ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 40


- การแจกนาม (ยังไม่จบ)

- การเปรียบเทียบคุณศัพท์

- กริยาย่อย (กริยากฤต)

การแจกนามที่มีการานต์แปลกๆ ยังไม่จบนะครับ แต่บางครั้งก็จะต้องรวบกับเรื่องอื่น เพื่อจะได้ไม่เสียเวลา ดังเช่นการเปรียบเทียบคุณศัพท์ จะต้องรู้วิธีแจกนามที่ลงท้าย ยำสฺ เป็นต้น ดังนั้น เข้าเรื่องกันเลย

1. การเปรียบเทียบคุณศัพท์ ขอให้นึกถึงภาษาอังกฤษ เช่น tall (สูง, คำปกติ), taller (สูงกว่า, คำเปรียบเทียบ), โดยมีการเติมเสียงท้ายเข้ากับคำเดิม ในภาษาสันสกฤตก็เช่นกัน หากจะบอกว่า --กว่า ให้เติมเสียง - ยำสฺ ท้ายคุณศัพท์นั้น โดยมีหลักดังนี้

ก. สำหรับ นามเพศชายและเพศกลาง เติม ยำสฺ ที่วิภักติแข็ง

(สำหรับเพศชายคือกรรตุการก ทั้ง 3 พจน์, และกรรมการก เฉพาะ เอกและทวิ, สำหรับเพศกลาง คือ กรรตุการกและกรรมการก พหูพจน์)

แต่โดยมากจะเป็นรูป อียำสฺ (การแทรกเสียง อี แบบนี้ยังพบได้มากในภาษาสันสกฤต ต้องคอยสังเกตกันต่อไป, ที่อ่านๆ มา ว่ากันว่าในภาษาอังกฤษเองก็แทรกเสียงอีหน้าปัจจัยบ้างเหมือนกัน)

ข. สำหรับ นามเพศชายและเพศกลาง วิภักติอ่อน (การกที่เหลือทั้งหมด) ให้เติม ยสฺ (โดยมากจะเป็น อียสฺ)

ค. กรรตุการก เอก เพศชาย ลงท้าย ยานฺ, อาลปนะ เอกพจน์ เพศชาย ลงท้ายเป็น ยนฺ

ง. เพศหญิง เพียงแต่เติม -ยสี  แล้วแจกแบบนามสระอีการานต์

ตัวอย่าง คำว่า ศฺเรยสฺ (ดีกว่า)  คำนี้เป็นรูปสำเร็จมาแบบนี้เลย แต่ตามประวัติว่า น่าจะมาจาก ศฺร แล้วเติม อียำสฺ  

เพศชาย

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा श्रेयान् श्रेयांसौ श्रेयांसः
सम्बोधनम् श्रेयन् श्रेयांसौ श्रेयांसः
द्वितीया श्रेयांसम् श्रेयांसौ श्रेयसः
तृतीया श्रेयसा श्रेयोभ्याम् श्रेयोभिः
चतुर्थी श्रेयसे श्रेयोभ्याम् श्रेयोभ्यः
पञ्चमी श्रेयसः श्रेयोभ्याम् श्रेयोभ्यः
षष्ठी श्रेयसः श्रेयसोः श्रेयसाम्
सप्तमी श्रेयसि श्रेयसोः श्रेयःसु

เพศกลาง

नपुंसकम् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा श्रेयः श्रेयसी श्रेयांसि
सम्बोधनम् श्रेयः श्रेयसी श्रेयांसि
द्वितीया श्रेयः श्रेयसी श्रेयांसि

แบบฝึก
จงแจกนาม ครียำสฺ (น่าเคารพ) ทั้งสามเพศ

2. นามที่ลงท้าย อนฺ (อนฺตฺ) วนฺ (วนฺตฺ) และ มนฺ (มนฺตฺ)  คำนามพวกนี้จัดไว้ในหัวข้อเดียวกัน เพราะ คำที่ลงท้ายพวกนี้ เป็นปัจจัย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
ก. พวกที่ลงท้ายด้วย อนฺ (อนฺตฺ) เป็นปัจจัยของกริยากฤต มีทั้งปัจจุบันกาล และอนาคตกาล (เสียงท้ายสุดเหมือนกัน)
ข. พวกที่ลงท้ายด้วย มนฺ (มนฺตฺ) และ วนฺ (วนฺตฺ) เพื่อบอกความเป็นเจ้าของ เช่น หิมวนฺตฺ (มีหิมะ)
คำพวกนี้ แจกตามวิภักติแข็งและวิภักติอ่อน
*โปรดสังเกตว่า รูปอ่อนคือ อนฺ, วนฺ, มนฺ รูปแข็งคือ อนฺตฺ, วนฺตฺ, มนฺตฺ

ดูตัวอย่างเลยดีกว่า

..

ชาย

  ชีวนฺตฺ

..

..

กลาง

"ชีวนฺตฺ"

...

..

เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

..

เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรรตฤ

ชีวนฺ

ชีวนฺเตา

ชีวนฺตสฺ

ชีวตฺ

ชีวนฺตี

ชีวนฺติ

อาลปนะ

ชีวนฺ

ชีวนฺเตา

ชีวนฺตสฺ

ชีวตฺ

ชีวนฺตี

ชีวนฺติ

กรรม

ชีวนฺตมฺ

ชีวนฺเตา

ชีวตสฺ

...

ชีวตฺ

ชีวนฺตี

ชีวนฺติ

กรรณ

ชีวตา

ชีวทฺภฺยามฺ

ชีวทฺภิสฺ

...

ชีวตา

ชีวทฺภฺยามฺ

ชีวทฺภิสฺ

สัมประทาน

ชีวเต

ชีวทฺภฺยามฺ

ชีวทฺภยสฺ

...

ชีวเต

ชีวทฺภฺยามฺ

ชีวทฺภยสฺ

อปาทาน

ชีวตสฺ

ชีวทฺภฺยามฺ

ชีวทฺภยสฺ

...

ชีวตสฺ

ชีวทฺภฺยามฺ

ชีวทฺภยสฺ

สัมพันธ

ชีวตสฺ

ชีวโตสฺ

ชีวตามฺ

...

ชีวตสฺ

ชีวโตสฺ

ชีวตามฺ

อธิกรณ

ชีวติ

ชีวโตสฺ

ชีวตฺสุ

...

ชีวติ

ชีวโตสฺ

ชีวตฺสุ

แบบฝึก
จงแจกนาม นยนฺตฺ (√นี), ติษฺฐนฺตฺ (√สฺถา)

3. กรณีที่กริยาของประธาน บุรุษที่ 3 พหูพจน์ ไม่มี นฺ (ซึ่งตามปกติจะเป็น -นฺติ) รูปอ่อนกับรูปแข็งจะเหมือนกัน พบได้ในกรณีของธาตุหมวด 3 ซึ่งต้องซ้ำเสียงธาตุ เช่น หุ > ชุหฺวติ ได้เค้าเป็น ชุหฺวตฺ แล้วนำไปแจก เพศชายได้ ชุหฺวตฺ, ชุหฺวตมฺ, ชุหฺวเตา, ชุหฺวตสฺ ฯลฯ เพศกลางได้ ชุหฺวตฺ ชุหฺวตี ชุหฺวติ (บางตำราว่าแทรก นฺ ได้ ใน เพศกลาง การก 1-2-8 พหูพจน์ฺ) สำหรับกริยากฤตปัจจุบันกาล (ไว้อธิบายอีกที)

4. ทีนี้ก็มีข้อยกเว้นที่น่าปวดหัว คือ กริยากฤตปัจจุบันกาล เพศกลาง การก 1-2-8 ทวิพจน์ จะแทรก -นฺ เสมอ สำหรับเค้าจากธาตุหมวด 1 หมวด 4 และกริยาบอกเหตุ (รวมธาตุหมวด 10)

5. อีกนิดหนึ่ง สำหรับกริยากฤตปัจจุบันกาล จากธาตุหมวด 6 และหมวด 2 ที่ลงท้ายด้วย -อา, และกริยากฤต อนาคตกาลทั้งหมด จะแทรก นฺ หรือไม่ ก็ได้ (รายละเอียดค่อยว่าอีกที)

6. กริยากฤตทั้งหมด และทุกรูปที่ลง อตฺ, จะลบ -นฺ ในเพศกลาง ทวิพจน์ ตัวอย่างเช่น เค้า อทตฺ จาก √อทฺ เมื่อเป็นทวิพจน์จะได้ อทตี (อทตฺ+อี)

7. คุณศัพท์ มหนฺตฺ (ใหญ่) คำนี้ใช้บ่อย แจกรูปแบบนี้ สังเกตรูปที่เหมือนและแตกต่าง ดังนี้

เพศชาย

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा महान् महान्तौ महान्तः
सम्बोधनम् महान् महान्तौ महान्तः
द्वितीया महान्तम् महान्तौ महतः
तृतीया महता महद्भ्याम् महद्भिः
चतुर्थी महते महद्भ्याम् महद्भ्यः
पञ्चमी महतः महद्भ्याम् महद्भ्यः
षष्ठी महतः महतोः महताम्
सप्तमी महति महतोः महत्सु

เพศกลาง

नपुंसकम् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा महत्   महती   महान्ति
सम्बोधनम् महत् महती महान्ति
द्वितीया महत् महती महान्ति

ที่เหลือเหมือนกัน...


ศัพท์

ธาตุ

  • √นินฺทฺ (นินฺทติ) ตำหนิ
  • √ราชฺ (ราชเต) ส่องแสง, ปกครอง
  • √สฺฤ + อป (อปรติ) ไปไกล. บอกเหตุ (อปสายติ) ไล่ออกไป

นาม

  • อาทิตฺย ปุ. พระอาทิตย์
  • ครียำสฺ น่าเคารพ
  • ททตฺ (กริยากฤต ปัจจุบันกาล จาก √ทา) ให้
  • ปฺรกาศินฺ, ส. ประกาศี  สว่าง ให้แสงสว่าง
  • ภูต, ส. ภูตา  กลายเป็น (กริยากฤต อดีตกาล จาก √ภู) กลายเป็น; นปุ. สัีตว์โลก
  • วตฺส ปุ. ลูกวัว
  • ศฺเรยำสฺ ดีกว่า ดีที่สุด; นปุ. การปลดปล่อย
  • สนฺตฺ (นปุ. สตฺ) เป็นอยู่; ปุ. คนดี; ส. สตี ภรรยาที่ซื่อสัตย์
  • กริยาวิเศษณ์
  • ศฺวสฺ พรุ่งนี้
  • หิ แน่นอน, จริงๆ, เพราะว่า

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

सन्तोsपि न हि राजन्ते दरिद्रस्येतरे गुणाः.

आदित्य इव भूतानां श्रीर्गुणानां प्रकाशिनी/ 11/

  • तिष्ठन्तं गुरुं शिष्यो’नुतिष्ठेद्गच्छन्तमनुगच्छेद्धावन्तमनुधावेत् |1
  • गरीयसः (acc. pl.) श्रेयसे पूज्येत् |2
  • धनिनस्तपस्विभ्यो धनं ददतः शस्यन्ते |3
  • स्निह्यन्तीं भार्यां त्यजन्निन्द्यते |4
  • जीवतः पुत्रस्य मुखं पश्यन्तौ पितरौ तुष्यतः |5
  • भ्रात्रो (gen. du.)रामो यशसा गरीयान् |6
  • एतेषां वणिजां धनानि महान्ति वर्तन्ते |7
  • कुप्य्ते मा कुप्यत |8  ชอบข้อนี้ ลองอ่านหลายๆ รอบ
  • उद्याने पतद्भ्यो विहगेभ्यो धान्यं किरतीः कन्या अपश्यम् |9
  • पित्रोर्जीवतोर्भ्रातरः स्वसारश्च तयोर्धनस्य स्वामिनो न भवेयुः |10
  • धेनुं धयन्तं वत्सं मापसारय |11
  • गुरुषु पिताचार्यो माता च गरीयांसः |12
  • त्वयि जीवति सुखेन वयं जीवामः |13

2. แปลไทยเป็นสันสกฤต

  1. เราย่อมตำหนิ ซึ่งคนรถทั้งหลาย ผู้ตีอยู่ ซึ่งม้าทั้งหลาย
  2. พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ลงทัณฑ์อยู่ ซึ่งคนบาปทั้งหลาย และผู้ให้อยู่ ซึ่งอาหาร แก่คนดีทั้งหลาย ย่อมถูกสรรเสริญ
  3. พระราชาผู้ชนะอยู่ในการรบ ย่อมได้รับเกียรติยศอันยิ่งใหญ่
  4. ในบรรดาดวงดาวทั้งหลาย ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นใหญ่
  5. ในทุ่งนา ฉันเห็นแล้ว ซึ่งนกทั้งหลายกำลังบิน
  6. เขา ผู้มีชีวิตวันนี้ ย่อมตายวันพรุ่งนี้
  7. ฉันเห็นแล้ว ซึ่งนกทั้งหลายที่บินอยู่ในทุ่งนา
  8. คำพูดของคนดีย่อมถูกทำ (√กฺฤ)
  9. จงอาศัย ในบรรดาคนดีทั้งหลาย
  10. หญิงสาวที่กำลังร้อย (√สฺฤชฺ) มาลัยทั้งหลาย นั่งบนหิน
  11. สามีพึงลงโทษภรรยาผู้กำลังขโมยทรัพย์
  12. ความกลัวของเด็กจากผึ้งทั้งหลายที่บินว่อนอยู่ (√ภฺรมฺ) ในบ้าน ย่อมมีอยู่


หมายเลขบันทึก: 538741เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (92)

อาจารย์ค่ะ คือพวกคำคุณศัพท์ขั้นกว่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคำสำเร็จรูปมาให้เราอยู่แล้วใช่ไหมค่ะ เราแค่จับคำสำเร็จรูปนั้นมาสนธิกับวิภักตินามในเพศต่างๆ เช่น คำตัวอย่าง  ครียำสฺ (น่าเคารพ) ต้องแปลว่าน่าเคราพกว่า ?

ใส่คำว่า ''กว่า'' เข้าไปด้วยใช่ไหมค่ะ คือให้ดูที่ปัจจัยด้านหลังของคำคุณศัพท์สำเร็จรูปนั้นๆที่ลงท้ายด้วย ยำสฺ หรือ อียาสฺ ก็จะแปลว่า ''กว่า'' ไปในตัวอยู่แล้วใช่ไหมค่ะ

หนูอยากให้อาจารย์ลองยกตัวอย่างการประกอบคำคุณศัพท์ขั้นกว่าให้ดูสักสองสามคำค่ะ ว่าต้องทำอย่างไร

คือหนูไม่รู้ว่าเติมท้ายอย่างไร ทั้งนี้จะลองยกคำคุณศัพท์ในบทเรียนที่ผ่านมาดูสักสองสามคำนะค่ะ

- กฺฤษฺณ จะทำให้เป็นดำกว่าทำอย่างไรค่ะ กำหนดให้เป็น กรรมการก - เอกพจน์ คือ

กฺฤษฺณ + ยำสฺ + อมฺ = กฺฤษฺณยำสมฺ 

กฺฤษฺณ + อียำสฺ + อมฺ = กฺฤษฺเณยำสมฺ


 

อย่างนี้หรือเปล่าค่ะ ? ฮ้าๆ หนูมั่วเอา ^-^


แล้ว คุณศัพท์เพศหญิงนั้นจะทำอย่างไรค่ะ

กฺฤษฺณา + ยสี + อมฺ ?

อาลปนะ ทวิพจน์และพหูพจน์เป็นวิภักติแข็งเหรอค่ะ ?

เพศกลาง การกที่ หนึ่ง เอกพจน์ ทำไมถึงได้ 

श्रेयः
 วิภักตินามของ เพศกลาง การกที่หนึ่ง เอกพจน์ คือ สฺ เหรอค่ะ ?

श्रेयः อันนี้โทษทีค่ะ เข้าใจแล้วค่ะ ลืมไปว่าสำหรับเพศกลางแล้วการกที่หนึ่ง เอกพจน์คือ สฺ เป็นวิภักติอ่อนสำหรับเพศกลาง แต่แข็งสำหรับเพศชาย

ดังนั้นเพศกลาง การกที่หนึ่ง เอกพจน์ ก็จะได้เป็น ศฺเรยสฺ + สฺ = ศฺเรยสฺ  

โอยยย ปวดหัวมากเลยค่ะ เหอๆ

อันที่จริง บทนี้ต้องการแสดงการแจกคำที่ลงท้าย ยำสฺ และ ยสฺ และเอาตัวอย่างการเปรียบเทียบมาใช้

ถ้าจะเติมเอง ดูเหมือนจะยุ่งยาก เพราะไม่ค่อยตรงตัวนัก เช่น กฺษิป+ยำสฺ > กฺเษปียำสฺ. (เร็วกว่า)  วฺฤ + ยำสฺ > วารียำสฺ (กว้างกว่า). นว + ยำสฺ > นวียำสฺ (ใหม่กว่า) 

ปัจจัย -ยำสฺ นี้ปกติจะเติมโดยตรงกับธาตุ

แต่ถ้าจะเติมที่คุณศัพท์ จะใช้ปัจจัยอีกตัว คือ -ตร (tara) กว่า

ดังนั้น ถ้าจะเติมหลัง กฺฤษฺณ ต้องใช้ กฺฤษฺณตร เพราะ กฺฤษฺณ ไม่ใช่ธาตุ

โคตร = โคที่ดีกว่า, คุรุตร = หนักกว่า

ตรงนี้อย่าเพิ่งสนใจมาก ฝึกแจกคำสำเร็จรูปไปก่อน


เพศกลาง เอกพจน์ เป็นวิภักติอ่อน จึงเติม ยสฺ.  ยสฺ+สฺ = ยสฺสฺ > ยสฺ > ยะ เช่นนี้แล...

อาลปนะ เพศชาย โดยมาก ทวิ พหุ จะถือตาม กรรตุการก, ส่วน เอกพจน์จะกำหนดพิเศษ  มักจะคล้าย กรรตุการก แต่ไม่ยืิดเสียงสระ

แบบฝึก


จงแจกนาม ครียำสฺ (น่าเคารพ) ทั้งสามเพศ

( เพศชาย )

1.) ครียำนฺ - ครียำเสา - ครียำสสฺ

2.)  ครียำสมฺ - ครียำเสา - ครียสสฺ

3.) ครียสา - ครีโยภฺยามฺ - ครีโยภิสฺ

4.) ครียเส - ครีโยภฺยามฺ - ครีโยภฺยสฺ

5.) ครียสสฺ - ครีโยภฺยามฺ - ครีโยภฺยสฺ

6.) ครียสสฺ - ครียโสสฺ - ครียสามฺ

7.) ครียสิ - ครียโสสฺ - ครียสสฺ

8.) ครียนฺ - ครียำเสา - ครียำสสฺ


( เพศกลาง )

1.)  ครียสฺ - ครียสี - ครียำสิ

2.)  ครียสมฺ - ครียสี - ครียำสิ

3.) ครียสา - ครีโยภฺยามฺ - ครีโยภิสฺ

4.) ครียเส - ครีโยภฺยามฺ - ครีโยภฺยสฺ

5.) ครียสสฺ - ครีโยภฺยามฺ - ครีโยภฺยสฺ

6.) ครียสสฺ - ครียโสสฺ - ครียสามฺ

7.) ครียสิ - ครียโสสฺ - ครียสสุ

8.) ครียสฺ - ครียสี - ครียำสิ


## ขอแก้ไขการกที่7 -พหูพจน์ เพศชายนะค่ะ เป็น ครียสฺสุ

พอดีพิมพ์ตกไปค่ะ

( เพศหญิง )

1.)  ครียสี - ครียสฺเยา - ครียสฺสยสฺ

2.)  ครียสีมฺ - ครียสฺเยา - ครียสีสฺ

3.) ครียสฺยา - ครียสีภฺยามฺ - ครียสีภิสฺ

4.) ครียสฺไย - ครียสีภฺยามฺ - ครียสีภฺยสฺ

5.) ครียสฺยาสฺ - ครียสฺโยสฺ - ครียสีนามฺ

6.) ครียสยาสฺ - ครียสีภฺยามฺ - ครียสีภฺยสฺ

7.) ครียสฺยามฺ - ครียสฺโยสฺ - ครียสีษุ

8.) ครียสี - ครียสฺเยา - ครียสฺยสฺ


เพศหญิง 1. เอกพจน์ ครียสฺยสฺ (พิมพ์ ส เกินมา)

เดี๋ยวจะมาเพิ่มเนื้อหาต่อนะ ;)

'' ชีวนฺตฺ '' เพศชาย กรรมการก พหูพจน์ เป็นวิภักติอ่อนไม่ใช่เหรอค่ะ ทำไมไม่เป็น ชีวนฺ + อสฺ = ชีวนสฺ ?

เพศชายนี้ งง มากค่ะ กรณการก ทั้งสามพจน์ นี้เป็นวิภักติอ่อนหมดเลยไม่ใช่เหรอค่ะ ทำไมถึงใช้เค้ากริยาเป็นวิภักติแข็ง ชีวนฺตฺ เฉยเลย ไม่เข้าใจค่ะ

คือเพศชายตั้งแต่กรณการกลงมาทุกพจน์ ดูแล้วเป็นการแจกกับวิภักติแข็งหมดเลย ทั้งๆที่ความจริงวิภักติอ่อน ของเพศชายนั้นก็ไล่มาตั้งแต่ กรรมการก พหูพจน์ เรื่อยไปจนถึง อธิกรณ พหูพจน์ไม่ใช่เหรอคะ

สำหรับอาลปนะ ทั้งสามพจน์นั้นก็จะไปเข้าข่ายกรณีพิเศษบ้างอีกที

พอมาดูเพศกลางก็งงอีกค่ะ สรุป ทั้งเพศชายและเพศกลางรอบนี้ดูจะเป็นวิภักติแข็งไปเสียหมด ไม่มีอ่อนเลย หรือว่าหนูจะเข้าใจอะไรผิดคะ

ถ้าเช่นนั้นหนูก็ส่งแบบงงๆไปก่อนนะคะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา อิอิ

  นยนฺตฺ (√นี) - (เพศชาย )

1.)  นยนฺตฺ - นยนฺเตา  - นยนฺตสฺ

2.) นยนฺตมฺ - นยนฺเตา - นยนฺตสฺ

3.) นยนฺตา - นยนฺภฺยามฺ - นยนฺทฺภิสฺ

4.) นยนฺเต - นยนฺทฺภฺยามฺ - นยนฺทฺภฺยสฺ

5.) นยนฺตสฺ - นยนฺทฺภฺยามฺ - นยนฺทฺภฺยสฺ

6.) นยนฺตสฺ - นยนฺโตสฺ - นยนฺตามฺ

7.) นยนฺติ นยนฺโตสฺ นยนฺตฺสุ

8.) นยนฺตฺ - นยนฺเตา - นยนฺตสฺ

 นยนฺตฺ (√นี) - (เพศกลาง )

1.)  นยนฺตฺ - นยนฺตี  - นยนฺติ

2.) นยนฺตมฺ - นยนฺตี - นยนฺติ

3.) นยนฺตา - นยนฺภฺยามฺ - นยนฺทฺภิสฺ

4.) นยนฺเต - นยนฺทฺภฺยามฺ - นยนฺทฺภฺยสฺ

5.) นยนฺตสฺ - นยนฺทฺภฺยามฺ - นยนฺทฺภฺยสฺ

6.) นยนฺตสฺ - นยนฺโตสฺ - นยนฺตามฺ

7.) นยนฺติ นยนฺโตสฺ นยนฺตฺสุ

8.) นยนฺตฺ - นยนฺตี - นยนฺติ


ติษฺฐนฺตฺ (√สฺถา) - (เพศชาย)

1.) ติษฺฐนฺตฺ - ติษฺฐนฺเตา - ติษฺฐนฺตสฺ

2.) ติษฺฐนฺตมฺ - ติษฺฐนฺเตา - ติษฺฐนฺตสฺ

3.) ติษฺฐนฺตา - ติษฺฐนฺทฺภฺยามฺ - ติษฺฐนฺทฺภิสฺ

4.) ติษฺฐนฺเต - ติษฺฐนฺทฺภฺยามฺ  - ติษฺฐนฺทฺภฺยสฺ

5.) ติษฺฐนฺตสฺ - ติษฺฐนฺทฺภฺยามฺ  - ติษฺฐนฺทฺภฺยสฺ

6.) ติษฺฐนฺตสฺ - ติษฺฐนฺโตสฺ - ติษฺฐนฺตามฺ

7.) ติษฺฐนฺติ - ติษฺฐนฺโตสฺ - ติษฺฐนฺตฺสุ

8.) ติษฺฐนฺตฺ - ติษฺฐนฺเตา - ติษฺฐนฺตสฺ

## การกที่ 7 เอกพจน์ ติษฺฐนฺติ เหมือนกับ ไปแจกกับสรรพนามบอกบุรุษที่สาม พหูพจน์เลยค่ะ แล้วอย่างนี้จะดูอย่างไร




ติษฺฐนฺตฺ (√สฺถา) - (เพศกลาง)

1.) ติษฺฐนฺตฺ - ติษฺฐนฺตี- ติษฺฐนฺติ

2.) ติษฺฐนฺตมฺ - ติษฺฐนฺตี - ติษฺฐนฺติ

3.) ติษฺฐนฺตา - ติษฺฐนฺทฺภฺยามฺ - ติษฺฐนฺทฺภิสฺ

4.) ติษฺฐนฺเต - ติษฺฐนฺทฺภฺยามฺ  - ติษฺฐนฺทฺภฺยสฺ

5.) ติษฺฐนฺตสฺ - ติษฺฐนฺทฺภฺยามฺ  - ติษฺฐนฺทฺภฺยสฺ

6.) ติษฺฐนฺตสฺ - ติษฺฐนฺโตสฺ - ติษฺฐนฺตามฺ

7.) ติษฺฐนฺติ - ติษฺฐนฺโตสฺ - ติษฺฐนฺตฺสุ

8.) ติษฺฐนฺตฺ - ติษฺฐนฺตี - ติษฺฐนฺติ

ป .ล. ต้องแจกเพศหญิงด้วยไหมคะ ?



เข้าใจผิดแน่ๆ วิภักติแข็งจะใช้ อนฺตฺ เพราะฉะนั้น รูปไหนมี นฺตฺ ก็คือ วิภักติแข็ง (ที่เป็นน้ำเงินและสีเขียว)

แจกเพศหญิงด้วยครับ เพื่อความชำนาญ


ติษฺฐนฺติ ไปตรงกับกริยา ก็ถือว่ารูปพ้อง ต้องดูความหมายในประโยคครับ

การก 7 ก็จะเป็นอย่างนี้ไปสำหรับคำที่นำธาตุมาเติม อนฺตฺ

งงจังค่ะ ทำไมไม่เหมือนที่อาจารย์เขียนไว้ '' *โปรดสังเกตว่า รูปอ่อนคือ อนฺ, วนฺ, มนฺ รูปแข็งคือ อนฺตฺ, วนฺตฺ, มนฺตฺ '' หนูเอาตามนั้นและเข้าใจว่า

1.) ชีวนฺ = อ่อน,  ชีวนฺตฺ = แข็ง 

2.) ชีวฺตฺ = แข็ง ชีวตฺ = อ่อน

ต้องเอาตามข้อ 2 เหรอคะ 

เพศหญิงแจกอย่างไรคะ อาจารย์ยกตัวอย่างให้ดูด้วย

ที่หนูแจกรูปมาทั้งหมดผิดไหมค่ะ 

**รูปอ่อนคือ อนฺ, วนฺ, มนฺ รูปแข็งคือ อนฺตฺ, วนฺตฺ, มนฺตฺ **

ชีวนฺตฺ - แข็ง, ชีวตฺ - อ่อน

ถามอีกที ยังไม่เข้าใจคำถาม

เพศหญิง ใช้รูป ชีวนฺตฺ+อี (ชีวนฺตี) เป็นตัวแจก


ที่แจกมา

1. ให้ดูการก 1 อีกครั้ง, จะต้องไม่มีพยัญชนะท้ายมากกว่า 1 ตัว

2. การแจกวิภักติทั้งหมด ให้แยกอ่้อน/แข็ง คือ พวกที่มีสี ให้ใช้ ชีวนฺตฺ ไปแจก, ที่ไม่มีสี ใช้ ชีวตฺ ไปแจก


ถ้าอย่างนั้นหนูลองหยิบธาตุอื่นมานะคะ ไม่รู้ว่าจะใช้แทนกันได้หรือเปล่า

 √วทฺ  รูปแข็งคือ วทนฺตฺ -  รูปอ่อนคือ วทตฺ

เช่นนี้เหรอคะ ?


हस्तस्य भूषणं दानम् 
 सत्यं कण्ठस्य भूषणम्। 
श्रोत्रस्य भूषणं शास्त्रम् 
 भूषणैः किं प्रयोजनम्॥

อันนี้หนูลองหยิบสุภาษิตมาแปลดู ก็ติดตรงท่อนล่างนี่ล่ะค่ะ ไม่ทราบว่าจะแปลอย่างไรดี รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจให้ด้วยเจ้าค่ะ


เครื่องประดับของมือคือการให้การบริจาคทาน

เครื่องประดับของคอคือความจริง ( การพูดแต่ความสัตย์จริง)

เครื่องประดับของหูคือความรู้ (การได้ยินได้ฟังความรู้ตลอดจนศาสตร์ต่างๆ)


อันสุดท้ายไม่รู้จะแปลอย่างไรเลยค่ะ

ลองมั่วๆดูได้ว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยเครื่องประดับอันใด ?


รูปแข็งคือ มนฺตฺ รูปอ่อนก็คือ มตฺ ใช่ไหมคะ

 นยนฺตฺ (√นี) - (เพศหญิง )

1.)  นยนฺตี  - นยนฺตฺเยา  - นยนฺตฺยสฺ

2.)  นยนฺตีมฺ - นยนฺตฺเยา  - นยนฺตีสฺ

3.)  นยนฺตฺยา - นยนฺตีภฺยามฺ  - นยนฺตีภิสฺ

4.) นยนฺตฺไย - นยนฺตีภฺยามฺ - นยนฺตีภิสฺ 

5.) นยนฺตฺยาสฺ - นยนฺตฺโยสฺ - นยนฺตีนามฺ

6.) นยนฺตฺยาสฺ -  นยนฺตีภฺยามฺ  - นยนฺตีภฺยสฺ

7.)  นยนฺตฺยามฺ - นยนฺตฺโยสฺ - นยนฺตีษุ

8.) นยนฺตี  - นยนฺตฺเยา  - นยนฺตฺยสฺ

ติษฺฐนฺตฺ (√สฺถา) - (เพศหญิง)

1.) ติษฺฐนฺตี -  ติษฺฐนฺตฺเยา - ติษฺฐนฺตฺยสฺ

2.) ติษฺฐนฺตีมฺ - ติษฺฐนฺตฺเยา - ติษฺฐนฺตีสฺ

3.) ติษฺฐนฺตฺยา - ติษฺฐนฺตีภฺยามฺ - ติษฺฐนฺตีภิสฺ

4.) ติษฺฐนฺตฺไย  - ติษฺฐนฺตีภฺยามฺ  - ติษฺฐนฺตีภิสฺ

5.) ติษฺฐนฺตฺยาสฺ - ติษฺฐนฺตฺโยสฺ  - ติษฺฐนฺตีนามฺ

6.) ติษฺฐนฺตฺยาสฺ - ติษฺฐนฺตีภฺยามฺ - ติษฺฐนฺตีภฺยสฺ

7.) ติษฺฐนฺตฺยามฺ - ติษฺฐนฺตโยสฺ - ติษฺฐนฺตีษุ

8.) ติษฺฐนฺตี -  ติษฺฐนฺตฺเยา - ติษฺฐนฺตฺยสฺ


ปีนี้อาจารย์มีสอนหนังสือเหรอคะ ? ถ้าใช่ หนูไม่มารบกวนอาจารย์แย่เลยเหรอคะ เกรงใจจัง

หนูขออนุญาตมาสุขสันต์วันเกิดครูนะคะ ขอให้ครูมีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง อยู่สอนหนังสือเป็นแหล่งความรู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ศิษย์ไปนานๆ  ขอพระพรของพระท่านจงสถิตอยู่กับครูคอยคุ้มครองครูด้วยนะคะ ^-^

शुभं जन्मदिनम्

ศรีฯ ..

ปีนี้มีสอนครับ แต่สันสกฤตอย่างง่ายก็ไปได้เรื่อย แต่ไม่รวดเร็วนัก

हस्तस्य भूषणं दानम् 
 सत्यं कण्ठस्य भूषणम्। 
श्रोत्रस्य भूषणं शास्त्रम् 
 भूषणैः किं प्रयोजनम्॥

เครื่องประดับของมือคือการให้การบริจาคทาน

เครื่องประดับของคอคือความจริง ( การพูดแต่ความสัตย์จริง)

เครื่องประดับของหูคือความรู้ (การได้ยินได้ฟังความรู้ตลอดจนศาสตร์ต่างๆ)

กึ นั้นแปลได้หลายอย่าง บอกปริมาณ บอกความแน่นอน ไม่แน่นอน หรือเป็นคำถามก็ได้ อาจคล้ายกับ how ในภาษาอังกฤษด้วย

ในที่นี้น่าจะแปลว่า ประโยชน์ของ(โดย)เครื่องประดับอื่นมีสิ่งใดเล่า หรือ ประโยชน์โดยเครื่องประดับนั้นมากนัก

เพศหญิงแจกถูกแล้ว

มนฺตฺ แข็ง, มตฺ อ่อน ใช่แล้ว

สร้างรูปจากธาตุนั้น ความจริงยังไม่สอนในบทนี้ แค่ให้ฝึกแจกนามเฉยๆ

แต่ก็ไม่ยาก บอกไว้เลยก็ได้ คือ ให้ใช้รูป ปัจจุบันกาล พหูพจน์ บุรุษที่ 3 มาใช้ โดยตัดสระอิท้ายออก

เช่น ชีวนฺติ > ชีวนฺตฺ. คจฺฉนฺติ > คจฺฉนฺตฺ แล้วนำมาสร้างรูปแข็งรูปอ่อนเอา วิธีการใช้ไว้บทหน้า

วทฺ > วทนฺติ > วทนฺตฺ/วทตฺ 

โห ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ ขนาดว่าติดภาระกิจยังอุตส่าห์สละเวลามาสอนศิษย์

อาจารย์สมแล้วกับคำว่า ''ครู'' ค่ะ

หนูก็สัญญาว่าจะตั้งใจเรียนให้เต็มที่ที่สุดเลยนะคะ

อันที่จริงจะว่าช้าก็ไม่เชิงหรอกค่ะ อาจารย์ก็ยังแวะเข้ามาตอบทุกวันและเวียนมาดูเรื่อยๆ

โชคดีหน่อยที่ว่าในช่วงที่ผ่านมานั้นเรารีบเรียนกันมาจนถึงบทนี้ทำให้พอมีพื้นฐานมาบ้างแล้ว

หลังจากช่วงนี้ไปก็คงไปได้เรื่อยๆ ไม่มีปัญหาอะไร 

ขอบพระคุณมากนะคะ ใจจริงอยากให้อาจารย์มาสอนโทที่ศิลปากรจัง อิอิ จะได้เป็นศิษย์เต็มตัวสักที และหนูคงเรียนอย่างมีความสุขมากเพราะครูใจดี เอิ้กๆ ไม่โหด ^-^

ขอถามครูสักนิดค่ะ จากโศลกข้างต้นที่หนูยกมาแปลนั้น สังเกตว่าเขาจัดวางแต่ละคำไม่เป็นที่เป็นทางเลย

ดูแปลกๆ แต่พอลองมาอ่านออกเสียงตามก็ไพเราะเสนาะหูมากนะคะ หรือเหตุที่เขาวางรูปประโยคแบบนี้ก็เพื่อผลด้านเสียงจะได้ฟังออกมาดูเพราะ

हस्तस्य भूषणं दानम् ...

การวางตำแหน่งของร้อยกรอง มักจะเอาเสียง จังหวะเป็นหลัก ร้อยกรองส่วนใหญ่จึงลำดับคำค่อนข้างจะมั่วตามความรู้สึกเมื่อเทียบกับร้อยแก้วทั่วไป

แต่แม้กระทั่งร้อยกรองเอง ถ้าไม่จำเป็นเรื่องเสียง เขาก็เน้นวางคำตามลำดับความสำคัญ หรือการเน้น. บ้างก็วางให้เป็นแบบแผน อย่างโศลกนี้เสียงท้ายลง อัม หมด (น่าจะเป็นความนิยมสมัยใหม่ บทกวีโบราณไม่ค่อยเห็นสัมผัสแบบนี้)

วันนี้คุยกับ นศ ว่าจะสอนอักษรเทวนาครีี (นอกเวลา) เขาก็ดูสนใจ (คือ เขาเองก็ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่คงเห็นว่าครูใจดี คงมีอะไรดีๆ มาให้) ถ้ารวบรวมคนได้ สัปดาห์หน้าคงได้สอน ถ้าคอร์สนี้ได้ผล ก็อาจลองเปิดสอนสันสกฤตดู ;)

เพิ่งเห็นข้อความข้างบน

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรนะครับ

ขอให้คุณศรีฯ มีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียนครั้งนี้ด้วยครับ โอมมม

If you're talking 'bout me

แอบเห็นพี่ภาษาอังกฤษก็มีเครื่องหมายอโพสโซฟีแทนที่สระอะหายไปด้วยค่ะ หนูไม่รู้ว่าจะเป็นกรณีเดียวกันกับในสันสกฤตด้วยหรือเปล่าคะอาจารย์ ?

ขอบคุณค่ะ..

คงจะแบบเดียวกันครับ แต่ที่มาแตกต่างกันอยู่

คืนนี้ถ้าว่าว่างจะมาเพิ่มบทเรียนต่อครับ

อาจารย์คะ ขอมาสรุปวิธีการทำปัจจัยกฤตก่อนนะคะ เดี่ยวจะงง

1.) หยิบธาตุมาทำตามขั้นตอนของหมวดนั้นๆให้ได้ซึ่งเค้ากริยา

2.) พอได้เค้ากริยาปุ๊บก็ให้นำมาเติมปัจจัยกฤตได้เลย (แยกปัจจัยแข็งหรืออ่อนตามนั้น)

3.) พอได้ปัจจัยกฤตเรียบร้อย ซึ่งเทียบเท่ากับคำคุณศัพท์แล้ว ก็ให้เอาไปผันตามตารางข้างบน ''ชีวนฺตฺ'' โดยแบ่งตามเพศ ถ้าเป็นหญิงก็ให้เติม -อี เข้าไป


แล้วยังมีอะไรต่ออีกไหมคะ ไม่นับข้อยกเว้นต่างๆ วิธีการทำปัจจัยกฤตมีแค่นี้หรือเปล่าคะ หรือมีที่พิศดารกว่านี้อีก

ขอบคุณค่ะ..

แล้วจะมีปัจจัยกฤตที่เป็นกรรมวาจกด้วยไหมคะอาจารย์ ?

ที่สรุปมาถูกแล้ว ปัจจัยกฤตที่เป็นกรรมวาจกก็มีครับ  ไว้โอกาสหน้า

ที่เพิ่มเติมก็คือ มีหลายครั้งที่จะแทรก อิ ก่อนลงปัจจัย

เล่าคร่าวๆ ปัจจัยกฤตนั้น มีทั้งที่เติมปัจจัยแล้วนำไปแจกใช้คล้ายคุณศัพท์ขยายนาม แต่อาจแปลเหมือนเป็นกริยาก็ได้ (มักเรียกว่ากริยาในระหว่าง) กับเติมแล้วไม่ต้องแจก (เช่น เติม -ย, ตฺวา, ตุมฺ แบบนี้ใช้คล้ายกริยา คงผ่านมาตาบ้างแล้วในบทความอื่น)

- มหนฺตฺ มาจากธาตุอะไร หมวดที่เท่าไหร่คะ 

- อีกเรื่องอยากทราบว่าเวลาที่เจอประโยคที่สนธิกันยาวๆแล้วดึงติดกันนั้นเวลาเขาพูดกันจะพูดอย่างไร

อาทิตย์ที่แล้วหนูชวนเพื่อนที่สนใจสันสกฤตมาเรียนด้วยสองสามคนส่งบทเรียนให้เขาดู แต่สุดท้ายพวกนางเผ่นหมด แถมฝากบอกอาจารย์ว่าให้เปลี่ยนชื่อบทเรียนภาษาสันสกฤตอย่างง่ายเถอะค่ะ จริงๆแล้วมันไม่ง่ายเลยนะคะ หนูขำมาก ฮ้าๆๆ

มหนฺตฺ ไม่ได้เป็นธาตุ แต่ถือเป็นคุณศัพท์โดยตรง

(ถ้าสืบรากจริงๆ อาจมาจาก ธาตุ มหฺ (mah) หมวด 1/10 แปลว่า บูชา กล่าว สรรเสริญ แต่คงยาวเกินไปกว่าจะโยงมาถึง มหนฺตฺ ที่แปลว่า ใหญ่)

เวลาพูดสันสกฤต ก็พูดเป็นกลุ่มคำ วรรคตรงไหน ก็ลงตรงนั้น ขึ้นกลุ่มคำใหม่ แม้เป็นสระก็ไม่ต้องสนธิ

อ้าว นักเรียนหายหมด อิๆๆ

ข้อ 3 กริยาตัวสุดท้ายนี่ถูกแล้วใช่ไหมคะอาจารย์  शस्यन्ते 

 भार्यं อันนี้เป็นคุณศัพท์เหรอคะ ลองเปิดดูแล้วอาจารย์ไม่เคยให้คำนี้มาเลย

 भार्यं อยู่ในข้อสี่นะคะ

शस्यन्ते ถูกแล้ว

คำนี้ผ่านการเรียนรู้มาหลายบท แต่ไม่ได้บอกตัวตรง

ในบทแรกๆ เราเรียนธาตุ ศํสฺ

อีกหลายบทต่อมาเรียนเรื่องกรรมวาจก กล่าวว่า การแจกรูปกรรมวาจกนั้นเราจะใช้รูปอ่อน เช่น อญฺชฺ ก็จะใช้ อชฺ (+ย) เช่น อชฺยเต, ดังนั้น ศสฺยนฺเต < ศสฺ+ย < ศํสฺ

ลองค้นดูนะครับ ว่าในบทไหนบ้าง  วิธีเรียนแบบนี้สนุกดี แต่เหนื่อยหน่อย ;)

भार्यं แก้เป็น भार्यां

อาจารย์คะ ข้อสี่ ตฺยชนฺ นี้เป็นกริยากฤต จากธาตุ ตฺยชฺ ละทิ้งสละบริจาค แล้วทำยังไงถึงได้เป็น ตฺยชนฺ ละคะ ปัจจัยกฤตมีเติมปัจจัยแข็งอ่อน แค่ อนฺตฺ หรือ อตฺ พอเติมแล้วเอาไปแจกตามช่องการก ก็ไม่เห็นรูปนี้เลยค่ะ


คำว่าเกลียดนี่ ในสันสกฤตนิยมใช้คำว่าอะไรกันคะ


ขอบพระคุณค่ะ

ข้อ 6.)ภฺราตฺโร (สัมพันธะ – พหูพจน์) ราโม ยศสา ครียานฺ = ยศสา หรือ ยคสา กันแน่คะ ถ้า ยคสา มาจาก ยคสฺ + อา = ยคสา 

แต่ลองแปลรวมๆดูแล้วไม่เข้าท่าเลย -->  รามซึ่งน่าเคราพพี่ชายทั้งสองด้วยชื่อเสียง หรือ รามซึ่งเคราพพี่ชายทั้งสองด้วยชื่อเสียงเกียรติยศ ถูกไหมคะ

หนูลองแต่งประโยคมาค่ะ สักหนึ่งประโยค ไม่รู้จะถูกหรือเปล่าคะ โดยใช้กริยาย่อย อาจารย์ช่วยตรวจหน่อยนะคะ

อหํ ฉายายำ ไตรฺพาไละ สีททฺภิรฺทีวฺยามิ / ฉันเล่นกับเด็กๆเหล่านั้นที่นั่งอยู่ใต้ร่มไม้ ?

ขอบคุณค่ะ อิอิ

ตฺยชนฺ < ตฺยชนฺติ 

ตฺยชนฺตฺ + สฺ => ตฺยชนฺ     การกที่ 1 ดูบทที่ 39

ดู ชีวนฺ

อ้าว เขียนผิด

ขอแก้ไขในบทเรียน การก 1 ตัด ตฺ ท้ายออกนะครับ

 9.) อุทฺยาเน ปตฑฺภฺโย วิหเคภฺโย ธานฺยํ กิรตะ กนฺยา อปศฺยมฺ 

อาจารย์คะ ปตฑฺภฺโย แปลว่าอะไรคะ นั่งหามาตั้งนาน คิดว่าเป็นคำนาม ลองตัดวิภักติดูแล้วก็ยังหาไม่เจอ


ปตทฺภฺโย ครับ, เขียนผิด

ประโยคที่แต่งมาถูกแล้ว

เราใช้กริยากฤต เพือขยายนาม โดยแจกตามนาม กริยากฤตนี้แปลว่า ทำอยู่, กำลังทำ


เกลียดมีหลายคำ เช่น ทฺวิษฺ, อภิทฺรุหฺ

द्वेष्टि, द्विष्टे  ; अभिद्रुह्यति

จำได้ไหม ที่เคยบอกในบทแรกๆ ว่าประโยคซับซ้อนเรายังเขียนไม่ได้

ตอนนี้ เราเขียนประโยคที่ซับซ้อนได้แล้ว

จำได้ค่ะ อิอิ หนูเลยลองไปนั่งแต่งประโยคมา ประโยคนึงสามารถมีกริยาหลายๆตัวได้  ^-^

ข้อ เก้า หนูว่าอาจารย์พิมพ์ผิดหรือเปล่าคะ หาเท่าไหร่ก็ไม่มี ปตทฺภฺโย

คิดว่าต้องเป็น 

  • ททตฺ (กริยากฤต ปัจจุบันกาล จาก √ทา) ให้ นะคะ

อ๋อ ได้แล้วค่ะ  มาจาก ธาตุ  ปตฺ - ตก ล้ม บิน เหาะ  

ปต + อตฺ  = ปตตฺ + ภฺยสฺ = ปตทฺภฺยสฺ ? 

ไม่รู้จะถูกหรือเปล่า

มารอบนี้แปลสะดุดๆค่ะ สงสัยยังจะไม่ค่อยชินกับปัจจัยกฤต บางข้อแยกได้แต่แปลออกมาแล้วไม่รู้เรื่องไม่รู้จะเรียงอย่างไรไว้ค่อยมาดูเฉลยของอาจารย์นำทางนะคะ อิอิ


1.)  ติษฺฐนฺตํ คุรุมฺ ศิษฺโย ‘ นุติษฺเฐทฺคจฺฉนฺตมนุคจฺเฉทฺธาวนฺตมนุธาเวตฺ =  ศิษย์พึงปฎิบัติตามครู(ที่)ยืนอยู่ - (เวลา)ครูไปที่ไหนศิษย์ก็ควรจะติดตาม -(เวลา)ครูวิ่ง ศิษย์ก็ควรจะวิ่งตาม

2.)  ครียสะ {กรรมตรง – พหูพจน์} ศฺเรยเส ปูชฺเยต = (เขา) พึงบูชาสิ่งที่น่าเคราพทั้งหลาย ด้วย(สิ่ง)ที่ดีที่สุด

3.)  ธนินสฺตปสฺวิภฺโย ธนํ ททตะ คสฺยนฺเต =ทรัพย์สินถูกประกาศให้จากดาบสผู้ร่ำรวย

4.)  สฺนิหฺยนฺตีมฺ ภารฺยำ ตฺยชนฺนินฺทฺยเต = (เขา) ถูกตำหนิที่บริจาคซึ่งภรรยาที่รัก

5.)  ชีวตะ ปุตฺรสฺย มุขํ ปศฺยนฺเตา  ปิตเรา ตุษฺยตะ = พ่อและแม่ต่างก็พอใจที่ได้เห็นใบหน้าของบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่

6.)  ภฺราตฺโร (สัมพันธะ – พหูพจน์) ราโม ยศสา ครียานฺ =รามซึ่งเคราพพี่ชายทั้งสองด้วยชื่อเสียงเกียรติยศ

7.)  เอเตษา วณิชา ธนานิ มหานฺติ วรฺตนฺเต = ทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ดำรงอยู่โดยพ่อค้า

8.)  กุปฺยฺเต มา กุปฺยต = (ท่านทั้งหลาย) อย่าโกรธซึ่งด้วยความโกรธ

9.)  อุทฺยาเน ปตฑฺภฺโย วิหเคภฺโย ธานฺยํ กิรตะ กนฺยา อปศฺยมฺ =หญิงสาวได้เห็นธัญญาพืชจากนกที่บินอยู่ในสวน

10.)ปิตฺโรรฺชีวโตรฺภฺราตระ สฺวสารศฺจ ตโยรฺธนสฺย สวามิโน น ภเวยะ =

11.)เธนุมฺ ธยนฺตํ วตฺสํ มาปสารย = ข้อนี้ ธยนฺตํ เป็นปัจจัยกฤตหรือเปล่าคะ ธย อนฺตฺ อมฺ แต่หนูไม่รู้ว่า ธย นั้นมาจากธาตุอะไร

12.)คุรุษุ ปิตาจารฺโย มาตา จ ครียาสะ =

13.)ตฺวยิ ชีวติ สุเขน วยํ วีวามะ =ข้อนี้ติด วีวามะ ค่ะ


1.)  ติษฺฐนฺตํ คุรุมฺ ศิษฺโย ‘ นุติษฺเฐทฺคจฺฉนฺตมนุคจฺเฉทฺธาวนฺตมนุธาเวตฺ =  ศิษย์พึงปฎิบัติตามครู(ที่)ยืนอยู่ - (เวลา)ครูไปที่ไหนศิษย์ก็ควรจะติดตาม -(เวลา)ครูวิ่ง ศิษย์ก็ควรจะวิ่งตาม

แปลได้ใกล้เคียงนะ แต่ยังไม่ตรงทั้งหมด. จำได้ว่าโจทย์ข้อนี้อาจารย์ชาวอินเดียบอกว่าชอบมาก. อ่านออกเสียงก็ได้จังหวะไพเราะดี

तिष्ठन्तम् गुरुम् शिष्यस् अनुतिष्ठेत्  / गच्छन्तम् अनुगच्छेत् / धावन्तम् अनुधावेत्

ศิษย์พึงนั่งตามครูผู้นั่งอยู่, พึงเดินตาม(ครู)ผู้เดินอยู่, พึงวิ่งตาม(ครู)ผู้วิ่งอยู่.

สองประโยคย่อยที่ตามมา ไม่มี คุรุมฺ แล้ว แต่คจฺฉนฺตมฺ และ ธาวนฺตมฺ ถือว่าเป็นคำขยายของ คุรุมฺ

ประโยคนี้หมายความว่า ครูทำอะไรศิษย์ก็ควรทำตาม


2.)  ครียสะ {กรรมตรง – พหูพจน์} ศฺเรยเส ปูชฺเยต = (เขา) พึงบูชาสิ่งที่น่าเคราพทั้งหลาย ด้วย(สิ่ง)ที่ดีที่สุด

ศฺเรยำสฺ เมื่อเป็นคำนาม แปลว่า การปลดปล่อย หรือการหลุดพ้น

แปล : บุคคล/เขา  พึงบูชาผู้ที่น่าเคารพยิ่งทั้งหลาย เพื่อการหลุดพ้น


3.)  ธนินสฺตปสฺวิภฺโย ธนํ ททตะ สฺยนฺเต =ทรัพย์สินถูกประกาศให้จากดาบสผู้ร่ำรวย

คนรวยทั้งหลาย ผู้กำลังให้ ซึ่งทรัพย์ แก่ดาบสทั้งหลาย ย่อมถูกสรรเสริญ

โปรดสังเกต ททตะ เป็นตัวขยายตรงกับ ธนินสฺ


4.)  สฺนิหฺยนฺตีมฺ ภารฺยำ ตฺยชนฺนินฺทฺยเต = (เขา) ถูกตำหนิที่บริจาคซึ่งภรรยาที่รัก

ความหมายถูกแล้ว แต่การใช้คำยังไม่ตรง

บุคคล/เขา ผู้บริจาค(ทอดทิ้ง) ซึ่งภรรยาที่(ยัง)รัก(เขา) ย่อมถูกตำหนิ


5.)  ชีวตะ ปุตฺรสฺย มุขํ ปศฺยนฺเตา  ปิตเรา ตุษฺยตะ = พ่อและแม่ต่างก็พอใจที่ได้เห็นใบหน้าของบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่

ดีมากครับ


6.)  ภฺราตฺโร (สัมพันธะ – พหูพจน์) ราโม ยศสา ครียานฺ =รามซึ่งเคราพพี่ชายทั้งสองด้วยชื่อเสียงเกียรติยศ

แห่ง(ในบรรดา)พี่ชายทั้งสอง (ภฺราตฺโรสฺ, สนธิแล้วเปลี่ยน สฺ เป็น รฺ, ร ซ้อนก็ลบทิ้งตัวหนึ่งเป็น ภฺราตฺโร  สนุกดี)

รามเป็นที่น่าเคารพที่สุด ด้วยชื่อเสียงเกียรติยศ (ใช้ว่า เกียรติยศ อย่างเดียวก็พอ)

มีหลายครั้งที่ การกที่หก/เจ็ด แปลว่า ในบรรดา ...  โปรดสังเกตให้ดี


7.)  เอเตษา วณิชา ธนานิ มหานฺติ วรฺตนฺเต = ทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ดำรงอยู่โดยพ่อค้าดั

อ้าว นิคหิตหาย

เอเตษำ วณิชำ ธนานิ มหานฺติ วรฺตนฺเต

ทรัพย์ทั้งหลาย (ธนานิ นปุ) ของพ่อค้าทั้งหลาย เหล่านั้น เป็น/มี  มาก (มหานฺติ นปุ)

วรฺตนฺเต แปลว่า เป็น/มี ก็ได้


8.)  กุปฺยฺเต มา กุปฺยต = (ท่านทั้งหลาย) อย่าโกรธซึ่งด้วยความโกรธ

ผิดนิดเดียว ควรจะเป็น อย่าโกรธ(กับ/ด้วย)คนที่กำลังโกรธ

กุปฺยฺเต ไม่ควรเป็นนนามธรรม ในที่นี้


9.)  อุทฺยาเน ปตฑฺภฺโย วิหเคภฺโย ธานฺยํ กิรตะ กนฺยา อปศฺยมฺ =หญิงสาวได้เห็นธัญญาพืชจากนกที่บินอยู่ในสวน

อปสฺยมฺ ฉันได้เห็นแล้ว.... แป่ววว ผิดเลย ;)   

ฉันได้เห็น หญิงสาวทั้งหลาย ผู้กำลังหว่าน ธัญญาพืช(เมล็ดข้าว) แก่นกทั้งหลาย ที่บินอยู่ ในสวน

กิรตะ เรียนในบทไหนนะ, มาจาก กฺฤๅ หมวด 6 บ้างก็ว่า กฺฤ หมวด 2. แต่ก็ได้รูป กิรติ เหมือนกัน


10.) ปิตฺโรรฺ ชีวโตรฺ / ภฺราตระ สฺวสารศฺ จ / ตโยรฺ ธนสฺย สวามิโน น ภเวยุะ =

เมื่อบิดามารดามีชีวิตอยู่ พี่น้องชายและพี่น้องสาวทั้งหลาย ไม่ควรเป็น เจ้าของ แห่งทรัพย์ ของทั้งสอง[ของพ่อและแม่]

ในที่นี้ ปิตฺโรสฺ ชีวโตสฺ เป็นการก 6/7 แปลว่า เมื่อก็ได้  (แบบนี้พบได้บ่อยเหมือนกัน)


11.) เธนุมฺ ธยนฺตํ วตฺสํ มาปสารย = เธนุมฺ ธยนฺตํ วตฺสํ มา อปสารย

จงอย่าขับไล่ ลูกวัว(กรรม) ที่กำลังดูดนมแม่วัว(กรรม) 

ข้อนี้ กรรมตัวแรก (ลูกวัว) แสดงกริยาดูดนม แม่วัวเป็นกรรมอีกทีหนึ่ง

ข้อนี้ตอนที่เรียน ก็ติดศัพท์ ธยนฺตํ เหมือนกัน ;)

ธยนฺตฺ มาจาก ธา (ยติ, ธีเต) แปลว่า ดูดนม นำมาใช้เป็นกฤต ก็ได้ ธยนฺติ > ธยนฺตฺ แล้วก็แจกรูป


12.) คุรุษุ ปิตาจารฺโย มาตา จ ครียาสะ =

ข้อนี้ง่ายนะ, ในบรรดาครูทั้งหลาย บิดา อาจารย์ และแม่ น่าเคารพยิ่ง


13.) ตฺวยิ ชีวติ สุเขน วยํ วีวามะ =ข้อนี้ติด วีวามะ ค่ะ

โจทย์เขียนผิด ต้องเป็น ชีวามะ

เมื่อท่านมีชีวิตอยู่ เราทั้งหลายมีชีวิตด้วยความสุข

ข้อนี้ใช้การกเจ็ด แปลว่า เมื่อ  อีกเหมือนกัน


ทำได้ดีครับ

ให้อ่านทบทวนโดยละเอียด สงสัยก็ถามมา


คำๆ ค่อยมาเติมโจทย์อีกท่อนครับ

ในตารางแจก ชีวนฺตฺ เพศกลาง การกที่หนึ่ง ทวิพจน์ และการกที่สอง ทวิพจน์ ต้องเป็น

ชีวตฺ + อิ = ชีวตี ไม่ใช่เหรอคะ เพราะสำหรับเพศกลางแล้วนั้นเป็นวิภักติอ่อน

เพศกลางนั้นมีวิภักติแข็งแค่สองการกนิคะคือ กรรตุ พหู และ กรรม พหู

หนูเข้าใจถูกไหมคะ ?

ทวิพจน์ เป็นการก อ่อน ก็จริง

แต่มีการแทรก นฺ จึงดูเหมือนเป็นการกแข็ง (ดูข้อ 4)

ดีนะคะ ที่หนูมาถามก่อน อิอิ

- จากโจทย์ข้อที่หนึ่ง ''ซึ่งคนรถทั้งหลาย'' นี้ใช้คำว่าอะไรดีคะ คนและรถทั้งหลายแบบนี้เหรอคะ ?

5.) ในทุ่งนา ฉันเห็นแล้ว ซึ่งนกทั้งหลาย กำลังบิน

6.) ฉันเห็นแล้ว ซึ่งนกทั้งหลาย ที่บิน อยู่ในทุ่งนา


สองข้อนี้ต่างกันอย่างไรคะ ? 

ข้อห้า ฉันเห็นแล้วเป็นกริยาหลัก ส่วนกำลังบินเป็นกริยาย่อย

ข้อหก ฉันเห็นแล้ว เป็นกริยาหลัก ที่บิน เป็นกริยาย่อย


ถูกไหมคะ

หนูบอกเลขที่ข้อผิดค่ะ ต้องเป็นข้อ ห้า กับ ข้อ เจ็ดนะคะ

เรื่องนก ยุบเป็นข้อเดียวกันครับ เหมือนกัน

พอดีเขียนคนละีที เดี๋ยวค่อยไปลบข้างบน

เอาข้อหนึ่งมาให้ดูก่อนนะคะ

1.) เราย่อมตำหนิ ซึ่งคนรถทั้งหลาย ผู้ตีอยู่ ซึ่งม้าทั้งหลาย 

= อหํ อศฺวำสฺตฑยตฺสูตำสฺนินฺเทยมฺ

ข้อหนึ่งนี้มีกรรมตรงเป็นพหูพจน์ทั้งสองตัวเลย แถมเป็นเพศชายเหมือนกันอีก แล้วพอเราจะเอาปัจจัยกฤตไปจับคู่ให้มันสอดคล้องกันก็ให้ดูที่บริบทความหมายที่มันจะพอเป็นไปได้เหรอคะ

เช่นในข้อนี้ปัจจัยกฤตปัจจุบันกาล = ผู้ตีอยู่ 

ก็ต้องไปสัมพันธ์กับคนรถทั้งหลาย   จะไปสัมพันธ์กับ ซึ่งม้าทั้งหลายนั้นไม่ได้

แต่หนูกลัวไปเจอที่อื่นข้างนอก ในลักษณะแบบนี้อีก แล้วถ้าความหมายมันเป็นไปได้หมด งานนี้จะเลือกจับคู่ให้สอดคล้องปัจจัยกฤตอย่างไรเจ้าคะ 

- จากโจทย์ข้อสอง คนบาปกับคนดีใช้คำไหนดีคะ ให้ใช้ ทุรฺชน หรือ เอาคุณศัพท์ ปาป ไปขยาย นร

-โจทย์ข้อสาม พระราชา ผู้ชนะ คำว่าผู้ชนะใช้อะไรดีคะ

- โจทย์ข้อสี่ เป็นใหญ่ใช้คำว่าอะไรคะ


เรา = วยมฺ

วยมศฺวำสฺตฑยนฺตำ สูำตานฺนินฺทามะ.

สูต เป็นพหุึ, ตฑยนฺตฺ ก็ต้องเป็นพหุ

แก้่ อหมฺ เป็น วยมฺ จึงต้องเปลี่ยน นินฺทามะ ด้วย.


ถามมายืดยาว สรุปคือ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่า กริยากฤตตัวนั้นขยายนามไหน

โดยมาก กรรมจะอยู่หน้ากริยากฤต

ดังนั้น วยมฺ อศฺวานฺ<- ตฑยนฺตานฺ <- สูตานฺ <- นินฺทามะ

ถ้าเราสลับตำแหน่ง  วยมฺ ตฑยนฺตานฺ <- อศฺวานฺ <- สูตานฺ <- นินฺทามะ

แบบนี้ก็ต้องแปลตามที่เราเข้าใจ ;)  จึงไม่ต้องแปลกใจที่ปรมาจารย์ทั้งหลายจะแปลโศลกออกมาแตกต่างกันมากมาย. ไว้มีเวลาจะหาตัวอย่างมาให้ดูครับ


ใช้ บาป/สาธุ ไปแจกนามได้เลย

มหนฺตฺ

ผู้ชนะ สร้างจาก ชิ > ชยนฺตฺ/ชยตฺ

อาจารย์ทราบไหมคะว่าทำไมเขาตึงดึงพยัญชนะท้ายที่ไม่มีเสียงสระ ไปติดกับพยัญชนะหลังที่ตามมาเพราะเหตใดคะ เพียงเพื่อให้ออกเสียงได้ไม่สะดุดอย่างนี้เหรอคะ


อาจารย์คะ ประโยคนี้ดูแปลกๆไหมคะ หนูลองแต่งมาดู

ชายคนนั้นที่ฉันรักอยู่ ได้ทิ้งฉันไปแล้ว - ส นรฎหํ สฺนิหนตฺยชตฺ

ขอบคุณค่ะ

2. แปลไทยเป็นสันสกฤต

  1. เราย่อมตำหนิ ซึ่งคนรถทั้งหลาย ผู้ตีอยู่ ซึ่งม้าทั้งหลาย = วยมศฺวำสฺตฑยนฺตำ สูำตานฺนินฺทามะ.
  2. พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ลงทัณฑ์อยู่ ซึ่งคนบาปทั้งหลาย และผู้ให้อยู่ ซึ่งอาหาร แก่คนดีทั้งหลาย ย่อมถูกสรรเสริญ = ปารฺถิวะ ปาปานนฺนํ สาธุภฺโย ฑณฺฑนฺยจฺฉํศฺจ ศํเสตฺ
  3. พระราชาผู้ชนะอยู่ในการรบ ย่อมได้รับเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ = รเณ ชยนฺภูภฺฤนฺมหทฺยศฎฺลเภตฺ
  4. ในบรรดาดวงดาวทั้งหลาย ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นใหญ่ = ชโยติษำ มหตี อาทิตฺยะ จนฺทฺรมะ จ
  5. ในทุ่งนา ฉันเห็นแล้ว ซึ่งนกทั้งหลายกำลังบิน = กฺเษเตฺร อหํ วิหคานฺปตโต ' ปศฺเย
  6. เขา ผู้มีชีวิตวันนี้ ย่อมตายวันพรุ่งนี้ = อทฺย ส ชีวญฺศฺโว มฺริเยตฺ
  7. ฉันเห็นแล้ว ซึ่งนกทั้งหลายที่บินอยู่ในทุ่งนา = ซ้ำ
  8. คำพูดของคนดีย่อมถูกทำ (√กฺฤ) = วากฺสนฺตะ กริเยตฺ
  9. จงอาศัย ในบรรดาคนดีทั้งหลาย = วนฺตำ วสตุ
  10. หญิงสาวที่กำลังร้อย (√สฺฤชฺ) มาลัยทั้งหลาย นั่งบนหิน = กนฺยา สฺรชะ สฺฤชนฺตีทฺฤษทิ สีทติ
  11. สามีพึงลงโทษภรรยาผู้กำลังขโมยทรัพย์ = ภรฺตา ภารฺยำ ธนํ โจรยตีํ ฑณฺเฑตฺ
  12. ความกลัวของเด็กจากผึ้งทั้งหลายที่บินว่อนอยู่ (√ภฺรมฺ) ในบ้าน ย่อมมีอยู่ = คฺฤเห ศิโศรฺภยมลิภฺโย ภฺรมฺยทฺภฺโย ภวติ

ชายคนนั้นที่ฉันรักอยู่ ได้ทิ้งฉันไปแล้ว - ส นรฎหํ สฺนิหนตฺยชตฺ

ประธานกับกรรมสลับกันแบบนี้แต่งแล้วอาจสับสน
สรุปแบบนี้ เขาทิ้งฉัน ฉันรักเขา (ไม่ใช่ ชายนั้นรักฉัน แล้วทิ้งฉัน)
ถ้าใช้กริยากฤตจะงง

ควรใช้ประโยคความซ้อนแบบแรก (ยะตะ)

ฉันรักชายผู้ใด(ตรงนี้ควรเป็นอดีต) ชายผู้นั้นได้ทิ้งฉันไปแล้ว(ควรเป็นปัจจุบัน. ตามความเป็นจริงคิอ ฉันรักเขาในอดีต แล้วเขาทิ้งฉันในปัจจุบัน)
ยมฺ (อหมฺ) อสฺนิหยมฺ, ส มามฺ ตฺยชติ. > ยมสฺนิหยํ  ส มำ ตฺยชติ.

3.พระราชาผู้ชนะอยู่ในการรบ ย่อมได้รับเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ = รเณ ชยนฺภูภฺฤนฺมหทฺยศฎฺลภเต ลเภตฺ 

4.ในบรรดาดวงดาวทั้งหลาย ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นใหญ่ = ชโยติษำ มหตี มหานฺเตา อาทิตฺยะ จนฺทฺรมะ จ

ชฺโยติษำ/ชฺโยติษฺษุ มหานฺเตา อาทิตฺยศฺจนฺทฺรมศฺจ. ใช้ มหานฺเตา ปุ.ทวิพจน์

ในทุ่งนา ฉันเห็นแล้ว ซึ่งนกทั้งหลายกำลังบิน = กฺเษเตฺร อหํ วิหคานฺปตโต ' ปศฺเย.

กฺเษเตฺร'หํ วิหคานฺปตโต ' ปศฺยมฺ(ปรัสไมบท)

ว่าแต่ชื่อธาตุ มัญชรี นี้คืออะไรเหรอคะ หนูไม่เห็นเคยจะได้ยิน

คุ้นๆ มาก อิๆๆ

มัญชรี แปลว่า กลุ่ม, มักต่อท้ายชื่อหนังสือจำพวกรวบรวมศัพท์หรือเนื้อหาต่างๆ

เคยใช้ ธาตุรูปมัญชรี เป็นภาษาสันสกฤต

(แบบฝึกหัดยังตรวจไม่หมดนะ)

ระหว่างนี้ฝึกแต่งบทความภาษาสันสกฤต หรือหาข้อความมาแปล ทบทวนสนธิ ฯลฯ ไปก่อน

อาจารย์เห็นไฟล์ธาตุมัญชรีที่หนูส่งให้ดูแล้วใช่ไหมคะ ไว้เรามาทำกันบ้างไหมคะ ทั้งคำนาม ธาตุ และ นิบาต

แต่ของเราคือรวบรวมจากคำทั้งหมดที่มีในบทเรียน พูดเหมือนเราว่างกันมากเลยนะคะ อิอิ

แต่เห็นอาจารย์พูดอยู่ว่าอยากทำพจนานุกรม ถ้าว่างหนูก็จะช่วยค่ะ ขอเพียงแต่อาจารย์สั่งมา

จริงๆ แล้วผมเคยรวบรวมธาตุไว้ คล้ายๆ แบบนี้ แต่หาไม่เจอ มีแี่ต่ที่ยังไม่ครบถ้วน ไว้ทำใหม่ก็ได้

งั้นคุณศรีรวบรวมเฉพาะในบทที่เราเรียนก่อน เรียงตามอักษร ระบุชนิดคำ  แล้วค่อยมาเติมไปเรื่อยๆ

6. เขา ผู้มีชีวิตวันนี้ ย่อมตายวันพรุ่งนี้ = อทฺย ส ชีวญฺศฺโว มฺริเยตฺ มฺริยเต (ใช้ปัจจุบันกาล)

8. คำพูดของคนดีย่อมถูกทำ (√กฺฤ) = วากฺสนฺตะ กริเยตฺกฺริเยต. 

9.จงอาศัย ในบรรดาคนดีทั้งหลาย = สตฺสุ/สตาม วส. 

(สตฺ ใช้รูปอ่อน) ถ้าไม่มีประธาน ประธานคือ ท่าน (บุรุษที่ 2)

11.สามีพึงลงโทษภรรยาผู้กำลังขโมยทรัพย์ = ภรฺตา ภารฺยำ ธนํ โจรยตีํ ฑณฺเฑตฺ

ภรฺตา ธนํ โจรยตีํมฺ ภารฺยำ ทณฺฑเยตฺ. ลำดับคำให้รองรับ กรรม-กริยา

โศลกแปลได้แต่ท่อนแรกค่ะ อาจารย์ช่วยแยกสนธิให้ดูด้วยนะคะ รอบนี้ งงมากๆ

सन्तोsपि न हि राजन्ते दरिद्रस्येतरे गुणाः.

आदित्य इव भूतानां श्रीर्गुणानां प्रकाशिनी/ 11/

คุณความดีแผ่ไปไม่เว้นแม้แต่กระทั่งคนดีที่ยากจน

อ๋อ..อาจารย์คะ ประโยคที่มีคำว่า ''ย่อม''  นี้ หนูจะใช้เป็นวิธิมาลาค่ะ แต่จริงๆ ควรใช้เป็นรูปปัจจุบันกาลเหรอคะ ?

ความจริง ตำราส่วนมาก ใช้ ย่อม เพื่อบอกปัจจุบันกาล แต่ผมไม่ค่อยใช้ เพราะดูเยิ่นเย้อ


สนฺตสฺ อปิ น หิ ราชนฺเต/ ทริืทฺรสฺย อิตเร คุณสฺ

อาทิตฺยสฺ อิว ภูตานามฺ / ศฺรีสฺ คุณานามฺ ปฺรกาศินี


ยากนิดหน่อย บอกใบ้ให้

ราชนฺเต < √ราชฺ

ภูตานามฺ แปลเสมือนเป็นกริยา

ศฺรีสฺ < ศฺรี (ส. กรรตุ.เอก. แจกแบบ ธี)

परोपकाराय फलन्ति वृक्षाः 
परोपकाराय वहन्ति नद्यः। 
परोपकाराय दुहन्ति गावः 
परोपकारार्थमिदं शरीरम्॥

โศลกนี้หนูติด คำว่า ผลนฺติ วหนฺติ ทุหนฺติ พวกนี้ล่ะค่ะ ติดอยู่พวกเดียวจริงๆ คือดูจากรูปการณ์แล้วน่าจะเป็นคำนาม แล้วเป็นกรรมตรงไหมคะ แต่ทำไมถึงปรากฎรูปคล้ายคำกริยาสะอย่างนั้น รบกวนอาจารย์ด้วยค่ะ 

परोपकाराय फलन्ति वृक्षाः 
परोपकाराय वहन्ति नद्यः। 
परोपकाराय दुहन्ति गावः 
परोपकारार्थमिदं शरीरम्॥

งง เพราะไปคิดว่าเป็นนาม คำที่ลง อนฺติ ก็กริยาปัจจุบันกาล พหูพจน์ ธรรมดานี่เอง

ผลฺ แปลว่าให้ผลก็ได้ , วหฺ แปลว่า พาไป, ทุหฺ แปลว่าให้นม (ปกติควรเป็น ผลยติ คือเอานามมาเป็นธาตุ ลง อย แต่ในที่นี้ใช้ ผลฺ เลยก็ได้ จะได้คล้องจองกับกริยาตัวอื่น)

ต้นไม้ให้ผลเพื่อ ปโรปการ (ปร+อุปการ) คือ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อความเห็นใจผู้อื่น

แม่น้ำก็ไหลเพื่อผู้อื่น, แม่โคให้นมเพื่อผู้อื่น

ร่างกายนี้ ก็เพื่อผู้อื่น ปโรปการ+อรฺถมฺ อิทมฺ

อรฺถ = เพื่อ, ประโยชน์

สุภาษิตขอยอมแพ้ค่ะ งง จริงๆ

อาจารย์ไม่ชึ้นบทใหม่เหรอคะ อิอิ

อีกวันสองวันครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท