มาตรฐาน คุณธรรม จริยธรรม ของคนไทยตกต่ำอย่างน่าใจหาย


  • บทความจากหนังสือแนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 20 กรกฏาคม 2556
  • ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
  • http://www.naewna.com/columnist/1104
  • ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
    10
     

มาตรฐาน คุณธรรม จริยธรรม ของคนไทยตกต่ำอย่างน่าใจหาย

ช่วงนี้ประเทศไทยมีปัญหามากมายปัญหาที่อันตรายต่อความอยู่รอดระยะยาว เพราะขาดคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นหลักของคนในชาติตกต่ำอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในวงกาการเมือง
 
§  ไม่ว่าจะเป็นคลิป เสียงซึ่งยังพูดกันสนั่นเมือง
 
§  นักข่าว ซึ่งค่อนข้างจะเป็นกลางท่านหนึ่งยังบอกว่ามาตรฐานของนักการเมืองในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ตกต่ำและที่สำคัญคือ ยังไม่มีท่าทีว่าจะมีใครจะมาช่วยได้ หรือชี้ให้เห็น
 
ถึงความเสื่อมดังกล่าวถึงจะมีคุณธรรม จริยธรรม เสื่อมลงไปเรื่อย แต่คนไทยก็พร้อมจะรับโดยทำตัวเฉยๆ
 
§  สถาบันหลักของชาติ เช่น สถาบันทหารที่เคยเข้มแข็ง ก็มีความอ่อนแออย่างน่าวิตก และใครจะดูแลให้ชาติอยู่รอดตลอดรอดฝั่งในอนาคต น่าวิตกมาก
 
§  ปัญหาของคลิปก็คือ บทสนทนาพูดแต่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่มีใครพูดถึงประโยชน์ของประเทศเลย แล้วประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร
 
เรื่องเณรคำ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้พุทธศาสนาตกต่ำเสียหายอย่างมหาศาลและถ้าไม่เปิดโปงมาในสื่อก็จะเป็นความเสี่ยมของศาสนาพุทธและของชาติอย่างน่าวิตก ทางออกคืออะไร?บทเรียนคืออะไร จะปฏิรูปศาสนาพุทธอย่างไร?
 
แต่ที่เห็นกันในช่วงนี้คือ มีผู้สนใจในทฤษฎี8K’s,5K’s ของผมมากขึ้นเป็นลำดับ
 
โดยเฉพาะล่าสุดก็มีนักเรียนปริญญาเอกจากจุฬาฯ สนใจจะเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่องทุนทางจริยธรรมกับการเน้นปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทย ซึ่งอย่างน้อยจะได้ทราบว่า ปัญหาของคนไทยในปัจจุบันไม่ใช่แค่ปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นปัญหาเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
 
สัปดาห์นี้เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการทุนมนุษย์ที่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจหลายเรื่อง
 
เรื่องแรกก็หนังสือ Human Equity  Advantage เป็นหนังสือเล่มใหม่เน้นการบริหารความหลากหลายหรือ Diversity ที่จะต้องรักษาจุดต่างไว้ แต่จะต้องบริหารความหลากหลายที่เน้น
 
-          Respect : ยกย่องนับถือ
 
-         Dignity : ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
ซึ่งตรงกับแนวคิด HRDS ของผม ที่มองเรื่อง บริหารคนแบบ intangible สิ่งที่อยู่ข้างในและวัดไม่ได้
 
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ในอนาคต เช่น เรื่อง ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ถ้าเราสามารถนำเอาทฤษฎี HRDS
 
•                  Happiness
 
•                   Respect
 
•                   Dignity
 
•                  Sustainability
 
มาบริหารความหลากหลายในภาคใต้ คือมองความแตกต่างทางศาสนาให้เกิดการยอมรับ เข้าใจ ยกย่องและศักดิ์ศรี ผมเชื่อว่าปัญหาต่างๆก็จะค่อยๆดีขึ้น
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง 3 จังหวัดไว้ว่าจะต้อง
 
-         เข้าใจ
 
-         เข้าถึง
 
-         พัฒนา
 
เน้นการให้เกิดการยกย่องและมองความภาคภูมิใจและความเข้าใจของชาวมุสลิมในภาคใต้
 
ล่าสุด กรณี Wayne Rooney นักฟุตบอลคนเก่งของ Man U ก็ไม่มีความสุขในการเล่นให้ Man U อีกต่อไปเหตุผลที่สำคัญที่สุดก็คือ สมัยที่  Alex Ferguson ยังเป็นโค้ชอยู่ก็มีวิธีกาปฏิบัติต่อ Rooney แบบไม่ไว้หน้าผู้เล่นซึ่งมีความภูมิใจในตัวเองอย่างมาก เช่น บางครั้งก็ไม่เลือกให้ลงเล่นในแมตต์ใหญ่ๆ และสำคัญ ซึ่งทำให้ Rooney เสียหน้าอย่างมาก
 
แนวคิดเรื่อง Respect และ Dignity  ก็จะเป็นแนวคิดที่สำคัญของตะวันออก แต่จะมีอิทธิพลในตะวันตกอย่างมากในอนาคต
 
สุดท้าย ผมขอบคุณทีมงาน มิตซูบิซิ มอเตอร์ โดยเฉพาะคุณสมนึกฉั่วประดิษฐ์ภัณฑ์ กรุณาให้ผมไปบรรยายให้สมาชิกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับชิ้นส่วนรถยนต์ให้ มิตซูบิซิ กว่า 250 คน ผมได้เห็นศักยภาพของทุนมนุษย์ที่มีมาตรฐานสูง เกี่ยวรถยนต์และชิ้นส่วนซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจที่ยังมีอนาคตเพราะคุณภาพของทุนมนุษย์ยังดีอยู่ เพียงแต่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับ AEC ต่อไปAEC
 
ยิ่งไปกว่านั้นยังกระตุ้นให้บุคลากรเหล่านั้นได้มีแรงบันดาลใจทำงานเป็นทีมที่จะสร้าง
 
-         Networking ระหว่างบริษัทซึ่งกันและกัน
 
-         มองไปถึงการเข้าสู่อาเซียน ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่ยังมีอนาคตและหลีกเลี่ยนความเสี่ยง เช่น ภาคแรงงานในอนาคต และยังเพิ่มศักยภาพได้อย่างมหาศาลในอนาคต ถ้าสร้างให้บุคลากรเหล่านั้นค้นหาตัวเองและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 
งานสุดท้ายของผมคือไปเป็นประธานเปิดการประชุมนานาชาติ ในการประชุมวิชาการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จะจัดขึ้นในวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2556 ใน The 3rd International Conference on Sciences and Social Sciences 013:Research and Development for Sustainable Life Quality  ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
 
รู้สึกยินดีและภูมิใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กล้าที่จะจัดสัมมนาระดับนานาชาติและประสบความสำเร็จ เพราะมีมหาวิทยาลัยต่างชาติเข้าร่วมกว่า  13 แห่ง มีชาวต่างชาติมาร่วมประชุมกว่า 100 คน โดยเป็นศูนย์กลางระหว่างไทย อาเซียนและอีกหลายๆประเทศในโลก เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
 
นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนงานวิจัย เน้นการพัฒนาที่ยังยืนระดับชุมชน แต่สามารถอยู่ในโลกของโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม
 
งานดังกล่าวจะสำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่มีผู้นำอย่างท่าน รศ.สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน จะนำมหาวิทยาลัยไปอยู่ระดับนานาชาติ และนำวิสัยทัศน์มาปฏิบัติเพื่อการศึกษาของคนไทยให้มีคุณภาพรองรับอาเซียนในอนาคต
 
หนังสือ Human Equity  Advantage
 
 
บรรยากาศที่ผมได้รับเกียรติจาก Mitsubishi Motors Cooperation Council (Thailand): [MCC] ให้มาบรรยายหัวข้อ Human Capital Strategy of Thailand Automotive Industry for AEC (ทุนมนุษย์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยพร้อมก้าวสู่อาเซียน) ให้กับพนักงานระดับกลางกว่า 250 คน 
 
 
 
บรรยากาศที่ผมไปเป็นประธานเปิดการประชุมนานาชาติ ในการประชุมวิชาการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2556 ใน The 3rd International Conference on Sciences and Social Sciences 013:Research and Development for Sustainable Life Quality  และบรรยายพิเศษให้กับอาจารย์และบุคลากรรุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม หัวข้อ “การพัฒนาอาจารย์และบุคลากรเพื่อเข้าสู่คุณภาพและมาตรฐานสากล
 
 
จีระ หงส์ลดารมภ์
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181
คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 548542เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท