การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านรักความเป็นไทย โรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) สังกัดเทศบาลเมืองโพธาราม จังหวัดราชบุรี


การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักความเป็นไทย มีวัตถุประสงค์

ผู้ประเมิน        นายอัศวิน  คงเพ็ชรศักดิ์

 

 

โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต  กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครู สายงานผู้บริหารและผู้สอน จำนวน 27 คน นักเรียน                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 120 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 120 คน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามโครงการ  นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จาก (1) ข้อมูลจากเอกสาร (Document) (2) ข้อมูลจากแบบสอบถาม (3) ข้อมูลภาคสนาม (Field)  โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น โดยใช้รูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบ 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาความ (Description Analysis) และการวิเคราะห์เชิงอธิบายความ (Explanatory Analysis)

ผลการประเมิน

1. ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า ก่อนเริ่มโครงการนักเรียนมีการร่วมกิจกรรมรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย แต่เรื่องการใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นจุดที่ต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนา เพราะเป็นพื้นฐานในการเรียนในระดับสูงขึ้น จึงควรมีการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ตั้งแต่พื้นฐาน การอ่าน เขียน รวมถึงการพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และสามารถพูดในที่สาธารณะได้ รวมถึงการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่

2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า การจัดโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์     ด้านรักความเป็นไทย ในครั้งนี้ มีความพร้อมด้านสถานที่  งบประมาณ บุคลากร และผู้บริหารสถานศึกษา

3. ด้านกระบวนการ ขั้นเตรียมการ และขั้นดำเนินงาน พบว่า โครงการมีความพร้อมและเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนขั้นประเมินผลและรายงาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ พบว่า การจัดโครงการครั้งนี้ มีการเตรียมการเป็นอย่างดีทุก ๆ ด้าน ในขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า สามารถดำเนินการไปได้ตามขั้นตอน ในขั้นตอนประเมินผลและรายงาน พบว่า มีการประเมินผลเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

4. ด้านผลผลิต พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินผลผลิตด้านพฤติกรรมรักความเป็นไทยของนักเรียน พบว่า มีระดับพฤติกรรมรักความเป็นไทยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลในแต่ละด้าน พบว่าทุกด้าน ได้แก่ ด้านความภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย และความกตัญญูกตเวที ด้านการเห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยใน การสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และด้านการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย มีระดับพฤติกรรมรักความเป็นไทยอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผลผลิต พบว่า กิจกรรมที่เป็นการสืบสานประเพณีไทย รวมถึงการใช้วิธีชีวิตแบบไทย เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งต่อตัวครูและต่อนักเรียน ผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณลักษณะ       อันพึงประสงค์ ด้านรักความเป็นไทย เกิดขึ้นทั้งต่อนักเรียน  ต่อครูผู้รับผิดชอบโครงการและต่อชุมชน

 

หมายเลขบันทึก: 546558เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2013 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2014 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

4. ด้านผลผลิต พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินผลผลิตด้านพฤติกรรมคุณธรรมของนักเรียน พบว่า มีระดับพฤติกรรมคุณธรรมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาผลในแต่ละด้าน พบว่าทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ด้านการเป็นศิษย์ที่ดีของครู ด้านการเป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อนด้านการเป็นพสกนิกรที่ดีของแผ่นดิน และด้านการเป็นศาสนิกชนที่ดีของศาสนา มีระดับพฤติกรรมคุณธรรมอยู่ในระดับมาก

ข้อ 4 นี้ ต้อง highlight ครับ

ผมทราบมาว่า เด็กนักเรียนชาวพม่า เรียนพระพุทธศาสนา เน้นมงคล 38 ประการ เน้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และ attitude ในนั้นมีครบทุกอย่าง

อาจารย์ลองทำวิจัย หรือเก็บข้อมูลธรรมดาก็ได้ครับ ว่า เด็กๆ ไทย มีการประยุกต์ใช้ เรื่องนี้ ในชีวิตจริงมากน้อยเพียงใด

น่าสนใจมากครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูล

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท