นักล่าฝัน "นักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2557" workshop การเขียนโครงการ


วันที่ 3-4 สิงหาคม 2556 กองบริหารงานวิจัย มข. ได้นำพา คณะวิทยากร/ผู้ทรงคุณวุฒิ มข. + นักวิจัยใหม่ ร่วม 50 คน + ทีมงาน ora รวมทั้งสิ้นกว่า 80 คน ไปฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย อย่างเข้มข้น ทั้งรูปแบบ กระบวนการ กลไก การมีส่วนร่วมระหว่างวิทยากรกลุ่ม + นักวิจัยใหม่ แต่ละกลุ่ม ดังภาพ.. 

ศ.ดร.โสพิศ วงศ์คำ  ประธานคณะกรรมการโครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มข. ประจำปี 2557 กล่าวทักทายและเปิดงาน

ถึงที่หมาย โรงแรมใบบุญแกรนด์ จ.เลย พัก และรับประทานอาหารกลางวัน จากนั้นเข้าเวที ชี้แจงกระบวนการ และ แบ่งกลุ่มทันควร การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อฝึกปฏิบัติ จะมีวิทยากรประจำกลุ่ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิาจากคณะต่างๆ ของ มข. คอยให้คำแนะนำในการฝึก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีโครงการที่เสนอขอ ประมาณ 6-8 โครงการ/คน การแบ่งกลุ่ม จัดเป็น 3 สาขา

1) สาขาวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี  2) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ฝึกปฏิบัติในกลุ่ม โดย แต่ละคนนำเสนอโครงการตนเอง เพื่อให้เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนเสนอแนะ เติมเต็ม

 

ตกเย็น ลั้นลา...ทานข้าว ร้องเพลง สังสรรค์ เฮฮา.. จัดไมค์แทบไม่ทัน 

ท่านแรกที่ขึ้นร้อง เปิดเวที โดย ศ.ดร.อารันต์  พัฒโนทัย

 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และที่ปรึกษาสำหรับโครงการนี้ด้วย

ที่ปรึกษามอบของที่ระลึก และแสดงความชื่นชม เชิดชูเกียรติ คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในโอกาสที่วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 2 ท่าน

ศาสตราจารย์ ดร.โสพิศ  วงศ์คำ

รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ และ ประธานโครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ปี 2557

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา เงินแท้  

คณะวิทยาศาสตร์  มข. และวิทยากรประจำกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนฯ ในครั้งนี้ด้วย

 

เช้าวันที่ 4 ส.ค. 56  วิทยากรประจำกลุ่ม ประชุมสรุปผลการ workshop ของวันที่ 3 ส.ค. เพื่อนำเสนอที่ประชุมใหญ่ในวันใหม่

เพื่อนำข้อจำกัด และแนวทางในการพัฒนาการ workshop นักวิจัยใหม่ ในรุ่นต่อ ๆ ไป

 

นักวิจัยใหม่ผู้แทนของแต่ละกลุ่ม นำเสนอผลการฝึก ในกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยน ในเวทีใหญ่

ถ่ายภาพหมู่ ร่วมกัน ก่อนกลับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสวัสดิภาพ

สรุปผลการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 3-4 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมใบบุญแกรนด์ จ.เลย ได้ผลสรุปดังนี้่

  • ระบบ กระบวนการ และกลไก ที่ดี มีวิทยากรประจำกลุ่ม คอยให้คำแนะนำตลอดการฝึก ในกลุ่ม เพื่อให้หลักและวิธีการคิดค้นหาโจทย์/ประเด็นวิจัย ที่ชัดเจน ควรเป็นอย่างไร
  • KM ระหว่างกลุ่ม หลากหลาย และได้ประโยชน์ แนวคิด วิธีการเขียน  จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม 
  • เป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ทั้งระดับ นักวิจัยอาวุโส นักวิจัยรุ่นกลาง นักวิจัยรุ่นใหม่ ในคราวเดียวกัน
  • เกิดแนวคิดใหม่ ๆ และใฝ่หาที่อยากจะทำวิจัย เกิดแรงผลักดัน กระตุ้นให้ทำวิจัยมากขึ้น
  • เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม อย่างทั่วถึงทุกระดับ
  • เกิดกลุ่ม/เครือข่ายวิจัย ทั้งในสาขาเดียวกัน หรือต่างสาขา มากขึ้น
  • มีวิธีการถ่ายทอดใหม่ และอาศัย "พี่สอนน้อง" พี่นักวิจัยใหม่รุ่นก่อน จะให้เข้ากระบวนการมาเป็นพี่เลี้ยง ร่วมกับนักวิจัยใหม่ น้องใหม่ ในปีถัดไป ด้วย
  • เพื่อสืบสาน งานอย่างต่อเนื่อง จึงมีประธานแต่ละกลุ่ม เพื่อการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน ในระยะต่อไป 
  • ก่อนการรับทุน จะมีระบบประเมินข้อเสนอโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง เพื่อให้โครงการวิจัยมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
  • ส่งเสริม สนับสนุน และเอื้อต่อการดำเนินงานวิจัย ของนักวิจัยใหม่ ในระดับคณะ/หน่วยงาน เป็นอย่างดี
  • นักวิจัยใหม่แต่ละโครงการ จะมีพี่เลี้ยงประจำโครงการ คอยให้คำแนะนำตลอดการทำวิจัย จนแล้วเสร็จ

นึ่คือ อีกโครงการที่เรา ORA มข.จัดให้

"พัฒนาคน พัฒนากระบวนการ พัฒนางานวิจัย สิ่งใหม่ ๆ ที่มหาวิทยาลัยของเราต้องการ"

แชร์เพื่อประโยชน์ และแลกเปลี่ยน เสนอแนะด้วย นะคะ

ขอบคุณและสวัสดดีค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 548864เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท