ยางปลูกใหม่ฝ่าวิกฤติหน้าแล้ง


       หน้าแล้งที่ผ่านมาฝนทิ้งช่วงร่วม ๕๐ วัน(๓ มี.ค- ๒๐ เม.ย.) อุณหภูมิสูงสุดเมือต้นเดือนเมษายน ๔๑.๒ C และที่คนดูแลสวนรายงานว่าต้นยางตายประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ ต้น นั่นจริงเท็จอย่างไร เมื่อสงสัยจากข้อมูลประมาณการ เลยใช้คน ๓ คน เวลา ประมาณ ๑๒ ชม. นับดูพบว่าต้นยางอายุประมาณ ๖-๑๑ เดือนตายไปเฉลี่ย ๒๓% ขึ้นปีที่ ๒ ต้องปลูกซ่อมกันอีกรอบ รอให้ถึงฤดูฝนแบบเต็มตัวซะก่อน ยังไม่สาย แต่งานนี้เสียหายนับแสนบาท เลยทีเดียว

       จากการประเมินเบื้องต้น หลังจากปลูกยาง ๒ พันธุ์ คือพันธุ์ RRIT 251 และ RRIM 600 พบว่า พันธุ์ยาง RRIT 251 ไม่เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่แห้งแล้งยาวนานอย่างพื้นที่ภาคเหนือครับ (แล้งตั้งแต่ พย. ธค. มค. กพ. เม.ย. ร่วม ๕ เดือน) ปรากฏว่า RRIT 251 มีอาการต้นตาย เปลือกแห้ง  แต่ RRIM 600 สามารถทนอยู่ได้มากกว่า อัตราการเจริญเติบโตดีกว่า  แม้ RRIT 251 จะให้ผลผลิต ต่อไร่ ต่อปี จะดีกว่า แต่คงไม่ใช่ในที่แล้งจัดอย่างพื้นที่ภาคเหนือ  ถ้าเป็นพื้นที่ปักษ์ใต้ (ที่มีฤดูแล้งยาวเเพียง มี.ค. - เม.ย.)  ผลผลิตย่อมดีกว่าแน่นอน  แต่คงไม่ใช่ที่แล้งยาวตั้ง ๕ เดือน ดังกล่าว

หมายเลขบันทึก: 533581เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2013 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังค่ะ เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์นะคะ

รออ่านบันทึกต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท