สมัชชาสุขภาพจังหวัด


ตามความเข้าใจของผม การทำเรื่องสุขภาพภาคประชาชนควรจะยืนบนพื้นฐานของประชาชน ไม่ใช่อาศัยการทำงานในระบบราชการ ประเด้นที่ผ่านมานั้นการทำงานสุขภาพของภาคส่วนราชการทำได้ดีแต่ไม่ไดครอบคลุมและทำให้ประชาชนได้เป็นเจ้าของเรื่องที่ควรเป้นเรื่องที่ตนเองต้องรับผิดชอบ จึงมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติออกมา มีกองทุนสุขภาพตำบลออกมา ผมเข้าใจว่าผู้ที่คิดเรื่องนี้ มีนโยบายอย่างนี้ออกมาคงอยากให้ประชาชนเป็นเจ้าของเรื่องนี้อย่างจริงจังเหมือนต่างประเทศในหลายประเทศที่ประชาชนจะรู้ว่าตนเองต้องดุแลสุขภาพตนเองอย่างไร ป้องกันโรคอย่างไร ตรวจสุขภาพอะไรเมื่อไร อย่างไร ประมาณนี้ ซึ่งต่างจากประเทศไทยมากที่ประชาชนคิดว่าต้องฝากสุขภาพไว้กับเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล 

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติจึงออกมาเป็นลักษณะอย่างนั้น คือการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและจัดการสุขภาพด้วตนเอง นอกจากนี้เรายังมีนโยบายที่เกี่ยวข้องออกมามากมาย เช่น หมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบล อำเภอจัดการสุขภาพ แต่สุดท้ายเมื่อลงสู่การปฏิบัติจริงกลับกลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่จัดการให้หมด ยกตัวอย่าง มีการประชุมหมู่บ้านจัดการสุขภาพแห่งหนึ่ง เพื่อทำแผนสุขภาพชุมชน นักวิชาการสาธารสุขจพ.สาธารณสุข เตรียมการนัดประชุมอย่างดี เมื่อถึงเวลา ชาวบ้านมาเต็ม หัวหน้าทีมลงมือพูด ๆ ๆ ๆ ตามด้วยนักวิชาการ พุด ๆ ๆ พอชาวบ้านอ้าปากจะบอกว่าหนูมันมากินข้าวโพดที่ไร่หมดเป็นแปลง ๆหมอก็บอกว่าไม่ใช่ปัญหาสุขภาพ มันเป็นปัญหาของเกษตร หยุดก่อน ! หยุดก่อน ! ถึงเวลาทำแผนชาวบ้านต่างถอยหลัง 1 ก้าว ให้หมอทำแผนแทน "หมอเก่ง หมอทำแผนเลย"  กลุ่มนี้ก็หมอทำ อีกกลุ่มก็หมอทำ สุดท้ายแผนออกมาเป็นรูปร่างสวยหรูมาก ๆส่งขออนุมัติผ่านโลด หมอเก่ง ไม่ใช่ชาวบ้านเก่ง ประโยชน์ที่ได้ไม่รู้ ปัญหาจริง ๆไม่รู้ ชาวบ้านไม่พูด ไม่กล้าพูด ปัญหาที่เอามาทำแผนเป็นปัยหาของหมอ ๆ

แต่พอแผนงบประมาณออกมาสิ อนุมัติแล้ว ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง  ไม่รู้จะทำอะไร ปัญหาที่เขียนในแผนก็เป็นของหมอ ชาวบ้านทำไม่เป็น ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง

ประเด็นลักษณะเดียวกันสมัชชาสุขภาพจังหวัด ดูจากคณะกรรมการที่มี 20 คนเป็นชาวบ้านจริง ๆสัก5 คนถึงเปล่าไม่รู้ในแต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่ที่มาทำงานเป็นทีมกรรมการก็หน้าเดิม ๆชาวบ้านจากหมู่บ้านชุมชน ตำบล อำเภอ ไม่มี มันเป็นลักษณะกรรมการที่ลอยอยู่เหนือประเด็น ประเด็นที่พุดถึงก็เป็นประเด็นใหญ่ ๆ ที่ซ้ำกันไปมากับงานประจำ ประเด็นพื้นที่ไม่มี ที่ไม่มีก็เพราะกรรมการส่วนใหญ่อยู่ระดับจังหวัดจะรู้่หรือครับประเด็นที่ชาวบ้านเดือดร้อนจริง ๆคืออะไร ยกตัวอย่าง เช่น เราบอกเกษตรกรใช้สารรเคมีมาก ๆ ๆ ๆ แต่ทีมที่ทำงานเรื่องนี้ไม่มีชาวสวนชาวนาชาวไร่สักคนจะแก้ยังไงครับ ข้อมูลจริง ๆอยู่ไหน เฮ้อ เห็นแล้วก็เหนื่อยนะครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 549429เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2013 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2013 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท