หนังสือเสียงจากระบบ Text to Speech


สืบเนื่องจากที่ได้มีโอกาสไปนั่งฟังการประชุมหลายๆ ที่ เกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีบกพร่องทางสายตา โดยผู้ร่วมประชุมเกือบทั้งหมดต่างเห็นว่า ยังไม่ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาหนังสือเสียงที่ใช้โปรแกรม Text to Speech แต่ให้ไปใช้วิธีเข้าห้องอัด บันทึกเสียงจากการอ่านจริงจะเหมาะสมกว่า

เลยต้องถือโอกาสเสนอความเห็นในทุกที่ประชุมว่า "ณ วันนี้สื่อสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา แทบจะไม่มีเลย" หากต้องรอคนมาอ่านบันทึกเสียง กว่าจะได้สักเล่มก็เสียเวลานาน และความเป็นจริง เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ณ วันนี้ก็มีโอกาสใช้โปรแกรม Text to Speech อ่านเนื้อหาต่างๆ จากเว็บไซต์อยู่แล้ว

กรุณาอย่างห่วงประเด็น "เสียงหุ่นยนต์" กันเลยครับ เพราะเด็กกลุ่มนี้คุ้นเคยเสียงนี้มาพอสมควร ควรให้ความสำคัญกับ "ปริมาณสื่อ" ที่จะให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงดีกว่าครับ

เพราะอย่างไร สื่อที่พัฒนาก็ไม่ได้ทำเพื่อพวกท่านที่ตาดี .... มองอีกมุมหนึ่งดีไหม

หมายเลขบันทึก: 535193เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากให้มีสื่อเสียงมากๆ ค่ะเพราะผู้พิการทางสายตารอคอยอยู่ เป็นอีกทางหนึ่งที่สำคัญซึ่งพวกเขาจะได้รับรู้สิ่งต่างๆ

เป็นประโยชน์มากครับผม ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท