ชีวิตช่วง Editing


ในบทความนี้ มีสองเรื่องที่เป็น 'คนละเรื่องเดียวกัน' คะ

เรื่องแรกขอใช้พื้นที่บันทึก ประสบการณ์เป็น (หนึ่งในทีม) editor หนังสือวิชาการ Palliative care ว่าทำอะไรบ้างคะ
เรื่องที่สองเป็นที่มาของคำว่า 'ชีวิตช่วง editing' :)

------------------------------------------------------------
เรียนรู้งาน Editor

1.ขั้นเตรียมการ

1.1.ร่วมกันวางเค้าโครง theme ของหนังสือ
1.2. ออกจดหมายเชิญผู้ทรงคุณวุฒิส่งบทความ  พร้อม 'คำแนะนำสำหรับเขียนต้นฉบับ' และ 'แนวทางเขียนอ้างอิง
       จุดสำคัญเพราะแก้ภายหลังยากคือ  อ้างอิงจะเอาแบบ อ้างอิง-citation (มีตัวเลขยกหรือวงเล็บท้าย)
       หรือ บรรณานุกรม-Biblography (บอกแต่รายชื่อบทความ หนังสือที่อ้างถึง)

2.ขั้นติดตามรวบรวมบทความ 

   หากเป็นผู้เขียนจากหลายสังกัด ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาเป็นปี และปวดหัวที่สุด บทเรียนสำคัญคือ

2.1  ควรหลีกเลี่ยงการส่งต้นฉบับทางอีเมล์ เพราะต้นฉบับหายเพราะเข้า junk บ้าง  สับสนฉบับใหม่เก่าบ้าง การส่งเป็น CD ก็สูญหายง่าย กว่าจะรวมต้นฉบับครบ
2.2 การให้ส่ง submit online น่าจะดีกว่า  เพราะเป็นระบบและสามารถขอ email/โทรศัพท์ติดต่อกลับภายหลังได้ด้วย

ภาพหน้าเวบไซต์ joomla ที่สร้างแบบฟอร์มโดย Proforms basic 
 

3. ขั้นตรวจทานและส่งพิมพ์

3.1. ส่วนของเนื้อหา : มักไม่มีปัญหา ที่พบบ่อยคือสำนวนพูด เช่นต้องตัดคำว่า "ก็"  

3.2  ส่วนของรูปภาพ แผนผัง ตาราง:  ที่เจอบ่อยคือเนื้อหาไม่ได้กล่าวถึงรูป/แผนผัง/ตาราง ที่นำมาแทรก 

       และ รูป/ผัง/ตาราง ไม่มีระบุที่มา

3.3 ส่วนของอ้างอิง : เป็นปัญหาเจอบ่อยที่สุด โดยเฉพาะหากผู้นิพนธ์เชี่ยวชาญในสาขาที่ไม่นิยมใช้ vancouver 

      เครื่องมือที่ช่วยได้มากคือ  Zotero   (มีผู้เขียนแนะนำใน gotoknow นี้คะ)

      แต่การอ้างอิง Vancouver จาก Zotero ชื่อ journal ออกมาไม่เป็นชื่อย่อ ต้องไปตรวจสอบชื่อย่อต่อที่นี่คะ  

3.4 เมื่อตรวจทานเรียบร้อย ส่งคณะกรรมการโครงการหนังสือตำรา และแก้ไขตามความเห็นของท่าน
      แก้ไขเสร็จทำหนังสือชี้แจงส่วนที่แก้ไขให้กรรมการพิจารณาอีกครั้ง
3.5 หากผ่านแล้ว จึงทำ index ท้ายเล่ม ทำก่อนหน้านี้ไม่ได้เพราะเมื่อแก้ไขจะทำให้เลขหน้าเลื่อน
3.6 ดำเนินการขอ ISBN โดยแนบ  'บทคัดย่อ' ของหนังสือ ให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
3.7 ส่งโรงพิมพ์ ใช้เวลาในการพิมพ์จริงๆ ประมาณ 2-3 สัปดาห์
      

ต้องขอขอบคุณ ผศ.พญ.บุษยามาส ชีวสกุลยง หัวหน้าทีมบรรรณาธิการ และคุณสุรีย์ ศิริสุภาเป็นอย่างยิ่งคะ

ที่ให้โอกาสข้าพเจ้าได้เรียนรู้ประสบการณ์ร่วมทำ หนังสือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เล่มนี้คะ 




###

ช่วงชีวิตแห่งการ 'Editing'

...
เสาร์นี้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อไทย (ข้าพเจ้าตั้งเอง) ว่า 'เริ่มเสีย: ตะบันหน้าเจ้าความกลัว'
Start: Punch Fear in the Face, Escape Average and Do Work that Matters

เขาพูดถึงชีวิตคนไว้ว่า
ช่วงอายุ 20's  ลองผิดลองถูก ทำนั่น โน่น นี่เยอะแยะไปหมด
                      = Learning
ช่วงอายุ 30's  เริ่มรู้ตัวว่าเราไม่ได้เจ๋งไปทุกเรื่อง เริ่มต้องเน้นทำสิ่งที่สำคัญ
                       = Editing 
ช่วงอายุ 40's  หากเลือกในตอน 30's ได้เหมาะสม เลือกทำในสิ่งที่รักก็จะทำได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ
                      = Mastering

ช่วงอายุ 50's  ตอนนี้คนที่ mastering จะได้ชื่อว่าเป็น Expert ในงานของตน การเก็บเกี่ยวความภาคภูมิใจ      
                      = Harvesting      
ช่วงอายุ 60's เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว เริ่มแนะนำแนวทางแก่คนรุ่นหลัง
                     = Guiding

ที่น่าสนใจคือ ในหนังสือบอกแม้ต้องเริ่ม editing, mastering,harvesting,guiding  ก็อย่าหยุด learning
วิถีชีวิตมีสองทางโดย วิถีเฉลี่ย (Average path) กับวิถีสุดยอด (Awesome path) 
ทั้งสองทางเริ่มที่ learning และลงท้ายด้วย guiding ทั้งคู่
..ต่างกันที่ 'ความชันและแคบ' ของเส้นทาง..และ guide ด้วยอารมณ์ไหน



...ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า
I am not an expert, I am only an editor (and learner)

หมายเลขบันทึก: 534081เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2013 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

อาจารย์เป็น "คุณหมอบางเวลา" ของผมไงครับ ;)...

ดูคล้ายๆ กับหลัง "อาศรม 4 " ของศาสนาฮินดูเลยนะครับ  ที่เขาแบ่งช่วงชีวิตออกเป็น  4 ช่วง  คือ

1.พรหมจารี   เป็นช่วงวัยเด็ก เป็นช่วงของการศึกษาเล่าเรียน

2. คฤหัสถ์    เป็นช่วงของการครองเรือน แต่งงาน มีบุตรธิดาสืบสกุล

3. วานปรัสถ์   เป็นช่วงชีวิตสันโดษ  ปฏิบัติธรรมหาความสุขทางใจ (เนื่องจากบุตรธิดาเติบโต เรียนจบและทำงานแล้ว)

4. สันยาสี     เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิต จะออกบวชเพื่อบำเพ็ญธรรมให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

ไม่ว่าถึงขั้นตอนไหน.. ขออย่าหยุด learning

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ป.


มีหลายช่วงในวัย 46 ปีค่ะ คุณหมอ กลับไป-กลับมา อยู่ 2-3 อย่างยังไม่ถึง  Harvesting  และ Guiding

หากอายุเกินจาก harvesting and guiding ไปเยอะหลายจะว่าอย่างไรหนอ 5555

ขอบคุณความรู้และเนื้อหาสะกิดใจค่ะ คุณหมอ ป.  สะกิดให้ปรับปรุงด่วนก่อนจะเลยวัยค่ะ  555

มาเรียนรู้ค่ะ คงจะแพ้ภาษาeng จึงไม่คล่องเลย  อิอิ

ขอบคุณค่ะที่ Editing จนทำให้ครูนกรู้ว่า Mastering ซึ่งคงต้องทุ่มเท และอดทนในการเป็น good learner

                       ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆ มาฝากค่ะ

ขอบคุณบทความดี ๆ นะคะอาจารย์หมอป.

ตั้งแต่เริ่มทำงาน  พยายามสร้างโอกาสให้มีสัดส่วนได้เลือกทำงานที่รักมากกว่างานที่ถูกกำหนดให้ทำ

ช่วงนี้สัดส่วนเป็นที่น่าพอใจมากแล้วค่ะ  คงไม่ได้ดั่งใจไปทั้ง ๑๐๐ %

ยอดภูของการเป็น Expert อาจไม่สูงนัก  (เพราะยังไม่ถึง ๕๐  อิ อิ)

เรียนรู้และเก็บเกี่ยวผลสำเร็จอย่างมีความสุขไประหว่างทางเสมอ

เรียน อาจารย์หมอครับ

ผมเพิ่งรู้วัยที่แท้จริงครับ...."ลองผิดลองถูก ทำนั่น โน่น นี่เยอะแยะไปหมด"

เป็น Learning ที่ผิดมากกว่าถูก (แต่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะครับ) ...แต่ผิดเป็นครูนะครับ

ผมคงไม่ค้นหา "ตัวตน" แล้วครับ...แต่พยายามเดินทางตามอัตภาพ

บนเส้นทาง "การเดินทางที่แสนพิเศษ" ครับ

ชอบบันทึกที่กลั่นและย่อยออกมาแล้วเกี่ยวกับบันทึกนี้มากครับ....มีประโยชน์เสมอครับ

>>>>

"สวนดอกไม้ล่องหน"...ผมไปเจอเจ้าของสวน...ที่เชียงคาน

เราไม่ได้เจอกันนานแล้วครับ...ตอนนี้เขาเป็นเจ้าของสวนดอกไม้ถึงสี่ร้อยดอก

เขาเพียรพยายาม ซื่อสัตย์ และอดทนทั้งชีวิตในการปลูกสวนดอกไม้ครับ

ผมรู้ว่า...ดอกไม้ที่เขาปลูก...ปลูกยากก็ยาก แต่ปลูกง่ายก็ง่าย

ผมเห็นความงดงามของดอกไม้ในสวนของเจ้าของสวน

เขามอบดอกไม้ให้ผมหลายดอก

ในหนึ่งนั้น...ขอมอบให้อาจารย์หมอนะครับ...

ผมรู้ว่า อาจจะไม่ส่งกลิ่นหอมเย้ายวนให้อาจารย์ดอมดม...แต่อยากให้เก็บดอกไม้นี้ไว้นะครับ

และอาจารย์ไม่ต้องส่งอะไรมาให้ผมเช่นเคยนะครับ

เพราะผมก็เป็นเจ้าของสวนดอกไม้ที่มีดอกไม้มากมายล้นสวนแล้วครับ



ขอบคุณคะอาจารย์ เป็นหมอบางเวลา ที่กำลังจะลอกคราบแล้วนะคะ :)


ขอบคุณ คุณอักขณิช นำ wisdom ทางตะวันออกมาอธิบายด้วยคะ

สำหรับตัวเอง กระโดดไปมาระหว่าง พรหมจรรย์-คฤหัสถ์-สันโดษ นี่แหละคะ


Learning เป็นสัญญาณของการมี Live นะคะ ขอบคุณคะ :)


ชื่นชมในความช่างคิดของคุณ Bright lilly คะ

หากเลย Harvesting กับ Guiding ไปอีกจะเป็นอะไร

คิดว่าน่าจะเป็นตำนาน (Legacy) คะ

สิ่งดีๆ ให้ระลึกถึง เคยฟังเรื่องความดีของอาารย์แพทย์ท่านหนึ่งผ่านพยาน

เวลาผ่านมา 30 ปี ก็ยังไม่ลืมเลือนคะ


เหมือนกันคะ เลยต้องใช้บ่อยๆ พิมพ์ผิดบ้าง เราก็มียามภาษาใจดีอย่างพี่โอ๋เตือนให้นะคะ :)


ขอบคุณคะครูนก 
สำหรับบางคน หนทาง editing ก็วกวนเหลือเกินคะ



ขอบคุณคะครูทิพย์ สำหรับบันทึกอาหารจานด่วนน่าสนใจหลายเมนู ขอเชิญร่วมสนุกกันอีกนะคะ


ประทับใจความเห็นของพี่หมออ้อคะ

 พยายาม 'สร้างโอกาส' ให้มีสัดส่วนได้เลือกทำงานที่รักมากกว่างานที่ถูกกำหนดให้ทำ


ขอบคุณมากคะ สำหรับของขวัญที่มาถึงวันนี้ ยิ่งรู้ที่มายิ่งภูมิใจ :)

เป็นกำลังใจให้กับ "การเดินทางที่แสนพิเศษ" 

มองคุณหมออดิเรก อย่างชื่นชมในความเป็นผู้ให้..ให้ในสิ่งที่น้อยคนจะทำได้

คือ ให้ความสำคัญ ให้คุณค่า กับเพื่อนมนุษย์คะ

ขอใช้พื้นที่บันทึกอีกประสบการณ์หนึ่ง ในการเป็น Reviewer ของ Abstract งานวิชาการนานาชาติคะ
หลักสำคัญ ที่ได้คำแนะนำจาก อ.สกล และ อ.เต็มศักดิ์
1. Oral presentation ควรเข้มงวด Methodology เป็นพิเศษ 
2. Poster presentation  อาจไม่ต้องเข้มเรื่อง Methodology แต่ยังต้องตรวจทาน Plagiarism  

เวบในการตรวจทาน Plagiarism
http://www.thepensters.com/plagiarism_checker/plagiarism-report.html?

เวบดูรูปแบบการเขียน Grammar ในภาพรวม แต่ดู Plagiarism ไม่ดีนัก
http://www.grammarly.com/?q=plagiarism&gclid=CLSuluK5s7cCFZCe4Aod2ncAwg

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท