แก้ปัญหาเรื่องมด ต้องลดจำนวนเพลี้ยให้น้อยลง


ปัญหาเรื่องมดที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรนั้น บางท่านอาจจะยังไม่ทราบมานักว่า มด นั้นก็สร้างปัญหาให้กับชาวสวนชาวไร่ได้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ความจริงแล้วมดก็มีมากมายหลายชนิดนะครับ แต่ที่จะนำมาให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักก็จะเป็นมดที่เราๆ ท่านๆ คุ้นเคยกัน อย่างเช่น มดแดง ที่มีลักษณะของลำตัวเป็นสีเข้ม ส่วนหัวและส่วนอกจะมีขนเป็นเส้นเล็กๆ มีหนวดอยู่ 12 ปล้อง ขาเรียวยาว อกจะยาวโค้ง มดแดงมันจะชอบทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่ อย่างเช่น ต้นชมพู่ ต้นมะม่วง เวลาเจอเหยื่อมันจะตอบโต้ด้วยการกัดจากนั้นมันก็จะฉีดสารพิษของมันออกมาทางปลายท้อง และเมื่อพวกมันได้รับบาดเจ็บพวกมันก็จะลากกันกลับไปที่รัง อาการคันของมนุษย์ที่โดนมดแดงกัดจะรู้สึกกัด ปวดและในเวลาต่อมาก็จะมีอาการบวมคัน  อันดับต่อไปคือ มดคันไฟ จะมีลักษณะออกสีแดงเหลือง
มีขนทั้งบริเวณหัวและลำตัว จะมีหนวดอยู่ 10 ปล้อง ใต้ท้องของมันจะเป็นรูปไข่มีลายขวางเป็นสีน้ำตาล มดประเภทนี้มักจะชอบทำรังอยู่ใต้ดิน และจะต้องมีรูทางเข้า-ออกเล็กๆและที่สำคัญมดประเภทนี้จะกัดเจ็บ ถึงแม้ว่าเราจะไม่พบมดคันไฟอยู่บนต้นไม้มากนัก แต่มักจะสร้างปัญหาให้แก่พี่น้องเกษตรกรในช่วยที่เราพักผ่อนหย่อนใจใต้ร่มไม้หลังจากตกแต่ง ตัดกิ่ง ใส่ปุ๋ยหรือทำกิจกรรมต่างๆ ภายในสวน มดดำ จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือในบางส่วนอาจเป็นสีดำซึ่งจะมีขนสีน้ำตาลคลุมไว้ทั่วลำตัว มีหนวดอยู่ 12 ปล้อง ลำตัวยาวเห็นได้ชัด ใต้ท้องของมันจะเป็นรูปไข่นูนเล็ด มดประเภทนี้มักจะอาศัยอยู่ตามบ้าน และที่สำคัญมดดำไม่มีอันตรายต่อมนุษย์แต่จะสร้างความรำคาญเสียมากกว่า และที่สำคัญมดดำมักจะคาบเพลี้ยมาเลี้ยงไว้บนต้นไม้ เพื่อเก็บน้ำหวานจากเพลี้ยอีกทอดหนึ่ง  มดง่าม เป็นมดที่มีสีน้ำตาลเข้ม มีกรามขนาดใหญ่ มีหนวดอยู่ 11 ปล้อง มันมักจะทำรังใต้ดินร่วน ชอบทำในที่ร่มชื้น มันมักจะกินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มดง่ามจะกัดได้เจ็บมาก เจ็บจนกลายเป็นแผลอักเสบถือว่าอันตราย  มดชนิดนี้มักจะสร้างความลำบากให้แก่เกษตรกรคล้ายๆ กันกับมดคันไฟ มดตะนอย จะเป็นมดที่มีสีดำปนกับสีเหลือง มีขนบางๆกระจายไปทั่วตามลำตัว มีหนวดอยู่ 12 ปล้อง มันมักจะทำรังอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นก้ามปู มันจะสร้างรังให้เป็นโพรง และพวกมันมักจะหากินตามต้นไม้หรือตามพื้นดิน เวลาที่ถูกมดตะนอยกัดจะรู้สึกปวดมากคล้ายกับผึ้งต่อยก็ว่าได้ และจะมีอาการบวมทำให้รู้สึกคัน ซึ่งผู้เขียนคิดว่ามดชนิดนี้น่าจะมีพิษหรือสร้างความเจ็บปวดให้แก่มนุษย์มากที่สุด (ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.pickwall.com/?p=570)

ส่วนใหญ่มดจะเข้ามาอยู่ในเรือกสวนไร่นาเรานั้นก็เนื่องด้วยมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ทั้งแมลง เพลี้ย น้ำ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้สวนของเรานั้นปราศจากมดไปโดยสิ้นเชิง อย่างน้อยการบริหารจัดการสวนที่จะช่วยให้มดลดจำนวนลงไปได้บ้างไม่มากก็น้อยก็ด้วยการลดจำนวนหรือทำลายอาหารของเขาซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์แก่พี่น้องเกษตรกรและพืชที่เราลงแรงลงเงินปลูกด้วยก็คือ เพลี้ย ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่มดชอบนำมาปล่อยไว้ในสวนของเราเป็นอย่างมาก เพราะมดต้องการให้เพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชและปล่อยน้ำหวานออกมาให้มดเก็บเกี่ยวอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นเราจึงจะพบว่าที่ไหนมีเพลี้ยระบาด ที่นั่นย่อมมักจะมีมดอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน จึงทำให้เกิดผลเสียต่อพืชโดยตรงและสร้างความยุ่งยากรำคาญใจให้แก่เกษตรกรชาวสวนชาวไร่โดยอ้อมอีกทอดหนึ่ง

ฉะนั้นการที่จะกำจัดมด ต้องลดจำนวนของเพลี้ย หรือแมลงศัตรูพืชลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการใช้จุลินทรีย์  “ทริปโตฝาจ” (บิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม) กำจัดเพลี้ย ร่วมกับ สมุนไพรไล่แมลง “ไทเกอร์เฮิร์บ” (ขมิ้นชัน ไพร ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม กานพลู)  ในอัตรา 50 กรัม และ 20 กรัมตามลำดับ ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ และ ไทเกอร์เฮิร์บ จะช่วยทำลายเพลี้ยทุกชนิดมิให้ดำรงชีวิตอยู่กับต้นพืชที่ปลูกไว้ อีกทั้งกลิ่นและรสชาติของสมุนไพรที่ขม ฝาด เฝื่อนจะทำให้พืชเปลี่ยนแปลงกลิ่น รูป และรสให้แตกต่างจากเดิมที่พวกแมลงคุ้นเคยหรือชื่นชอบ เมื่อเพลี้ยไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การทำงานของมดที่เป็นวงจรก็จะถูกตัดขาดออกไป เพราะเพลี้ยที่มดนำมาเลี้ยงหรือปล่อยไว้นั้นตายและไม่สามารถผลิตน้ำหวานให้แก่มดได้ มดก็จะอพยพย้ายถิ่นไปยังดินแดนที่มีความเหมาะสมมากกว่า

 

มนตรี 
บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546652เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท