ความคิดสร้างสรรค์และทีมงานเพื่อการสร้างสรรค์


 

             ความคิดสร้างสรรค์  เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คนและองค์กรสามารถดำเนินงานขับเคลื่อนภารกิจสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถสร้างสรรค์งานให้มีความก้าวหน้า ตอบสนองความต้องการของตนและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นแหล่งเกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีในทุกองค์กร

            ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เป็นเรื่องของความสามารถเฉพาะบุคคล  เป็นเรื่องของคนฉลาดเท่านั้น  ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ  หรือไม่มีใครสามารถจัดการความคิดสร้างสรรค์ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความเชื่อที่ต้องปรับเปลี่ยน เมื่อความจริงของความคิดสร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 องค์ประกอบ คือ

1.       ความเชี่ยวชาญ (expertise)  คือ ความรู้ด้านเทคนิค  กระบวนการ และความฉลาด

2.       ทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative-thinking skill) เป็นความสามารถในการแสวงหาวิธีแก้ปัญหา มีจินตนาการ มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ถึงแม้จะมีอุปสรรค

3.       แรงจูงใจ(motivation) คือ สิ่งที่มากระตุ้นเพื่อให้เกิดการกระทำ  ซึ่งมีทั้งแรงจูงใจภายนอก เช่น ค่าตอบแทน  การเลื่อนตำแหน่ง และแรงจูงใจภายในซึ่งเป็นความปรารถนาหรือความสนใจที่กระทำให้สำเร็จ

ทั้ง 3 องค์ประกอบ จะช่วยผู้บริหารทำงานสำเร็จตามเป้าหมายได้ถ้าหากสามารถบริหารจัดการให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร โดยการวางคนให้เหมาะสมกับงาน (put the right man on the right job) มอบความไว้วางใจโดยให้อิสระในการดำเนินงาน  การสนับสนุนเวลาและทรัพยากรให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน กระตุ้นให้เกิดทีมงานเพื่อการสร้างสรรค์ซึ่งผู้บริหารเองก็ต้องเปิดใจยอมรับ(Open mind) ว่าความสร้างสรรค์อาจเกิดจากคนเพียงคนเดียว แต่การทำงานอย่างสร้างสรรค์ไม่สามารถสำเร็จได้โดยคนๆเดียวได้ ผลงานที่สร้างสรรค์ย่อมเกิดจากการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขามารวมกัน  ซึ่งย่อมมีสิ่งที่เกิดขึ้นในทีมงานที่ผู้บริหารต้องยอมรับ คือ

1.       การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ระหว่างความคิดใหม่ กับ ความมีประสบการณ์

2.       การให้อิสระและความมีวินัย

3.       ความสนุกสนาน และความเป็นมืออาชีพ

4.       การปรับตัวตามสถานการณ์ และการวาแผน

ผู้บริหารต้องสร้างความสมดุลของสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นด้วยการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ ด้วยวิธีการ ดังนี้

1.       สร้างบรรยากาศที่ทำให้คนเต็มใจที่จะถกเถียงเรื่องที่ทำให้รู้สึกลำบากใจ

2.       อำนวยความสะดวกในการปรึกษาหารือกัน  สร้างบรรทัดฐานของกลุ่ม  กระตุ้นให้คนร่วมกันระบุปัญหาที่ชัดแจ้ง  ใช้การปรึกษาหารือที่ไม่เป็นทางการ

3.       พยายามหาข้อสรุปให้ได้ด้วยการปรึกษาหารือ

นอกจากนี้ ผู้บริหารควรเพิ่มพลังในการสร้างสรรค์ ใน 6 ขั้นตอน ดังนี้

1.       พยายามสร้างความสอดคล้องกันระหว่างเป้าหมายขององค์กรและค่านิยมที่ตนเองยึดถือ

2.       ทำกิจกรรมที่ริเริ่มด้วยตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน เป็นลำดับแรก

3.       ใช้ประโยชน์จากิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ สำหรับการทบทวนความคิดและปรับปรุงงาน

4.       เปิดรับโอกาสที่เข้ามาใหม่ ๆ  ทดลองความคิดใหม่ ๆ

5.       พัฒนาทักษะการทำงานหลาย ๆ ด้านเพื่อได้เรียนรู้สิ่งที่แตกต่าง

6.       สร้างโอกาสในการสื่อสารจากปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดกับเพื่อนร่วมงาน

            ความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นทักษะที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกฝน เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับคนและองค์กรในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องแสวงหาความรู้  เทคนิค วิธีการในการพัฒนางาน โดยมีผู้สนับสนุนให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลและในองค์กร  ท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เพื่อให้คนและองค์กรมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ที่แตกต่าง  เกิดประโยชน์และสร้างความรับผิดชอบ  การมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาสังคม

แหล่งที่มา

 

แคทซ์, ราล์ฟ. (2554การบริหารจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ เอ็กซเปร์เน็ท.  

หมายเลขบันทึก: 548818เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2013 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท