แนวคิดร่วมกันทำความดีทางสื่อออนไลน์


มีหลายหน่วยงานที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทางสื่อออนไลน์ ต่างก็มุ่งเน้นที่จะสื่อสารและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการทำงาน


             ปัจจุบันนี้กระแสสังคมโลกต่างก็เกิดการแข่งขันกันหลายๆด้าน บางครั้งก็อาจจะส่งผลกระทบถึงสังคมไทยในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับเช่นกันว่าสื่อในปัจจุบันได้มีการพัฒนาในรูปแบบต่างๆที่รวดเร็ว โดยเฉพาะสื่อทางออนไลน์ ณ.ปัจจุบันก็มีการพัฒนาที่หลากหลาย หากจะย้อนเข้ามาสู่องค์กร หน่วยงานทางราชการ  ก็มีหลายหน่วยงานที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทางสื่อออนไลน์ ต่างก็มุ่งเน้นที่จะสื่อสารและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการทำงานให้มีประสิทธิภาพในองค์กร/หน่วยงาน นั่นเอง


             แนวคิดโครงการร่วมกันทำความดีทางสื่อออนไลน์ ผู้เขียนขอมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิด ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อออนไลน์ โดยต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายที่จะเรียนรู้ทางสื่อออนไลน์พร้อมกำหนดหมวดหมู่ของเนื้อหาเช่นหมวดของการทำความดีของคนในสังคมไทย ก่อนอื่นต้องมีการทบทวนผลของการจัดการศึกษาในระบบ ว่าผลลัพธ์ของการจัดการศึกษาเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศ บางครั้งอาจจะเป็นเพราะการกำหนดหลักสูตรในการเรียนการสอนในสถานศึกษาหรือไม่อย่างไร


              หากเราลองย้อนมาดูสิ่งที่ใกล้ตัวเรา ก็คือ ณ.วันนี้บริบทคนในสังคมไทยเป็นอย่างไร ในกลุ่มเป้าหมายมีการปรับแนวคิดของบุคลากรโดยมุ่งเน้นการทำความดีอย่างไร ได้แก่ การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยเรา การมีคุณธรรมและจริยธรรม  อาจจะรวมไปถึงความซื่อสัตย์สุจริต เป็นสำคัญ จะทำอย่างไรที่นำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยไม่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสนิยมในปัจจุบัน แต่ก็มีตัวอย่างที่เห็นอยู่โดยทั่วไป ประเด็นนี้ ควรจะเริ่มต้นที่ครอบครัว  การปลูกฝังความคิดโดยให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าแก่นของศาสนาทุกศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุธ จะต้องมีการนำเสนอที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ฟังแล้วเข้าใจง่าย พร้อมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้เลย โดยส่งเสริมการเข้าถึงแก่นพุธศาสนา เช่น ธรรมะสอนใจสำหรับผู้ท้อแท้ฯลฯ เป็นต้น  ควรจะมีการกำหนดเป็นหลักสูตร e-learning ควบคู่กับการศึกษาในระบบหรือการศึกษานอกระบบ


              ควรจะมีการส่งเสริมการสร้างความสุขในทางสงบได้แก่ การพัฒนาจิตใจ การสร้างสติ  ฝึกสมาธิ การถือศีล การให้ทาน เป็นต้น  เพื่อชี้ให้คนเราเห็นความสำคัญกับการสร้างความดีและยึดถือปฏิบัติตามพุทธวจน มากกว่าที่ส่งเสริมให้คนเราเด่นดังมีชื่อเสียง ร่ำรวยเงินทอง มีทรัพย์สมบัติมาก มีหน้ามีตา(เชิงตำแหน่ง)ในสังคมแต่ขาดการพัฒนาด้านจิตใจ (สิ่งที่ก่อให้เกิดกิเลสเช่นอยากมี อยากเป็น อยากได้) เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ประเด็นนี้ก็ควรจะการกำหนดการส่งเสริมการสร้างความสุขในทางสงบไว้ในหลักสูตร e-learning  ควบคู่กับการศึกษาในระบบหรือนอกระบบ เช่นกัน


             ควรจะมีมีการส่งเสริมในการสร้างคนให้มีจิตอาสาให้มากขึ้น ในองค์กรหรือองค์กรต่างๆควรจะให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งสร้างเวทีการสนทนาพูดคุยกันมากกว่าการสั่งการอย่างเดียว  ประเด็นนี้ก็ควรจะกำหนดไว้ในหลักสูตรe-learning ควบคู่กับการศึกษาในระบบหรือนอกระบบ

 เป็นเพียงแนวคิดหนึ่ง ที่ผู้เขียนขอมีส่วนร่วมในโครงการร่วมกันทำความดีทางออนไลน์นะครับ


เขียวมรกต

๒๘ กค.๕๖




หมายเลขบันทึก: 543865เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ดร.จันทวรรณ ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมาครับ

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ขจิต ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมาครับ

ขอขอบคุณ อ.เพชรน้ำหนึ่ง ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจกันครับ

ขอขอบคุณ tuknarak ที่แวะมาให้กำลังใจครับ

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ไอดิน ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท