ภายนอกไม่สำคัญเท่าภายใน


เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู เรื่องภายนอก

ไม่สำคัญเท่าได้เห็นเรื่องภายใน

ปฏิบัติจิตเพียงแค่วันละ 10นาทีทุกวันๆ

แม้เพียงน้อยนิดย่อมเกิดประโยชน์ได้ด้วยตัวเอง

จิตสงบลงไป เบิกบาน พอสบายๆ

อุปจารสมาธิ

ยังติดรู้สึกว่ามีกาย ลมหายใจยังปรากฏ

อันไหนเกิดขึ้นก็ยกเอาส่วนนั้นมาพิจารณา

กายมาก็พิจารณากาย

ลมหายใจมาก็ตามรู้ลมหายใจจนกว่าจะละเอียด และหายไป

นิ่งเฉยๆ แล้วไปไหนต่อ หรือความรู้ย่อมไม่ปรากฏขึ้น แล้วไปไหนต่อ

ก็ฉันไปไม่ได้ ฉันทำได้เท่านี้ๆจริงๆ หายไปหมดแล้วฉันจะเอาอะไรเป็นเครื่องรู้ เป็นที่ตั้งเป็นฐาน

ช่วยบอกฉันที

 

คำสำคัญ (Tags): #จิต
หมายเลขบันทึก: 551364เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

- ลองนำอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา (ไตรลักษณ์) มาพิจารณากับส่วนต่าง ๆ ของตน ที่ถือครองอยู่ เช่น เกสา โลมา ทันตา นักขา ตโจ .. หรืออารมณ์ของจิตที่ผ่านพิจารณาเข้ามา เช่น ถ้าเกิดปิติ ก็เอาไตรลักษณ์ดังกล่าวมาพิจารณากำกับไว้..จะได้ไม่เป็นสมาธิดิ่ง ที่สงบ แต่ไม่เกิดปัญญา หรือหลงวิเศษคุณในสมาธิไปเสียหมด นะครับ

- เป้าหมายการปฏิบัติ คือให้ได้ปัญญาที่ถูกต้อง รู้เห็นตามความเป็นจริง คือรู้ว่า ล้วนแต่เป็นไตรลักษณ์ เพื่อว่า ยามออกจากสมาธิ ไปดำเนินชีวิตประจำวัน จะได้ไม่เกิด โลภ-โกรธ-หลง จิตใจมีความมั่นคง มีปัญญาที่สามารถแก้ไข เอาตัวรอดจากอบายได้..

- แล้วในที่สุด จิตใจก็จะสะอาด (ปราศจากกิเลส เศร้าหมองแก่จิต) , สว่าง (เห็นแล้วด้วยปัญญาที่ชอบ) และสงบ (จิตไม่กระเพื่อม แม้ปิติยินดี รู้สึกชนะ หรือหดหู่ เศร้าซึม) ครับ

- อนุโมทนาด้วยครับ 

- ชยพร  แอคะรัจน์

ชื่นชม  ทุกอย่างมิใช่ของเราจ้า

สาธุ สาธุ ค่ะอาจารย์ต้อยติ่ง และอาจารย์ชยพร ที่ให้ข้อคิดและคำแนะนำในการปฏิบัติ วันนี้กุหลาบไปงานบวชของหลานชายที่วัดราชประดิษฐ์ ตอนหนึ่งได้ยินหลวงพ่อเจ้าอาวาสอบรมพระใหม่เกี่ยวกับ " เกสา โลมา ทันตา นักขา ตโจ .. " พยายามฟังแต่ฟังไม่ถนัด น่าจะเป็นคำสอนที่อาจารย์พูดถึงนะคะ แปลกแท้ แค่อยากรู้ ก็ได้รู้เร็วจริง ๆ ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ _/|\_ 

เมื่อ..จิต..สงบ..ว่าง..วาง..เบา..สบายๆ....ก็ให้..รู้..อยู่..อย่างนั้น...ให้รู้..อยู่..กับ..ปัจจุบัน..ลม..หาย..ใจ..เป็น..กัลยาณมิตร..

ภาวนา..ใช้เมตตา..เป็นที่ตั้ง..เมตตาต่อ..ตน..ต่อ..ผู้อื่น..แผ่เมตตา..น้อมจิต..สู่..ความว่าง..วาง..เห็น..อนิจจัง..ทุกขัง..อนัตตา..

ใช่จริง ๆๆๆๆๆ คนส่วยใหญ่มองกันที่ภายนอกนะคะ

ขอบคุณค่ะ น้อง ท้องฟ้า

ปลายฝนก็ยังขยันนะคะ ขอบคุณดอกไม้สีสวย และข้อลปรร.ค่ะ

 Bright Lily ขอบคุณที่แวะมาอ่าน

และให้กำลังใจนะคะ

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากทุกท่าน ออกพรรษาแล้ว แต่ใจยังไม่ออกนะคะ อนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 Joy
 tuknarak
 ดร. พจนา แย้มนัยนา
 เกศินี จุฑาวิจิตร
 ไชย เทพฉิ

กุหลาบ มัทนา

ขอบคุณที่แวะมาลปรร.นะคะ

ปถวีธาตุ 20อย่างอันได้แก่เกศา คือผม โลมาคือขน นขาคือเล็บ ทันตาคือฟัน ตะโจคือหนัง(3ชั้น) มังสังคิอเนื้อ นหารูคือเส้นและเอ็น

อัฏฐิคือกระดูก อัญฐิมิชชังคือเยื่อในกระดูก วักกังคือม้าม หทยังคือหัวใจ ยกนังคือตับ กิโลมกคือผังผืด ปิหกังคือไต ปัปผาสังคือปอด

อันตังคือลำไส้ใหญ่ อันตคุนังคือ ลำไส้ใหญ่ อนันตคุนังคือลำไส้น้อย อุทรียังคืออาหารใหม่ กรีสังคืออาหารเก่า มัตถเก

มัตถลุงคังคือสมอง เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้พิจารณาสังขารไม่เที่ยงค่ะ รวมถึงครูบาอาจารย์แผยโบราณท่านให้เรียนรู้ให้แม่นยำ

เพื่อจะได้เอาไว้พิจารณาวินิจฉัยอาการผู้ป่วยถึงเหตุแห่งความเจ็บป่วยและเพื่อการรักษาค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาลปรร.ร่วมกันนะคะ

 

ขอบคุณค่ะ

ยายธี

จิตว่างจิตสงบ น้อมสู่ความว่าง เบา สบายพิจารณา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนุโมทนาค่ะ

ขอบคุณค่ะผอ.

อัญชัญ ครุฑแก้ว

ท่านอ. ชยพร แอคะรัจน์ กล่าวไว้ชัดเจนค่ะ

"- เป้าหมายการปฏิบัติ คือให้ได้ปัญญาที่ถูกต้อง รู้เห็นตามความเป็นจริง คือรู้ว่า ล้วนแต่เป็นไตรลักษณ์ เพื่อว่า ยามออกจากสมาธิ ไปดำเนินชีวิตประจำวัน จะได้ไม่เกิด โลภ-โกรธ-หลง จิตใจมีความมั่นคง มีปัญญาที่สามารถแก้ไข เอาตัวรอดจากอบายได้..

- แล้วในที่สุด จิตใจก็จะสะอาด (ปราศจากกิเลส เศร้าหมองแก่จิต) , สว่าง (เห็นแล้วด้วยปัญญาที่ชอบ) และสงบ (จิตไม่กระเพื่อม แม้ปิติยินดี รู้สึกชนะ หรือหดหู่ เศร้าซึม) ครับ" 

ชวนให้ปฏิบัติ ปฏิบัติเช่นนี้แล้วโลกภายนอกมิมีรังเกียจ รังงอน โลภโกรธหลง โทสะ โมหะฯลฯ ค่อยๆหายๆ สบายๆชิวๆแต่มีเป้าหมายกับชีวิตที่ได้เกิดมาและยังดำรงอยู่ พี่เข้าใจว่า นี่คือความหมายของชีวิตที่พี่ต้องทำเพื่อการเรียนรู้โลกภายในของตัวเองที่ยังบางเบา ยังคงต้องฝึกฝนเรียนรู้ไปจนกว่าจะหมดโอกาส 

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท