บันทึกของปุ๊


เรื่องที่พวกเราชาว Diabetes Educator หนักอกหนักใจกันอยู่ทุกวันนี้ละคะ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีความรู้เรื่องเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของพวกเราอย่างยิ่ง

สวัสดีคะ น.ส ศิริพร สุขยานุดิษฐ์ Diabetes Educator ศูนย์เบาหวานและคลินิกสุขภาพเท้า ร.พ.เปาโล เมโมเรียล พหลโยธินคะ ในฐานะน้องใหม่ KM มีความใน (ใจ )มาเล่าให้ฟังคะ ก็เรื่องที่พวกเราชาว Diabetes Educator หนักอกหนักใจกันอยู่ทุกวันนี้ละคะ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีความรู้เรื่องเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของพวกเราอย่างยิ่ง ผู้ป่วยเบาหวานของ ร.พ.เปาโลฯ จะได้รับการให้ความรู้จาก Diabetes Educator เกือบทุกครั้งที่มาพบแพทย์ และบ่อยครั้งที่เราต้องทำการทบทวนและเน้นย้ำในหัวข้อเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่นผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุม HbA1c ได้ตามเป้าหมายก็จะมาด้วยค่าเฉลี่ยเบาหวานสูงอยู่เรื่อยๆ แต่จะพยายามคุมอาหาร1-3วัน ก่อนมาพบแพทย์เพื่อให้ FBS ปกติ หรือผู้ป่วยที่มาด้วยแผล ก็จะมาด้วยแผลซ้ำๆเช่นกัน โดยเฉพาะแผลที่เท้า เหตุผลหลักๆ น่าจะมาจากขาดความตระหนักในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งจากผู้ป่วยเองและจากคนใกล้ชิด แม้จะทราบว่าจะเกิดผลตามมาอย่างไร แต่ผู้ป่วยก็ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ Diabetes Educator และทีมสหวิชาชีพ ที่จะต้องงัดเอากลยุทธ์ และวิธีการอันแยบยลต่างๆมาใช้กันเป็นรายๆไป มีประสบการณ์ตรง สดๆร้อนๆมาเล่าให้ฟังคะ เป็นเรื่องของญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ดิฉันให้ความเคารพ ท่านอายุ 66 ปี เป็นเบาหวานประมาณ 20 ปี มีแผลจากน้ำร้อนลวกที่ขา มา 1 เดือนแล้ว ไปทำแผลที่ร.พ.บ้างเป็นครั้งคราว ชอบให้ลูกหลานเวียนกันมาทำแผล จนกระทั่งวันที่ดิฉันเห็นแผล แผลมีการอักเสบบวมแดง และมีเนื้อตายเกิดขึ้นบ้างแล้ว เบื้องต้นได้ทำการตรวจประเมินแผล ตรวจMonofilament และถ่ายภาพไว้เพื่อประเมินแผลเป็นระยะๆ พร้อมแนะนำให้ไปพบแพทย์ ขณะเดียวกัน มีโอกาสพักอยู่ที่บ้านท่าน 2 วัน เราพยายาม Promote แผลของท่านทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็น ทำแผลวันละ 2 ครั้ง ยาแก้อักเสบ อาหารโปรตีนสูง นอนยกเท้าสูง แต่พฤติกรรมที่เห็นซ้ำๆทุกวันก็คือ แผลจะเปียกน้ำทุกครั้งที่อาบน้ำ ไม่ว่าลูกหลานจะหาสารพัดวิธีมาใช้ ก็ไม่ได้ผล จนเราท้อใจไปตามๆกัน ปัจจุบันเราก็ยังไม่คิดเลิกล้มความพยายาม

ที่จะให้ท่านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ เราไม่อยากเห็นท่านถูกตัดขา หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เราจะสู้กับท่านต่อคะ

 

หมายเลขบันทึก: 53501เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เป็นกำลังใจให้นะครับ
ทำงานแบบนักวิจัยคือเก็บข้อมูลแล้วนำมาแปรผลแต่ต้องเกิดองค์ความรู้ใหม่ อดทนและพยายามต่อไปครับ
คุณชาลิสา เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาบุคลากร ให้ได้ตรงตามความต้องการของ Foot Clinic Center ท่านที่อยู่ห่างไกล สามารถฝึกอบรม Care Giver หรือ อ.ส.ม ให้ทำหน้าที่เช่นนี้ได้ โดยส่งมาฝึกกับ อ.เชิดพงศ์ หรือที่อื่นใด ตามที่ท่านรู้จักคุ้นเคยเป็น Knowledge Sharing
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท