ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก เกิดขึ้นเพราะใครกันแน่ ?


                                          ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก เกิดขึ้นเพราะใครกันแน่ ?

จากนโยบาย ของท่าน รมต.พงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อลดการต่อต้าน ต้องชี้แจ้งให้ชุมชนเข้าใจว่า รัฐบาลไม่มีกำลังงบประมาณจะพัฒนาโรงเรียนทุกแห่ง และไม่สามารถนำงบประมาณจากเงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน

ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่าโรงเรียนขนาดเล็กที่ สพฐ.ตั้งเป้ายุบรวมจะเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 60 คน ซึ่งต้องไปสำรวจว่าโรงเรียนที่อยู่ในข่ายจะยุบได้ทันทีมีจำนวนเท่าใด ทั้งนี้ โรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 120 คนลงไปทั่วประเทศ มีจำนวนประมาณ 17,000 โรงเรียน จากจำนวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยกว่า 31,111 โรงเรียนเป็นเรื่องที่ท้าทาย และอยู่บนคราบน้ำตาของประชาชนคนจนที่ไม่มีโอกาส  

นโยบายย่อมอยู่เหนือเหตุผล

แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพของเด็กนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่พ่อแม่อยากให้อยู่ใกล้บ้าน อยากให้อยู่ในชุมชน กับกลุ่มที่พ่อแม่ยากจนไม่สามารถส่งลูกไปที่อื่นได้ประกอบกับสามารถดูแลลูกได้สะดวกด้วย ดังนั้นการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กจึงเป็นการสร้างความทุกข์ยากให้เกิดขึ้นกับพ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่าจะเป็นการสร้างสุข


แต่รัฐมีหน้าที่ จัดการศึกษาเพื่อปวงชน อย่างเท่าเที่ยม

ความในรัฐธรรมนูญ  น่าจะเป็นตัวชี้วัดว่า "การแก้ปัญหาด้วยการยุบเลิกโรงเรียนที่ประชาชนเขาร่วมกันสร้างขึ้นมาแต่อดีตเพื่อลูกหลานของเขา    ทั้งๆที่นักการเมืองทั้งหลายเข้ามาแบบผลุดๆโผล่ๆ  ผู้บริหารทางการศึกษาบางท่านมาอยู่แบบสนองนโยบายเพื่อให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน  แล้วก็ย้ายหนี...."  มันน่าจะทำวิจัย ว่า " อะไรคือปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้การศึกษาไทยต้องเสื่อมคุณภาพ"


สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยและเครือข่ายองค์กรการศึกษา ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วย http://prachatai.com/journal/2013/05/46651ต่อแนวทางดังกล่าว โดยระบุว่า การยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในการแก้ปัญหาอันเกิดจากความล้มเหลวด้านการบริหารจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ใช้งบประมาณแผ่นดินสูงถึงปีละ 4 แสนล้านบาท แต่ล้มเหลวในการดูแลพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพและทั่วถึง ความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานของประชาชน ความไม่เป็นธรรมต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ต่อเด็กในด้านการเรียนรู้ และต่อชุมชน นอกจากนี้ยังทำให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากการบริหารจัดการศึกษาแบบรวมศูนย์ของรัฐด้วย

ทั้งนี้ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า หากกระทรวงศึกษาธิการไม่พร้อมที่จะบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนชุมชนให้มีคุณภาพได้ ขอเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาแก่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการศึกษาแก่ลูกหลานของตนเองตรงตามบริบทแวดล้อม สอดคล้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรม รวมถึงขอคืนพื้นที่การศึกษาให้แก่ชุมชน โดยส่งเสริมและมอบให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาดูแลบริหารจัดการ ตามแนวทางการศึกษาของชุมชน และการศึกษาทางเลือกที่มีความหลากหลาย

โดยหากกระทรวงศึกษาธิการยังเดินหน้ายุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 17,000 โรง โดยไม่รับฟังแนวทางจากภาคประชาชนนั้น สภาการศึกษาทางเลือกจะประสานองค์กรด้านการศึกษาทั่วประเทศจัดรณรงค์ครั้งใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและการรวมศูนย์อำนาจการจัดการศึกษาดังกล่าว 


หมายเลขบันทึก: 535372เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยกับแนวทางของสภาการศึกษาทางเลือกจ้ะ  เดินหน้าต่อไปจ้ะ  โรงเรียนของคุณมะเดื่อไม่อยู่ในข่ายยุบควบ  แต่ก็เข้าใจถึงปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กดีจ้ะ  เข้าใจดีว่า เหตุใดโรงเรียนขนาดเล็กจึงไม่สามารถจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ได้  และเห็นด้วยที่สุดกับ " สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง "  ทั้ง  5  ประการจ้ะ

สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยและเครือข่ายองค์กรการศึกษา เคยค้านตั้งแต่ รมต.คนที่แล้ว
แต่พอมาคนใหม่ก็เอาปัดฝุ่นกันอีก ... เซ็ง


 

การยุบโรงเรียน...ยุ่งยากกว่าการสร้างโรงเรียน...ปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่จะทำอย่างไร?กับนักเรียน ครู.และบุคลากรในโรงเรียน..ปัญหาใหญ่อยู่ที่จะทำอย่างไร?กับโรงเรียนและวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆภายในโรงเรียนมากกว่า...

Hi ดร. พจนา แย้มนัยนา  Ico48 "...ปัญหาใหญ่อยู่ที่จะทำอย่างไร?กับโรงเรียนและวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆภายในโรงเรียนมากกว่า..."

...I wonder if this is one main concern of schooling system. There is no mention of of providing safe (and free) transport for children affected. There is no mention of side effects on parents now that their children can be far, far away -- out of sight and out of own community where traditional culture and value can be of great concern. ...

We are treating our children like pets -- we do what we want and they must do what we want. SIgh!

...ดิฉันอาจจะเขียนสื่อความหมายออกไปไม่ดีนะ...แต่รู้สึกว่าคุณจะฉุนเฉียวมาก...และโดยมารยาทนี่ไม่ใช่บันทึกของคุณ......หากคุณเคยอยู่ในระบบราชการจะรู้ว่า...คุณจะต้องใช้คนที่จะต้องทำทะเบียนจำหน่ายวัสดุคุรภัฑณ์ที่เป็นของหลวงให้ถูกต้อง ถ้าไม่ชำรุดคุณก็จำหน่ายไม่ได้มีขั้นตอนมากมาย... แลัวอาคารโรงเรือนทั้งหมดของโรงเรียนคุณจะรื้อถอน ทุบทิ้งก็ไม่ได้ ถ้าจะทำอาคารนั้นก็ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ในระหว่างที่ยังทำอะไรไม่ได้จะทิ้งอาคารไว้อย่างไร?ต่างหาก...ส่วนนักเรียนรมต.กระทรวงศึกษาชี้แจงว่ามีทางออก...ดิฉันก็อยากจะรู้ว่าเขาจะจัดการเรื่องโรงเรียนกับวัสดุครุภัณฑ์อย่างไร?...

ยอมรับท่าน ดร.พจนา ท่านเข้าใจชัดเจนมาก ...ปัญหาที่ตามมาเยอะมาก รมต.พูดอะไรง่ายๆ ในทางปฏิบัติ ยังมีเรื่องยากๆอีกเยอะ ครับ ...ขอบคุณครับ

My apologies for the "tone" of my previous "terse" comment above.

1) I understand your point on issues of disposition of asset.

2) I saw that was a defeatistic response -- accepting school closure as evitable.

3) I did not see how affected children would be helped with transport to/from their new school.

4) I wondered if issues from relocation say from one hill tribe community school to another different hill tribe school or to one in town; or from one islamic school to a buddhist school; ... have been considered.

5) I beg forgiveness for my intrusion and poor communication. No offence was intended.

6) Mr Todsapol please fogive me for using your space withour due consideration. I support your call to keep small community schools open and "funded by government".

May I Mr Todsapol, add this to support your post? You are not alone!

"สนธิ" แนะกระจายอำนาจสู่โรงเรียนท้องถิ่นแทนการยุบ ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 พฤษภาคม 2556 23:41 น.  http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000056411
   
..."สนธิ" แนะกระจายอำนาจสู่โรงเรียนท้องถิ่นให้ชาวบ้านดูแลกันเอง รัฐเพียงแต่ทำหน้าที่วัดมาตรฐาน ส่งครูดีมีคุณภาพลงไป เชื่อแก้ปัญหาได้ดีกว่าการยุบทิ้ง ชี้ซื้อรถตู้รับส่งนักเรียนค่าใช้จ่ายต่างๆจะตามมา ต้องใช้งบจำนวนมากอยู่ดี... 

...นายสนธิ กล่าวอีกว่า ทุกวันนี้ครูถูกส่งไปประจำที่ต่างๆ มุ่งมั่นจะต้องปรับวิทยฐานะตัวเอง ทำวิจัยเพื่อให้ตัวเองได้เลื่อนตำแหน่ง จนลืมหน้าที่เบื้องต้นที่สุดที่สำคัญ คือทำอย่างไรจะสอนหนังสือให้ดี เป็นที่ปรึกษาให้เด็ก เป็นที่พึ่งให้ความอบอุ่นให้เด็กได้ ทำอย่างไรจะทำตัวเป็นพ่อแม่ของเด็กแทนพ่อแม่ตัวจริงซึ่งอยู่ที่บ้าน...

...ทำไมโรงเรียนไม่จับมือกับวัด พัฒนาทุกตำบล ทุกหมู่บ้านมีวัดหมด เอาครู เอาพระไปเป็นครู หรือ เอาครูไปอยู่กับวัด แล้วคนไปทำบุญที่วัด ทอดผ้าป่าการศึกษา แล้วหลวงพ่อเอาเงินกองทุนผ้าป่านี่มาสร้างอาคาร แบบนี้เป็นการกระจายอำนาจที่แท้จริง ถ้ากระจายอำนาจลงไปทุกโรงเรียนแล้ว ไม่ควรที่จะมีโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษา ทุกโรงเรียนที่สังกัดกระทรวงศึกษาที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆต้องโอนให้จังหวัดหมด ให้จังหวัดเขาดูแลเรื่องครูเอง แล้วกระทรวงศึกษาธิการหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานอย่างเดียว เช่น เด็กจบ ป.7 มาตรฐานภาษาอังกฤษต้องแค่นี้ คณิตศาสตร์ต้องแค่นี้ แล้วเอามาตรฐานนี้ไปสอบเทียบ โรงเรียนไหน จังหวัดไหน สอบไม่ได้มาตรฐานก็ต้องไม่ให้ผ่าน...
   
 ...แล้วคนในจังหวัดก็จะร่วมลงขันกัน ตำบลไหนหมู่บ้านไหน มีโรงเรียนเล็กๆ งบประมาณมีน้อย อย่างน้อยที่สุดชาวบ้านรู้ว่าเป็นโรงเรียนของเขา ในเมื่อ อบจ. ต้องการเสียงชาวบ้านก็ต้องหาทางที่จะปันส่วนลงไปให้กับทางด้านหมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนั้นก็สามารถไประดมทุนทอดผ้าป่าการศึกษา...

 การศึกษา 'โง่เข้าไว้ง่ายปกครอง'  เปลว สีเงิน 11 May 2556
http://www.thaipost.net/news/110513/73376

  นี่...ถ้าจะพัฒนาประเทศกันจริงๆ นะ ไม่ใช่ไปยุบโรงเรียนขนาดเล็กตามบ้านนอก-บ้านนา-ป่าดง อันเป็นช่องทางแคบๆ "ช่องทางเดียว" ในโลกกว้าง สำหรับเพาะเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่ไกลแสงให้เติบกล้า เป็นร่มสัก-ร่มไทรของชาติในอนาคต
  ถ้าคิดจะยุบในกรอบความคิด "ปฏิรูปการศึกษา" จริงๆ ละก็ "ยุบกระทรวงศึกษาฯ" พร้อมทั้ง "พักงาน" ข้าราชการระดับบริหารในกระทรวงทั้งหมดไว้ก่อน...นั่นแหละ
  จะเห็น "อนาคตประเทศไทย" ที่ใสสว่าง!
...การพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง ต้องพัฒนาคนให้เป็นคน คือมีสติปัญญา รู้ดี-รู้ชั่ว รู้ตัวหนังสือแล้วยังต้องรู้วิทยาการโลกและการดำรงชีวิตตามลักษณะพื้นที่อยู่อาศัยด้วย นี่คือ "ประชานิยม" ที่ถูกต้อง-ของแท้ ...โรงเรียนขนาดเล็กห่างไกลนั่นแหละดี สอนลูกชาวบ้านแล้ว ก็ให้ สสค.ลงไปศึกษาพื้นที่ แล้วชักชวนพ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย มาใช้โรงเรียนนั้น "เสริมสร้างคน" จะสอนภาษา หรือสอนอาชีพ ก็ว่ากันไป ขึ้นชื่อว่าเรียน-ว่าสอน อย่าไปจำกัดในกะลาว่าต้องเด็กเท่านั้นที่ต้องเรียน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท