พริก...อันตราย


ผมย้อนกลับไปในพื้นที่ที่ทำงานเก่าอีกครั้งเพราะต้องทำการสรุปงาน 12 ปี ในช่วงทำงานรับผิดชอบเป็นผู้จัดการสนามนั้นส่วนใหญ่ผมจมอยู่ที่มุกดาหาร อีกสามจังหวัดของโครงการไม่ค่อยได้ไป คือที่ มหาสารคาม ขอนแก่น สกลนคร
ที่ขอนแก่นมีกิจกรรมหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมาก คือ กลุ่มปลูกผักอินทรีย์ ที่ได้มาตรฐาน GAP แล้ว และที่เคยรายงานว่าตลาดผักอินทรีย์ คือ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น และ ตลาดชุมชนในท้องถิ่น วันไหนเอาผักไปส่งโรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ก็เลยไปตั้งตลาดผักง่ายๆที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ อาจารย์สินี ผู้มีส่วนร่วมในโครงการ คฟป. อยู่ที่นั่น และเป็นผู้แนะนำให้ไปขายผักปลอดสารพิษที่นั่น ซึ่งได้รับการตอบสนองที่ดี ก็เพื่อนร่วมงานที่เป็นแม่บ้าน พ่อบ้านทั้งหลาย ก็จะมาซื้อผักตุนเอาไว้ตลอดสัปดาห์ จะได้ ไม่ต้องออกไปซื้อผักที่ตลาดโดยเชื่อใจความปลอดภัยของผักจากชาวบ้านนี้

อาจารย์สินีทำงานต่อเนื่องไปอีก คือ เห็นลูกกค้าติด ก็ถือโอกาสเชิญกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่รู้จักคุ้นเคยกันมาทำการตรวจการปนเปื้อนสารพิษในเลือด ของบุคลากรสำนักงาน และลูกค้าผักทั้งหลายฟรี พร้อมทั้งจัดการเวทีให้ความรู้ไปด้วย โดยคณะแพทย์ที่ชำนาญการทางด้านนี้โดยตรง
การตรวจภาวะการปนเปื้อนสารพิษในเลือดของทุกคนนั้นพบว่า กลุ่มลูกค้าซื้อผักกินทั้งหลายนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงมาก ตรงข้าม ชาวบ้านที่มาขายผักนั้น ปลอดภัยไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเลย..???
หลังจากนั้นแล้วก็เชิญกลุ่มเสี่ยงทั้งหลายเข้าห้อง ให้ความรู้ ให้คำแนะนำและพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มีทีมงานอาจารย์สินีคนหนึ่งถามแพทย์ว่า ที่เขาเป็นกลุ่มเสี่ยงนั้น คุณหมอกรุณาบอกสาเหตุและทางป้องกันแก้ไขได้ไหม


คุณหมอเล่าว่า จากการศึกษากลุ่มเสี่ยงของคนในอีสานพบว่า เพราะคนอีสานกินเผ็ดมาก โดยเฉพาะส้มตำและพริกป่นที่ใส่ก๊วยเตี๋ยว และอาหารอื่นๆ ไม่ใช่ความเผ็ดเป็นเหตุผลของการเป็นกลุ่มเสี่ยง แต่เพราะความเผ็ดนั้นมาจาก "พริก" จากการศึกษาของคณะแพทย์พบว่า พริก ที่ชาวบ้านปลูกนั้นต้องใช้สารเคมีมากที่สุดเพราะพริกเป็นพืชที่มีโอกาสเป็นโรคมาก เช่น โรคใบหงิก เชื้อรา หนอน... แล้วเกษตรกรที่ทำการผลิตพริกเพื่อขายก็นิยมใช้สารเคมีกำจัด และมักใช้เกินอัตราที่แนะนำ....
ที่ร้ายที่สุดๆ และเป็นเหตุสำคัญของการเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดเลือดมีการปนเปื้อนสารพิษคือ เอาพริกมาประกอบอาหารแล้ว “ไม่ได้ล้างทำความสะอาดก่อน” ....???? พริกป่นตัวดี ยังมีโอกาสเสี่ยงที่มีเชื้อราปนเปื้อนอีก เพราะกระบวนการผลิตไม่สอาดและไม่ปลอดภัย

งานนี้มีคนประกาศเลิกกินพริกไปด้วยเลย

นี่เป็นกิจกรรมต่อเนื่องสิ่งหนึ่งจากการเข้าไปส่งเสริมการปลูกพืชผักอินทรีย์ หาตลาดให้ และสำหรับผู้บริโภคยังมีบริการตรวจสารปนเปื้อนในกระแสเลือดอีก นี่คือกิจกรรมต่อเนื่องที่สร้างประโยชน์แก่สังคม
อาจารย์สินีที่สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังคุยกันต่อว่า จะทำอาหารขายกันเองโดยใช้ผักจากกลุ่มนี้มาประกอบอาหาร (Social enterprise) เช่น สลัดผัก เป็นต้น ตอนนี้ก็เริ่มทดสอบน้ำสลัดสูตรต่างๆกันแล้ว....


เป็นความต่อเนื่องของโครงการ คฟป. ที่บ่งถึงปัจจัยของความยั่งยืน

เป็นการสะท้อนถึงแนวคิดที่เป็นจริงขึ้นแล้วของท่าน ลธก.ที่อยากเห็นความร่วมมือระหว่าง ส.ป.ก. ชาวบ้าน และสถาบันต่างๆในท้องถิ่น..ที่จะหนุนเนื่องความยั่งยืนของกิจกรรมชุมชน


หมายเลขบันทึก: 538266เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พริกทุกชนิดต้องใช้สารเคมีเข้าช่วยหลายอย่าง ทั้งยาฆ่าแมลง ยากำจัดเพลี้ย และกำจัดเชื้อรา  ไม่งั้นเอาไม่อยู่

เท่าที่เห็นชาวบ้านเขาปลูกไว้กินเองต่างหากนะครับ  โดยไม่ใช้สารเคมีช่วยแต่อย่างใด

ส่วนพริกที่ปลูกสำหรับขายนั้น ใช้สารเคมีเยอะมาก  งานนี้ผู้บริโภครับเคราะห์เต็มๆ เลยละครับ

ขอบคุณครับ อักขณิชครับ เราๆ ท่านๆ พอจะทราบเรื่องนี้ เพราะวนเวียนในวงการที่เกี่ยวข้อง แต่เพื่อนฝูงจำนวนมากไม่ทราบ หรือทราบแต่แค่ผ่านๆไป ไม่ได้ให้คามสำคัญ ไม่ได้ระมัดระวัง  เนี๊ยะ พอตรวจการปนเปื้อนในเลือดก็พบว้่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเข้าแล้ว  เต้นกันใหญ่เลย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งนะครับ ที่เสี่ยงจากอื่นๆมีอีกมากมายที่เราเรียกว่า เห็น(พริก)แต่ไม่เห็น(อันตราย)
ขอบคุณครับ

Good to hear about the good work of many good people,

Quality of life and Quality of society are not that fat away as I had thought. (I don't talk about quality of governance ;-) yet.

  You don't talk about quality of governance ;-)  Ha Ha Ha Ha..... I agree.  This is record of Development Project Impact that ALRO implemented along 12 years in 4 NE province. Thanks SR.


พี่บูทครับ ที่บ้านผมปลูกพริกกินเอง เลยไม่มีเรื่องสารพิษมาเกี่ยวข้องครับ ^_^

มาด้วยความคิดฮอดเด้อ 

ตอนนี้ปลูกพริกกินเองแล้ว555

มันทั้งสดอร่อย ขบกรอบรสซ่าส์พอทน

แต่กินด้วยความมั่นใจหลาย

เสียรู้มานาน พอจะมีทางล้างของเก่า

ของเสียออกจากกระแสเลือดบ้างไหมค่ะท่านบางทราย

สวัสดีครับครูครับ  คึดฮอดเช่นกันครับ  ที่บ้านผมก็ปลูกพริกเช่นกันครับแม้ว่าจะไม่งามเท่าไหร่เพราะโรคเยอะ ต้องคอยเอาสมุนไพรมาพ่น แต่ก็ดีกว่าซื้อมาครับ

การล้างพิษนั้นผมมิกล้าแนะนำครับ  แต่ผมใช้วิธี ทานผักที่ปลูกเอง หรือที่ซื้อมาจากชาวบ้านที่ปลูกผักโดยอินทรีย์ที่มีการรับรองกัน มีอีกทางคือ ดื่มน้ำคั้นใบย่านางครับ ที่ตลาดพื้นบ้านแถวบ้านผมจะมีลุงแก่ท่านหนึ่งเอาน้ำใบย่านางมาขายประจำแล้วก็บอกสรรพคุณเรื่องการล้างพิษครับ  ลองดูนะครับ ที่บ้านผมก็เอาย่านางไปปลูกอยู่ แต่ยังไม่โตครับ..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท