ทดลองปั้นยาลูกกลอน


เรียนเรื่องยาถ้าไม่ลงมือปรุงเอง แม้จะเชื่อถือสรรพคุณแล้วก็ตามก็ยังไม่สะดวกใจที่จะซื้อมากิน

เพราะเหตุผลที่ตัวยานั้นต้องสะอาดปราศจากสารพิษ ปราศจากสิ่งเจอปน

เรียนแล้วก็ทำการทดลองปรุงยาด้วยตัวเอง ตามปรัชญาของดิวอี้ว่า

การเรียนรู้ที่ดี และลุ่มลึก ผู้เรียนจะต้อง learning by  doing 

วันนี้จึงทดลองทำยาลูกกลอน 2 ตัวยา

ระหว่างขมิ้นชั้นบด กับใบเหงือกปลาหมอบดละเอียด

ตามขั้นตอนต่อจากนี้

1.ร่อนตัวยาก่อน เผื่อมีอะไรแปลกปลอมช่วงเตียมติดไฟถ่าน

2.เคี่ยวน้ำผึ้ง 1 ขวด โหน้ำผึ้งหน้าฝนที่ซื้อมานี่น้ำเยอะจัง

เคี่ยวจนเป็นฟองฝอยละเอียด เอลืมชั่งน้ำหนักเลยไม่รู้ว่า

เมื่อเป็นฟองฝอยน้ำหนักหายไปเท่าไหร่

ไม่เป็นไรแก้ปัญหาด้วยการเอาน้ำฝึ้งเคี่ยวแล้วเทกลับลงขวด เสียเวลาเน้อะ

หายไป1/3 ไม่คิดรวมส่วนที่ติดค้างหม้อและขวด นี่แบบนี้ไม่ได้มาตรฐานแต่ได้งาน

ต้มน้ำสะอาดให้เดือดพล่านสักพัก แล้วเทผสมแทนเท่าปริมาณน้ำผึ้งที่หายไป

ต้มเคี่ยวให้เป็นเนื้อเดียวกัน นึกถึงขนมปังโลจิ้มน้ำฝึ้ง

รอให้เย็น

3.นำมาผสมตัวยาขมิ้นที่กองเป็นภูเขาเล็กๆปริมาณ 5 ช้อนโต๊ะ ทำปุ๋มตรงกลาง

หยอดน้ำผึ้งทีละน้อยๆค่อยๆตะล่อมดูเข้ากันได้ดี ปล่อยทิ้งไว้ 

หันมาทำภูเขาใบเหงือกปลาหมอบ้างสีเทาดำนี่ไม่น่าทำ

หยอดน้ำผึ้งลงไปเช่นเดียวกับขมิ้น แต่น้ำผึ้งกลิ้งหนี

แหมไม่รับกันเลย พยาบาลใหม่ ตะล่อมช้าๆ น้ำผึ้งซึมช้ามากเอาใบตองตะล่อมห่อไว้ก่อน

 แทนการหมักไม่ให้โดนลม

แล้วหันมาเติมน้ำผึ้งทางกองขมิ้น ค่อยๆขยี้ให้ตัวขมิ้นแตกรับน้ำผึ้ง อันนี้ไม่ยาก เลย 

ดูเหมือนว่าจะแฉะไม่เป็นไรโรยผงขมิ้นลงไปนวดแบบดินน้ำมันแล้งคลึงเป็นเส้นยาวเท่าเครื่องปั้นเมล็ด 

4. ปั้นด้วยเครื่อง วางเส้นยาขวางพาดร่องเมล็ด กดแป้นเบาๆลากแป้นลงมา ไฮ้ ..ลงถาดหมด แล้ว เม็ดสวยบ้างไม่สวยบ้าง..เอาใหม่ปั้นเส้นใหม่

 กดแป้นเบาๆ ลากแป้นลงพอรู้รู็สึกว่าเม็ดยาเคลื่อน แล้วลากแป้าขึ้นไปและลงมา คราวนี้เม็ดยาสวย 

ลองชิมดูรสหวานอมขมเล็กน้อย ไม่อร่อย แก้ท้องอืด รักษาแผลในกระเพาะได้ ตากแห้ง และอบเก็บไว้ใช้..

ยังไม่ทันได้อบเลย อ.พันศักดิ์รู้เข้าชิวไปแล้วบอกว่าจะเอาไปแจกคนแก่แถวไร่จะได้เลิกกินยาดูดแก๊ส

สำหรับเหงือกปลาหมอมันยากจัง มันกินน้ำผึ้ง ตัวยาหยาบ กระด้างเมื่อเจอน้ำผึ้ง นี่เป็นความแตกต่างทางกายภาพของพืช ที่มีความแตกต่างกัน หรือว่าน้ำเค็มกับน้ำจืดมีผลต่อกายภาพของพืชแต่ละชนิด

อ.ท่านแนะนำหมักน้ำผึ้งไว้ 3 วัน จนกว่าตัวยากับน้ำผึ้งจะเ้ข้ากันได้ดีจึงจะนำมา ปั้นยาเม็ดไม่แตก

 แต่ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้นะ จึงแอบเอามานวดๆๆๆกับน้ำผึ้งเกือบครึ่งแก้วแล้วเนื้อยายังหยาบอยู่ อยากรู้จังว่ารสชาติเป็

นอย่างไร ไม่ต้องรอครบ 3 วัน ก็ปั้นแล้วชิมดู เออเข้าทีดี อร่อยย ังกับกินขนมถั่วดำบดงั้นแหละ คล้ายช๊อคโกแล๊ต

ก็คล้าย หวาน และหอมเป็นยาอายุวัฒนะที่กินง่ายมากเลย แต่พ่อบ้า่นไม่ยอมกินบอกว่า ขี้มือ55 

คะยั้ยคะยอให้ชิมรสชาติบอกว่าหวาน เขาชอบบรเพ็ดมากกว่า ก็ได้ยาลูกกลอนตำรับละ 50 เม็ด แต่พ่อน้องชาย

ก็ซิวไปแจกหมดแล้ว

ตั้งใจว่าจะเติมอบเชยลงไปเชียวนา เอาแอบคลุกอบเชย คลุกบ๊วย เลยต้องยดไปทำใหม่ ลองใหม่ เมื่อมีเวลา

ข้อคิด เมื่อเหงือกปลาหมอเข้าน้ำผึ้งยากและใช้เวลานานกว่า หากต้องผสมตัวยาที่มีกายภาพต่างกัน ก็ควรทำให้มันเกิดความพร้อมใกล้เคียงกันก่อนจึงผสม เช่นหมักเหงือกปลาหมอให้เข้ากับน้ำผึ้งก่อน 3 วัน แล้วจึงเอาตัวยาอื่นตามสูตรผสมก็จะช่วยให้ตัวยาเข้ากันได้ดีและเป็นเนื้อเดียวกัน

ข้อควรระมัดระวังต้องสะอาด และต้องให้ปลอดเชื้อราใดๆ ขั้นตอนนี้ทำได้เพียงอบความร้อนไล่ความชื้นและหลีกเลี่ยงการทำยาเก็บไว้ใข้ ดูเหมือนจะเป็นจุดด้อยของยาสมุนไพรไทยเรา

ตัวยาบางอย่างไม่อาจใช้วิธีการสกัดสารออกมาได้ เพราะต่างชาติมาเอาของเราไปสกัดและจดลิขสิทธิ์เป็นของเขาไปแล้ว เราก็เลี่ยงบาลีด้าวยการป่น เป็นชาบ้าง ทำลูกกลอนบ้าง ทำเป็นยาต้มบ้าง  ทำบรรจุแคปซูลบ้างแต่สุดท้ายเราก็ต้องเจอปัญหาเดิมๆคือยาเสียง่าย  

ยาไทยจึงเหมาะกับความเป็นไทย แบบพื้นๆแบบพอเพียง แบบช่วยตัวเอง และระวังก่อนเกิดมากกว่าการปล่อยให้เป็นแล้วจึงรักษา

ดังนั้นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ อาหาร เครือ่งดื่ม ...จึงมีอิทธิพลต่อการเกิดโรค


หมายเลขบันทึก: 539865เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะพี่ครูต้อย

เหงือกปลาหมอมีสรรพคุณอะไรบ้างคะ  ใช้ส่วนไหนได้บ้างคะใบหรือว่าทั้งใบและลำต้น

ถ้าใช้แบบสดต้มน้ำร้อนได้ไหมคะ

ขอบคุณบันทึกดีๆนี้คะ

เหงือกปลาหมอใช้ได้ทั้ง ราก ต้น ใบ ดอก ผล ค่ะ

ในส่วนที่พี่ทำยาลูกกลอนนั้นใช้เฉพาะใบนะคะ

สรรพคุณของต้นไม้บางชนิดทั้งต้นมีสรรพคุณเหมือนกัน แต่ต้นไม้บางชนิดเขามีคุณสมบัติในส่วนต่างๆเช่นดอก ใบ ราก ไม่เหมือนกัน

และส่วนประกอบของต้นไม้เมื่อเข้ายาแล้วต่างก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง ที่เรียกว่าแทนกันได้ค่ะ

ลองเก็บเหงือกปลาหมอที่ใบเติบโตเต็มที่แต่ยังไม่เปลี่ยนสีนะคะ มาล้างให้สะอาด ผึ่งลมและไอแดด พอแห้งกรอบแล้วก็เอามาเข้าเครื่องบ่นที่สะอาด ใหม่ทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อรา ต่อจากนั้นเอาไปอบฆ่าเชื้อนะคะ แล้วจึงนำมาผสมน้ำผึ้งอย่างที่พี่เขียนไว้ บางทีเราอาจได้ขนมยาให้เด็กๆทานได้ พี่ลองเอามาชุขช๊อคโกแล็ต แล้วทานกับไอครีมแทนสตรอเบอรี่ ก็อร่อยค่ะ แต่สิ่งที่ควรระวังคือยาก็คือยา เพียงแต่เราหาวิธีที่กินง่ายๆอร่อยๆสำหรับเด็กๆค่ะ

หรืออาจนำใบแห้งมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆแบบโมเสดก็ได้ค่ะเอามาผสมใบเตยหอมแห้ง ในต้นสัก คลุกผสมให้เข้ากัน เอาไว้ชงเป็นชาดื่มได้นะคะ ข้อสำคัญถ้าต้องการได้ส่วนผสมน่ารับประทานก็ใช้กรรไกรตัดจะดูเรียบร้อย แต่คุณค่าของสารจะด้อยลงไป ละลายออกมาช้าไป ไม่เหมือนการฉีกเราจะเห็นเส้นใยขอบชิ้นไม่เรียบ แต่ช่วยให้สารในใบไม้ละลายออกมาเร็วขึ้นค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความสนใจ พี่เองก็เพิ่งเรียนรู้ แต่โชคดีที่เรียนรู้ไปด้วยและกล้ารับประทาน ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้แมวใช้หนูค่ะ และยังโชคดีที่มีเพื่อนๆร่วมอุดมการณ์เดียวกันชอบลอง 555 แต่ต้องมีสติด้วยนะคะ

ใบสดต้มน้ำร้อนได้ไหม 

ได้ซิคะ ลองต้มดูนะ สังเกตเอาเองว่าแตกต่างกันทางกายภาพระหว่างแห้งกับสด และรสชาติ กลิ่นก็แตกต่างเล็กน้อย ลิ้นของเราจะบอกได้ว่า เหงือกปลาหมอก็มียางเหมือนกัน อิอิ ข้อเสียของสดต้มทิ้งไว้หลายมื้อไม่ดี มันจะเสียง่ายค่ะ และกลิ่นจะเปลี่ยนไป

ได้ลองกินหรือยังครับ รสชาดเป็นอย่างไรบ้างครับ

พี่ปั้นไปชิมไป 555

ขมิ้นชันนั้นออกขมเล็กน้อย 

แต่เหงือกปลาหมอ ..ขอบอกว่าเลิศค่ะ รสชาติชวนให้หยิบกินไม่เลิก 

น้องอ.ดร.ขจิต ลองทานไหม พี่จะส่งไปให้ โดยเฉพาะเหงือกปลาหมอ 

ถ้าไม่ชอบอร่อยแบบขนมก็จะเติมบอระเพ็ด ลงไปให้ อิอิ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท