร้างพื้นฐาน
2.การลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนา R&D ในทุกๆ สาขา
3.การพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์

บรรยากาศการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

จุดแรก ที่น่าวิตกก็คือ ความสมดุล ประเทศไทยอยู่ได้ด้วยความสมดุล หรือ Balance ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ประเทศไทยได้ดำเนินการมาตลอด การทุ่มเงินมหาศาลไปยังจุดใดจุดหนึ่งอาจจะดูว่าถูกต้องสำหรับบางกลุ่ม แต่ถ้ามองให้ไกลแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุล

ประเด็นที่ 2 คือ ประเด็นที่สำคัญเป็นหลักใหญ่ทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ คือ Trade-off ทุ่มทั้งหมดไปที่โครงสร้างพื้นฐาน เม็ดเงินไม่พอที่จะทำอย่างอื่น ในเศรษฐศาสตร์ 101 สอนโดย professor Samuelson ที่ทุกๆ คนต้องเรียนคือ ได้อย่าง เสียอย่างหรือ Trade-off ถ้า “More gun คือ less butter” กรณีของประเทศอาจจะพูดได้ว่า มีรถไฟความเร็วสูง การจะขาดพัฒนาทุนมนุษย์ที่จะเป็น ณ จุดนี้ ผมไม่ขัดข้อง เรื่องความจำเป็นของโครงสร้างพื้นฐานและอาจจะชื่นชมวิธีคิดของรัฐบาลชุดนี้ว่า คิดได้อย่างไร แต่ก็ต้องมองทุกๆ อย่างให้รอบด้าน อย่ามองได้ด้านเดียว

การที่รัฐบาลมองปัจจัยบวกว่าถ้าลงทุน 2 ล้านล้านแล้ว GDP จะเพิ่ม 1% และมีรายได้รัฐบาลจากภาษีเพิ่มขึ้น GDP เพิ่มจาก 4-5% เป็น 6-7% ต่อปีวิธีคิดแบบนี้ลืมไปว่า อนาคตไม่มีอะไรแน่นอน ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นใน 10 ปีข้างหน้า อาจจะทำให้รายได้ของรัฐบาลลดลง และในที่สุดหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ใช่ 50% ที่คาดไว้อาจจะเพิ่มเป็น 80-90% ต่อ GDPก็ได้

อีกประเด็นที่น่าพิจารณาก็คือ การคิดริเริ่มโครงการทำได้ดี แต่การนำโครงการมาปฏิบัติและหาคำตอบว่าคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนผู้อ่านต้องช่วยกันกระตุ้นให้มีข้อมูลเหล่านี้ออกมา

บางคนอาจจะยกย่องเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิเป็นผลงานคุณทักษิณเร่งจนจบ แต่อย่าลืมว่าคุณทักษิณทำงานต่อจากรัฐบาลประชาธิปัตย์นะครับ เพียงแต่มาทำต่อ และมีคดีเรื่องทุจริตอยู่ที่ ป.ป.ช. เกี่ยวกับโครงการสุวรรณภูมิอีกมากมาย เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างในสุวรรณภูมิที่ไม่โปร่งใสเพราะวิธีการของรัฐบาลคุณทักษิณจะเป็นวิธีที่หลีกเลี่ยงกฎหมายแบบฉลาดเฉลียว
ถ้าจะมองจุดอ่อนด้านอื่นๆ ยังมีมากมาย คุณทักษิณไม่ได้เก่งกาจหรือสำเร็จทุกๆ เรื่อง บางโครงการที่ผ่านมาก็กลายเป็นปัญหาคาราคาซังในปัจจุบัน เช่น

-แอร์พอร์ตลิ้งค์ (ไม่คุ้มเลย)
-จำนำข้าว

-รถคันแรก
-3 แสนล้าน อนุมัติ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ป่านนี้ยังไม่ได้เริ่มเลย

ปัญหาหลักๆ ก็คือ คิดได้ดี แต่คิดแค่เม็ดเงินเป็นหลัก แต่ไม่ได้คิดอย่างรอบคอบว่าโครงการไหนมาก่อน มาหลัง จะก่อสร้างอย่างไร ให้เสร็จและมีคุณภาพ การบริหารจัดการหลังจากโครงการเสร็จแต่ละโครงการจะบริหารอย่างไรและใครจะทำมีคนพูดว่า ปัจจุบันขนาดยังไม่มีโครงการใหญ่ๆ ประเทศไทยก็ขาดแคลนแรงงานฝีมือในช่วงก่อสร้างถ้าเริ่มโครงการ 2 ล้านล้านจริง จะหาแรงงานจะมาจากไหน และเมื่อก่อสร้างเสร็จ ได้ข่าวว่าการเสนอ พ.ร.บ.เข้าสภาฯ มีเอกสารประกอบน้อยมาก ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่รีบเร่ง เร่งรีบ หาเงินเพื่อการเลือกตั้งอีก2 ปี หรือคิดที่จะช่วยประเทศจริงๆ หรือ

จริงอยู่ในช่วงนี้ ประเทศไทยกำลังจะขาขึ้น
-ประเทศไทยจะเข้า AEC

-ธุรกิจใหญ่ๆ ก็อาจจะเป็นประโยชน์ แถมอาจจะขยายตลาดไป ASEN+6 หลายคนก็คิดว่าจะไปได้ดี
แต่ความไม่แน่นอน ที่คาดไม่ถึงมีมากมาย เช่น

-เกิดฟองสบู่แตกเรื่อง อสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน
-เกิดภัยแล้งติดต่อกัน 2-3 ปี

-อัตราแลกเปลี่ยนไทยเพิ่มขึ้น มาเป็น 25 บาทต่อดอลลาร์
ปัจจุบันเหล่านี้ ผู้นำรุ่นใหม่อย่าง Xi Jinping ถูกฝึกมาให้มองอนาคตความไม่แน่นอน

ลองมาดูพรรคเพื่อไทย ของคุณทักษิณ จะมีผู้นำทางการเมืองที่บริหารปัจจัยเหล่านี้ได้หรือไม่
-ความเสี่ยง

-ความไม่แน่นอน
-ความคาดไม่ถึงหรือไม่?

“รุกได้ครับ แต่ต้องรับให้เป็นด้วย” ผมต้องการพัฒนาแบบมั่นคงและยั่งยืน Sustainability Development ไม่ใช่ก้าวกระโดดและตกลงมาไม่เป็นท่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181


หมายเลขบันทึก: 531858เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2013 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท