189. การแนะแนวเพื่อ “การดำรงชีวิตและโลกของงาน”


>>>

             หลายวันก่อน ผู้เขียนได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์ จากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เกี่ยวกับการเชิญเข้าร่วมประชุมและให้ข้อคิดเห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง  การแนะแนว เพื่อ “การดำรงชีวิตและโลกของงาน” สำหรับโรงเรียนขนาดกลาง เพื่อสนับสนุนข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มความรู้ “การดำรงชีวิตและโลกของการทำงาน” ในระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ณ  สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)  เขตพญาไท  กรุงเทพมหานคร

             ทั้งนี้  เนื่องจากคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ มีแนวคิดการแบ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้ใหม่  การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการปรับหลักสูตร  และการปฏิรูปการศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน  โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้  ได้แก่

             1) ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture)

             2) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM)

             3) การดำรงชีวิตและโลกของงาน (Work Life)

            4) ทักษะสื่อและการสื่อสาร (Media Skill and Communication)

            5) สังคมและมนุษยศาสตร์ (Society and Humanity) และ

             6) อาเซียน ภูมิภาคและโลก (Asean Region and World)

              หลักสูตรฯ ดังกล่าว นอกจากจะลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว ยังจะมีการลดชั่วโมงเรียนลงด้วย และเพิ่มโครงงาน หรือการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากขึ้น  เพื่อให้เด็กได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้

>>>

                การออกแบบหลักสูตรครั้งนี้  มีโจทย์ท้าทายหลายอย่าง ทั้งกรณีหลักสูตรจะช่วยให้นักเรียนทำอะไรได้บ้าง สำหรับกลุ่มนักเรียนที่ประสงค์เรียนแค่ ม.6 ขณะเดียวกันจะทำอย่างไรให้นักเรียนกลุ่มนี้แทนที่จะเรียนถึงแค่ ม.6 ก็ให้ไปเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แทน เพราะที่สุดแล้วก็จะมีลู่ทางการทำงานที่ดีกว่าการจบ ม.6 แน่นอน หรือหากจะต่อยอดการศึกษาก็ยังสามารถเรียนถึงประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และเรียนต่อระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษาได้อีก ฉะนั้นนอกจาก จะปรับเรื่องระบบการศึกษา ก็ต้องปรับระบบแนะแนวใหม่ด้วย เพื่อจะสามารถกระจายคนเรียนสายอาชีพมากขึ้นเพื่อรองรับกับตลาดแรงงานในอนาคต

>>> 

                 ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว เพิ่มเติมได้ที่

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)  หรือที่ http://www.qlf.or.th

>>> 

                  ผู้เขียน ขอขอบคุณ เว็บไซต์ http://www.gotoknow.org  เป็นอย่างสูง ที่มีส่วนทำให้ผู้เขียนได้เข้าร่วมในกิจกรรมระดับชาติครั้งนี้  เนื่องจากทาง สสค. ได้เห็นผลงานเขียนของผู้เขียน เรื่อง 183. แนวคิดการออกแบบ "กิจกรรมแนะแนว"  อันเป็นต้นเหตุให้ผู้เขียนได้รับโทรศัพท์ติดต่อตามที่เขียนข้างต้นบันทึก  นี่...จึงเป็นเหตุผลในการได้รับโอกาสดีๆ ครั้งนี้...

>>>> 

ขอบคุณภาพประกอบจาก สสค. ด้วยคะ



>>>
ข้อเสนอที่นำเข้าร่วมการประชุมฯ ครั้งนี้

...

         การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแนะแนว เพื่อ “การดำรงชีวิตและโลกของงาน” สำหรับโรงเรียนขนาดกลาง   เอกสารประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อคิดเห็น_เกวิกา.pdf

โดย...เกวิกา ภูมิดี


>>>

หมายเลขบันทึก: 540681เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2013 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2013 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณKEWIKA POOMDEE...แลกเปลี่ยนเรียนรู้...เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งนะคะในฐานะที่เคยเรียนจิตวิทยาการแนะแนะมาในระดับปริญญาตรี ...เห็นความสำคัญของงานแนะแนวมาก...งานแนะแนวเป็นเครื่องมือสำคัญของการบริหารงานด้านต่างๆของโรงเรียน...แต่โรงเรียนไม่ได้นำมาใช้อย่างถูกต้องจึงมีภาระงานของโรงเรียนและของครูเกิดขึ้นมากมาย...เคยนำหลักการของงานแนะแนวมาใช้ในการบริหารงานวิชาการ ...แต่ไม่ได้รอดูผลเพราะลาออกก่อน...ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆในเรื่องของอาชีพ...การแนะแนวอาชีพจะต้องสอนกันตั้งแต่อนุบาลเพื่อให้รู้จักอาชีพในครอบครัว และในชุมชน...การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะช่วยเชื่อมโยงให้เด็กรู้ว่าเรียนจบแล้วต้องประกอบอาชีพ...การแนะแนวอาชีพจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจเลือกเรียนอาชีพที่มีความชอบ มีความถนัดและมีประสบการณ์ได้...เมื่อชอบหรือสนใจกลุ่มอาชีพไหน...ก็ไปดูไปเรียนรู้...ไปลงมือปฏิบัติจริง...ตรงนี้โรงเรียนสามารถจัดหลักสูตร ภาษาที่2 ...ที่ 3 ให้สัมพันธ์กับอาชีพอาชีพต่างๆที่เด็กชอบและชุมชนต้องการ...มีหลักสูตรบริหารจัดการด้านต่างๆในการประกอบอาชีพ...รู้ขั้นตอนวิธีในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน...รู้จักการวางแผนการตลาด...หากใครไม่ถนัดจะเป็นผู้ประกอบการ...ก็สามารถเรียนคิดค้นสิ่งประดิษฐ์สินค้าใหม่ๆ หรือพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์เครื่องมือของอาชีพต่างๆที่มีอยู่ตั้งแต่ในครอบครัว ชุมชน และสังคมโลก...ซึ่งหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนก็ต้องลงมาส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง...คนจบระดับไหนก็มีอาชีพทำนะคะ...

ขอบคุณ ดร. พจนา แย้มนัยนา  เป็นอย่างสูงคะ ที่เข้ามาร่วมและเปลี่ยนเรียนรู้

การเข้าร่วมการประชุม ก็มีผุ้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายคะ ทั้งครูผู้สอน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ภาคเอกชนที่ดูแลเรื่องการใช้ตลาดแรงงาน นักเรียนนักศึกษาผู้จะได้รับปรโยชน์ รวมทั้งองกรณ์เอกชนที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็ก

มีการพูดคุยถึงการจัดทำหลักสุตรแนะแนวอาชีพอย่างเป็นกระบวนเหมือนที่ท่านว่าคะ แต่ขอจำกัดของไทยน่าจะเป็นการวางแผนแยกส่วนกัน คือ ที่ประชุม จะคุยในภาพการจัดกิจกรรมระดับชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย ซึ่งทำให้ผู้เขียนไม่เห็นภาพการจัดการในช่วงระดับประถมศึกษา

อย่างไรก็ตาม ตามหลักสูตรเห็นมีโครงสร้างที่วา่งแผนไว้คราวๆ (เป็นร่างฯ คะ) ก็เห็นมีการจัดกลุ่มสาระการดำรงชีวิตและโลกของงานไว้ในระดับประถมศึกษาด้วย...

มีโอกาสคงได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกคะ

^_^

บางครั้งการให้กำลังใจมันเป็นสิ่งถูกมองข้ามไป....วันนี้ก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่มองข้าม...งั้นก็เป็นกำลังให้นะอาจารย์

การให้การศึกษาไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชน ล้วนเป็นที่ดีครับ....เพราะสุดท้ายผู้รับหรือผลผลิตก็คือเยาวชนของชาติไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท