วิกฤติเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอกส่วนหนึ่ง ปัจจัยภายในเสริม รัฐบาลขาดความสามารถมองแค่ระยะสั้น


  • ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
    7
     

บทความแนวหน้าจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104

 

วิกฤติเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอกส่วนหนึ่ง ปัจจัยภายในเสริม รัฐบาลขาดความสามารถมองแค่ระยะสั้น

คนไทยรุ่นผมได้ผ่านต้มยำกุ้งมาแล้ว เมื่อปี’40 ประเทศไทยเคยมีปัญหาสาหัสยากที่จะอธิบาย ใครรอดมาได้ถือว่าเก่งและเฮงบทเรียนครั้งนั้นน่าจะแพงและจดจำไว้ไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก ณ วันศุกร์ที่เขียนนี้ ชักไม่แน่ใจแล้วว่าเศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน? บทเรียนราคาแพงจะช่วยได้หรือไม่? ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจจะกลับมาหรือเปล่า?

ปัญหามี 2 ปัจจัย

ปัจจัยแรกคือ ปัจจัยเศรษฐกิจภายนอก กล่าวคือ 5-6 ปี ที่ผ่านมา ขณะที่อเมริกาหรือยุโรปย่ำแย่จาก Subprime และจากหนี้ของกรีซเป็นหลัก ประเทศเศรษฐกิจใหม่ Emerging Markets ก็เข้ามาแทนที่ ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มประเทศ Brics คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ อาจจะรวมไปถึงประเทศในกลุ่ม ASEAN ด้วย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

จุดเริ่มต้นของปัญหาก็คือ เศรษฐกิจของจีนอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยขยายตัว 10% ติดต่อกันกว่า 20 ปี ปีนี้ขยายได้แค่ 7% และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวช้าลง ปัญหาใหญ่ๆ คือการขยายสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพและรัฐวิสาหกิจของจีนยังมีบทบาทสำคัญกว่าภาคเอกชน

อินเดียมีปัญหามากมายทั้งสังคม การเมือง ความมั่นคงและโครงสร้างพื้นฐาน เคยคิดว่า อินเดียจะหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ของความยากจนชักจะไม่แน่ใจแล้ว การขยายตัวตกต่ำกว่าจีน ปีนี้อินเดียขยายได้แค่ 2-3%

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่วน บราซิล มีปัญหามาก เพราะยังไม่รวยจริง แต่แสดงความร่ำรวยโดยขาดพื้นฐาน ไปรับเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกและโอลิมปิก ทำให้มีการลงทุนใช้จ่ายเกินตัว

ในขณะที่อเมริกาก็เพิ่งฟื้นและยังมีปัญหาว่างงาน ส่วนยุโรปก็ขยายตัวได้ต่ำ การส่งออกของไทยไปยังลูกค้าทั่วโลกจึงมีปัญหามาก เมื่อการส่งออกมีปัญหา การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็มีปัญหาตามมา คาดไว้ว่าจะขยาย 4% บัดนี้อาจจะแค่ 3% ก็เก่งแล้ว น่าจะดูการเก็บรายได้ของรัฐบาลยังดีอยู่หรือเปล่า?

กิตติรัตน์ ณ ระนอง

ของไทยน่ากลัวกว่าประเทศอื่นๆ เพราะผู้นำมีปัญหา ไม่รู้ตัวเองว่าไม่รู้เรื่องอะไร จึงแก้ปัญหาอย่างลำบาก ไม่ตรงประเด็นและไม่ถูกจุด

ยิ่งไปกว่านั้น มีสมมุติฐานว่าเป็นรัฐบาลที่เคยทำสำเร็จยุคคุณทักษิณ ช่วงแรกๆ เศรษฐกิจขยายตัวได้มาก มาคราวนี้คิดว่าต้องสำเร็จอีก

จึงเป็นที่มาของคำพูดฝรั่งที่ว่า “What gets you here, Won’t get you there” คือนโยบายเดิมๆ ที่เคยสำเร็จจะไม่สำเร็จเสมอไปเพราะสถานการณ์เปลี่ยนไป

ยุคแรกๆ ของคุณทักษิณบริหารเป็นช่วงที่ประเทศกำลังขาขึ้น ฟื้นจากฟองสบู่ การปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จหลายโครงการ เศรษฐกิจ เงินขยายตัวได้ ค่าเงินบาทอ่อน ส่งออกได้ดี การส่งออกเป็นตัวนำการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน นโยบายจำนำข้าวล้มเหลว การส่งออกข้าวตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ขายแค่ 3 ล้านตัน จากที่เคยเฉลี่ยที่ 10 ล้านตัน

-นโยบายค่าจ้าง 300 บาททุกจังหวัด ทำให้ธุรกิจเล็กๆทั้งอุตสาหกรรม หรือบริการตกต่ำ ขาดความสามารถในการแข่งขัน

-ค่าครองชีพแพงทั้งแผ่นดิน

-ขาดแคลนแรงงาน แต่ไม่ลงทุนในการพัฒนาทักษะและทัศนคติ ทำให้ Productivity ต่ำ

-ประชากรแก่เร็วยังไม่มีนโยบายแน่นอนจะจัดการอย่างไร?

-นโยบายเหล่านี้เป็นไฟเติมความเลวร้ายเศรษฐกิจไทยในยุคปัจจุบัน

ที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือ สร้างนิสัยให้คนไทยโลภ ไม่เน้นหลักของรัฐธรรมนูญปี’50 ที่ให้เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจพอเพียง คุณยิ่งลักษณ์เคยอ่านรัฐธรรมนูญหรือเปล่า?

การใช้จ่ายงบประมาณเป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่ประหยัด คิดว่าไทยยังรวยอยู่ คิดว่าฉันคือเจ้าของเงิน แต่จริงๆ แล้ว คือ ภาษีของพวกเราทุกๆ คน

-การลงทุนระยะยาวไม่มี

-เรื่องวิจัย พัฒนาล้มเหลว

-ระบบการศึกษาล้มเหลว

-ตัดงบวิจัยทุกมหาวิทยาลัย ทำให้อธิการบดีทุกมหาวิทยาลัยต้องวิ่งหาเงินมาเอง ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น บุคลากร และค่าสาธารณูปโภคน่าเศร้ามาก ทุนมนุษย์ของคนไทยจะเป็นอย่างไร?

คงต้องดูกันต่อไปว่าคนไทยที่รักประเทศจะช่วยกันดูแลปัญหาความยั่งยืนของประเทศอย่างไร? โดยหันมาประหยัด 
เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยง

คนไทยจะหันมาทบทวนตัวเองในเรื่องการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่? หรือยังคิดว่าประเทศฉันอยู่ได้เพราะมีนโยบายประชานิยมที่รัฐบาลป้อนทุกอย่างให้

คนไทยขาดความมั่นใจในตัวเอง “ต้องแบมือขอรัฐบาล”

ปัญหา คือ รัฐบาลยากจน ไม่มีอะไรจะให้ แล้วจะอยู่กันอย่างไร?

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์ 0-2273-0181

คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 548547เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท