สารกำจัดไรกล้วยไม้(พืชทุกชนิด)


ผมได้รับเอกสารจากพี่สุรชัย โสพิศติพล จากทางเฟสบุ๊ค เรื่องของสารกำจัดไร ซึ่งในประเทศไทยมีใช้ได้ไม่กี่ตัวครับ

การหมุนเวียนกลุ่มสารกำจัดไรศัตรูพืชตามกลไกการออกฤทธิ์  (Modeof Action)

กลุ่ม 10  สารควบคุมการเจริญเติบโตของไรศัตรูพืช
 (ระบบเจริญเติบโต)


 10A  เฮกซีไธอะซอค   นิสโซรัน

กลุ่ม 12  ยับยั้งการสังเคราะห์เอ ที พี ในไมโตครอนเดรีย
(ระบบพลังงาน)


 12B  เฟนบูทาทินออกไซด์ ทอร์ค 

 12C  โพรพาไจ้ท์  
          โอไมท์

 12D  เตตระไดฟอน 
           ทีไดออน วี18

กลุ่ม 19  กระตุ้นจุดรับสารออคโตพามีน (ระบบประสาท)
          อามีทราซ   ไมแทค

กลุ่ม 21  ยับยั้งการส่งอีเลคตรอนในไมโตครอนเดรียคอมเพล็กซ์ I
                           (ระบบพลังงาน)

 21A  เฟนไพรอคซิเมท 
          ออทุส

        ไพริดาเบน     
       แซนไมท์
      เทบูเฟนไพเรด   ไพรานิก้า

กลุ่ม 23  ยับยั้งการสร้างอะเซททิลโคเอคาร์บอกซิเลท
(ระบบเจริญเติบโต)

     สไปโรมิซีเฟน   โอเบรอน    

กลุ่มอื่นๆที่ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอน
       ไดโคโฟล   เคลเทน
      ไดโคโฟล, เตตระไดฟอน เป็นสารฯยุคแรกๆ  เฮกซีไธอะซอค เน้นใช้คุมไข่ไร  ทำลายตัวอ่อนได้บ้าง

ส่วนที่เหลือใช้กำจัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อน
 ไม่คุมไข่

เมื่อเราพบไรระบาดในสวน
 ด้านหน้าใบจะดูด้านๆ  ส่วนหลังใบจะเห็นตัวเต็มวัย  ตัวอ่อน
 ไข่  พร้อมคราบที่ลอกเต็มไปหมด  การฉีดพ่นสารฯจะต้องฉีดพ่นให้ครอบคลุมด้านหลังใบ เพราะสารฯส่วนใหญ่เป็นประเภทถูกตัวตาย
 เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ตรงจุดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด  (คำแนะนำส่วนตัว
 ปกติสารกำจัดไรต้องฉีดเข้าหลังใบ
 จะแนะนำให้ใช้สารป้องกันกำจัดใบปื้นเหลืองไปพร้อมกัน  เพราะสปอร์
ส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราก็อยู่หลังใบเช่นเดียวกัน
 แต่ถ้าฉีดใบปื้นเหลืองแล้วไม่มีไร  ก็ไม่ต้องใส่สารกำจัดไร)


เพื่อให้ประสิทธิภาพในการกำจัดดีที่สุด
 แนะนำให้ฉีดพ่นสารฯ  ๓-๔ ครั้งต่อเนื่องกัน
 โดยเว้นระยะห่างแต่ละครั้ง ๓-๔ วัน(ภาษาบ้าน  เรียกว่า ๕
วันหัวท้ายหรือ ๖ วันหัวท้าย)  โดยสลับกลไกการออกฤทธิ์ทุกครั้งที่ใช้ เช่น
 ครั้งที่ ๑อามีทราซ  ครั้งที่ ๒  ไพริดาเบน ครั้งที่ ๓  เฟนบูทาทินออกไซด์ ครั้งที่ ๔  เฟนไพรอคซิเมท (กลุ่มกลไกเดียวกันถ้าไม่จำเป็นจะไม่ใช้ต่อเนื่องกัน)

เหตุผลที่ต้องใช้ต่อเนื่อง  ๓-๔
ครั้ง  เพราะครั้งที่ ๑ กำจัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อน   รอ ๓-๔
วันไข่ที่มีอยู่จะฟักเป็นตัวอ่อน(ยังไม่เจริญพันธุ์)  ฉีดครั้งที่ ๒
กำจัดตัวแก่ที่หลงเหลือและตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมา  ฉีดครั้งที่ ๓ เป็นการกวาดส่วนที่ยังหลงเหลือ
 ตัดรากถอนโคนให้หมด  ถ้ายังพบเห็นตัวก็ซ้ำรอบที่ ๔
 (ปกติการใช้สารฯก็จะแนะนำแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือแมลง)


หมายเลขบันทึก: 542531เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

.. มีประโยชน์กับผู้ปลูกกล้วยไม้ มากๆ เลยนะคะ ..... ถ้าเขาได้เรียนรู้ ... และเข้าใจสามารถนำไปใช้ได้เลย นะคะ ....


ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ

เข้ามาทักทาย ไม่ได้เข้ามานาน คิดถึงอ๊ะนี่

ช่วงนี้ฝนตกบ่อย ขาดการดูแล กล้วยไม้แสนรัก 2 ต้นที่เกาะต้นเหลืองปรีดียาธรมา 3 ปี ป่วยตายไปเรียบร้อยแล้ว เสียดายมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ...ซื้อต้นกล้วยไม้มาได้ชื่นชมดอกหนเดียวตอนที่ซื้อมาเท่านั้น...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท