"อริยะขัดขา"


"อริยะขัดขา" (Inside Disobedience)

อะไรคือ อริยะขัดขืน?

๑. ด้านภาษา : ในด้านภาษาคำนี้มาจากภาษาสันสกฤต (อริยะ) ผสมกับภาษาไทย (ขัดขืน) รากศัพท์มาจากคำว่า "อริ" แปลว่า ศัตรู "ย" แปลว่า ไป อริยะ แปลว่า ไปจากศัตรูหรือไกลจากศัตรู ไม่มีศัตรู ความหมายดั้งเดิมมาจากกลุ่มชนชั้นปกครองที่อพยพมาจากเปอร์เซียเพื่อเดินเท้าไปเอเชียไมเนอร์หรือชาวอานาโตเลียปัจจุบันคือ (ประเทศตุรกี) แถบเอเชียตะวันตกเช่น อินเดีย ที่เป็นแถบที่มีอารยธรรมที่เจริญมาก่อน จากนั้นก็แผ่อิทธิพลมาสู่อินเดียตอนเหนือ

ต่อมาก็สร้างระบบชนชั้นและการปกครองขึ้นมาใหม่แทนกลุ่มคนพื้นเมืองเดิม (มิลักขะ) จนกลายเป็นผู้นำและมีระบบการปกครองโดยนำเอาวัฒนธรรมการนับถือดวงดาว เทพสุริยะ มาด้วยผลสมกับความเชื่อคนพื้นเมืองที่นับถือเทพเจ้าป่า เขา ภูตผีและวิญญาณจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่เรียกว่า "ชมพูทวีป" ชนกลุ่มที่อพยพมาเรียกเผ่าตนว่า "อริยะชน" หมายถึง กลุ่มผู้เจริญ ส่วนกลุ่มดั้งเดิมเรียกว่า "มิลักขะ" (คนพื้นเมือง) ต่อมาพวกอพยพมาก็แบ่งระบบการปกครองประชาชนตามหลักธรรมศาสตร์ออกเป็น ๔ ชั้นเรียกว่า วรรณะสี่ คือ แบ่งผู้คนตามสีผิว 

ส่วนตะวันตกใช้คำว่า "Civic, Civil, Civis" หมายถึง หน้าที่ หรือ การปกครอง ถูกใช้เมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๔ ผู้ปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามหลักการปกครองเรียกว่า "Citizen" หมายถึง พลเมือง ผู้ซึ่งอาศัยตามเขตเมืองที่มีระบบการปกครองเป็นระบบ มีระเบียบ ไม่เหมือนผู้อยู่ป่า ทำให้เหมือนกับว่ามีการพัฒนาที่อยู่อาศัย การอยู่กันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีกฎหมาย ธรรมนูญและศาสตร์ว่าด้วยปกครองตามมา

ต่อมาคำนี้ก็ถูกใช้ในลักษณะผู้เจิญเพราะมีระบบดังกล่าวนี้เป็นบรรทัดฐาน จนถูกเรียกว่า Civilized group ระบบนี้จึงใช้เรียกกลุ่มที่เจริญว่า เมืองเจริญ กลุ่มผู้เจริญ (Civilised town) แล้วก็กลายเป็นโซนหรือประเทศที่เจริญตามมาเรียกว่า กลุ่มประเทศโลกที่หนึ่ง ที่สอง ส่วนที่สามและที่สี่ ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา พอมาถึงจุดนี้กลับเรียกคำว่า Developed Country ว่าเป็นประเทศที่เจริญ ส่วนประเทศที่ด้อยเจริญเรีกยว่า Developing Country คำว่า Civil กลับไม่เรียก

เมื่อเทียบกันสองกลุ่มคือ อินเดียกับตะวันตก (อริยะ : Aryan และ เจริญ : Civilized) แตกต่างกัน กลุ่มแรกมองว่าตนคือ ผู้อยู่เหนือกว่าชาวพื้นเมืองและมีอำนาจเหนือกว่า จึงวางระบบการปกครองดีกว่า โดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ ชั้น จนเป็นเหตุให้อินเดียนับถือระบบวรรณนี้มาถึงปัจจุบัน โดยอิงอำนาจเทพเจ้าคือ พระพรหมเป็นผู้กำหนด ที่เขียนไว้ในพระเวท ส่วนตะวันตกกลับเกิดขึ้นในกลุ่มเดียวกัน โดยเกาะกลุ่ม รวมกันเป็นพลังเป็นชุมชนเพื่อเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานคือ Natural right แล้วบริหารระบบการปกครองอย่างมีระเบียบโดยอาศัยกฎหมายเป็นสัญญาประชาชน 

กลุ่มนี้จึงเรียกว่า กลุ่มที่เจริญเพราะมีวัฒนธรรมในการดูแลปกครอง แต่เมื่อผู้คนเรียกร้องหรือถูกกระตุ้นด้วยนักปรัชญาว่า มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติ (John Locke) หรือมนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Aristotle) ทำให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องสิทธิของตนตามธรรมชาติขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ คนดำ คนเป็นทาส คนจน ฯ จึงเกิดการเรียกร้อง ประท้วง ขัดขืน รัฐหรือผู้มีอำนาจหรือเจ้านายขึ้นมา ประกอบกับประเทศต่างๆที่ถูกกดขึ่ทางวัฒนธรรม กฎหมาย อำนาจ ก็เรียกร้องเอกราชตนคืน เป็นเหตุให้เกิดการประท้วงอย่างเข้มแข็ง เรียกร้องเอกราช ทั้งแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทั้งแบบแข็งและแบบอ่อน ทั้งไร้อาวุธและมีอาวุธ ลุกลามไปทั่วโลก จนถึงทุกวันนี้

ทั้งหมดนี้ถูกตีความจาก  พระเจ้า เทพเจ้า  ธรรมชาติ สิทธิโดยกำเนิด และความเป็นมนุษย์นั่นเอง และที่กำลังเป็นไปตามความนิยมปัจจุบันคือ เจตจำนงและอุดมคติ ของการเป็นอยู่ของมนุษย์ ที่สุดมนุษย์เรียกร้องตามความหมายของภาษา (ในกฏหมายต่างกัน) หรือเรียกร้องจากความพ่ายแพ้ กลัวเสียอำนาจหรือประโยชน์ของตน จนลืมเป้าหมายดั้งเดิมคือ สัญญาประชาชน (Social Cotract: Jean Jacques Rousseau) ในแง่หลักความจริงของธรรมชาติทางศาสนา เป้าหมายคือ ความหลุดพ้น ความวุ่นวายทางโลก แต่จุดนี้ไม่มีพลวัตรพอที่ล่อให้ผู้คนเห็นวิสัยทัศน์แบบนี้ได้

ดังนั้น  ภาษาพระหรือศาสนาอ่อนหวานและอ่อนโยนเกินที่หัวก้าวหน้าจะยอมเชื่อ จึงคิดหาทางเอาภาษาเดิมมาสร้างเสน่ห์ให้น่าสนใจ จนเกิดกระแสคำว่า "อริยะขัดขืน" นั่นเอง

๒. สิ่งที่สร้างพลังการขัดแย้ง แข่งขัน ( The only Win) ย้อนรอยบรรพบุรุษของมนุษย์ไปในระยะต้น พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ในป่า เขา ราวทุ่ง มิได้อยู่เหมือนเราเหมือนทุกวันนี้ กิจกรรมหลักคือ การล่าอาหาร การป้องกันภัยให้ตัวเอง และหาที่อยู่เหมาะสม ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จึงเกิดการขยายพื้นที่อาศัย สมัยก่อนพื้นที่ของโลกยังไม่ได้ถูกจับจองเป็นของใคร ใครจะอยู่ไหนก็ได้ เมื่อพื้นที่ถูกจอง กอรปคนเพิ่มขึ้น ปัญหาก็ตามมาคือ แย่งที่อยู่ แย่งพื้นที่หาอาหาร แย่งการปกครองในกลุ่ม ในพื้นที่ ทำให้เกิดการฆ่า ทำลาย เผ่าพันธุ์อีกฝ่าย ต่อมาเมื่อโลกถูกแบ่งเป็นเขต ประเทศยิ่งเพิ่มความเข้มข้นในการแย่งพื้นที่หากิน หาประโยชน์มากขึ้น ที่สุดก็เกิดสงครามเผ่าพันธุ์ ล้างแค้น และสร้างอาวุธขึ้นเพื่อหยุดยั้งการรุกรานกัน

ในยุคก่อนหน้าที่เราตกอยู่ในยุคทหารครองโลก แต่ละประเทศจะมีกองกำลังทางทหารป้องกันตัวเอง เมื่อกองกำลังมีประสิทธิภาพก็คิดอยากได้ประเทศอื่นๆ หรือเข้าไปครอบครองเรียกว่า "ยุคอาณาจักรนิยม" (Colony) ต่อมาก็เกิดการรุกรานกัน เกิดการท้าทายกองกำลังทหาร ยุคนี้ต้องการครอบครองพื้นที่ ในขณะเดียวกันกลุ่มพ่อค้า นักเผยแผ่ศาสนาก็เล่นบทนักท่องเที่ยว นักแสวงหาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เล่นบทนักการทูต และบทนักสงคมสงเคราะห์ประเทศยากจนไปทั่วโลก ทำให้ศานาคริสค์แพร่กระจายไปทั่วพื้นโลก ในกิจการนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งด้านแหล่งกำเนิดศาสดา และประกอบกับมีอุดมการณ์ต่อศาสน์ในเชิงปกป้องในฐานะอำนาจของพระเจ้าด้วย จนเป็นเหตุให้เกิดสงครามศาสนาขึ้นมาในค.ศ. 1000-1200 เรียกว่า "สงครามคูเสด" ยุคนี้ขัดแย้งเพราะความเชื่อและแย่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

ตลอดเวลาโลกมิได้ว่างเว้นจากการขัดแย้งกันเลย ในต้นค.ศ. 20 เกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ ๑ (The Great war) สาเหตุมาจากจักวรรดิต่างๆในยุโรป เกิดท้าทายด้านอำนาจกัน ในแถบเซอเบีย์ ฮังการี ออสเตรียฯ จนกลายเป็นปัญหาสงครามระดับโลก จุดนี้ทำให้แถบยุโรปมีอำนาจทางทหารและมีอำนาจครอบครองไปทั่ว (เยอรมันนี) และสหรัฐเข้าร่วมเป็นพันธมิตรต่อสู้กับเยอรมันนีจนได้ชัยชนะ  จนเป็นเหตุให้ทำสัญญาแวร์ซายขึ้นและเป็นเหตุให้เกิดสงครามครั้งที่ ๒ ตามมา ยุคสงครามนี้เป็นการขัดแย้งด้านกองกำลังทหารอย่างแท้จริง

ต่อมาในปลายค.ศ.20 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและโฉมหน้าโลกใบนี้ ไม่ว่าด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การค้า การทหาร เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมฯ ล้วนเริ่มขึ้นอย่างเข้มข้น จนทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างใหญ่หลวง โลกมุ่งไปสู่การค้า การขาย ด้านระบบเศรษฐกิจเป็นหัวใจของโลก ซึ่งนำมาสู่การทำให้ประเทศใหญ่เจริญขึ้น รวยขึ้น ในขณะประเทศเล็กกลับจนลง ด้วยเหตุนี้ ประเทศเล็กๆเหล่านี้ก็เกิดการพึ่งพาจากประเทศร่ำรวย แต่ก็มีกลุ่มที่ค้านประเทศเหล่านี้เช่นกัน เพราะเกิดการเอาเปรียบของประเทศใหญ่ จนกลายเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งตามมา

ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปอย่างมาก เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศอย่างหนัก และเกิดปัญหาภายในประเทศของตนเอง จากประชาชน เพราะการกดขี่หรือระบบการปกครองของรัฐที่อิงแบบเก่าเช่น ระบบคอมมิวนิสต์ จึงเหมือนมีกำแพงสองฝั่งคือ ฝั่งโลกเสรีกับฝั่งเผด็จการ ในขณะเดียวกันกลุ่มนักคิด นักปรัชญาต่างๆ ก็ได้กระตุ้นด้วยแนวคิดต่างๆ ออกมาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์ของสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเสรีนิยม กลุ่มทุนนิยม กลุ่มธุรกิจ กลุ่มการค้า การลงทุน  กลุ่มหลังยุคใหม่ (PM)ฯ ทำให้เกิดความตื่นตัวเรื่อง การแข่งขันด้านการค้า สื่อ และการเมือง ทำให้ประชาชนเกิดความคิดแบบเสรีและเน้นอัตลักษณ์ตัวเองมากขึ้น จุดนี้เองได้นำไปสู่การคิดแปลกแยกและแตกต่างจากรัฐ จากลุ่ม จากอำนาจ ซึ่งดูเหมือนมีกระแสไปทิศทางเดียวกันคือ เสรีภาพเชิงปัจเจกชน (Individual freedom)

ดังนั้น  กิจกรรมต่างๆ จึงแสดงออกได้อย่างอิสระ ท้าทายอำนารัฐมากขึ้น ในองค์กร เอกชนก็เกิดการแข่งขันการค้า ธุรกิจอย่างไร้คุณธรรม ชุมชนถูกระตุ้นด้วยระบบเศรษฐกิจ การค้า การขายเพื่อเงินทอง ในระดับครอบครัวก็เกิดความแตกแยกแตกต่างๆ พ่อแม่สอนลูกไม่ค่อยได้ ครูตีเด็กไม่ได้ สิทธิขั้นพื้นฐานถูกรับรองจากรัฐ ผู้คนเหินห่างศีลธรรม ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ทรัพยากรธรรมชาติถูกกอบโกยโดยผู้มีอำนาจ โครงสร้างทางธรรมชาติถูกทำลาย สังคมก็เช่นกัน ในเชิงบุคคลก็เกิดความเห็นต่างกัน มีการทะเลาะวิวาท แบ่งพรรค แบ่งพวกกัน เข่นฆ่ากัน ข่มเหงกัน ไม่เคารพกันและกัน จนนำไปสู่การฟ้องร้องตามสถานีตำรวจและศาล จนปวดหัว ทั้งหมดนี้คือ ปรากฎการณ์แห่งความขัดแย้งในสังคมมนุษย์

ปรากฎการณ์เช่นนี้ นึกถึงสมัยสัตว์โลกเต็มแผ่นดิน ที่มนุษย์ใช้อาวุธล่า ฆ่าอย่างสนุกกลายเป็นเกมแห่งชีวิต โดยไม่มีจิตสำนึกที่ดีต่อกลไกทางธรรมชาติ และไม่มีวิสัยทัศน์ในอนาคตได้ว่า จะเป็นแหล่งเศรษฐกิจแบบถาวร คือ การท่องเที่ยวแบบนิเวศน์ ด้วยผลการกระทำเช่นนั้น สัตว์สูญพันธุ์ลง ไม่มีให้ล่าอีกต่อไป และด้วยเหตุที่สมบัติแหล่งความคิดลำทายนี้กลับมาต่อก่อกรรมทำชั่วกับมนุษย์ด้วยกัน เช่น สงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ (เขมร เซอเบียร์ แอฟริกา อีรักฯ)

แม้ในสังคมเมือง มีการเข่นฆ่ากันด้วยอาวุธสงครามง่ายดาย อะไรก็ฆ่าแกงกัน มีเกือบทุกที่ ทุกมุมของโลก โดยเฉพาะเมืองไทย และที่ขัดแย้งด้านทิฐิกันอยู่วันนี้ เหมือนกำลังดิ้นรนไปสู่การฆ่า หรือสงครามในเมือง เหมือนดั่งอดีตเมืองไทยเกิดมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ยังไม่เข็ดอีก หรือผลกรรมนี้ผลักดันให้เราต้องมาเข่นฆ่ากัน จองเวร จองกรรมไม่สิ้นสุดดดดดดด (เวรรูนี่แท้ๆ)

สาเหตุ: ๑) สัตว์โลกมีบาปกรรมติดตัวมาเรียกว่า วิญญาณโง่ (Soul: Plato) ๒) เพราะมนุษย์มีกำลังแห่งสัญชาตญาณความขัดแย้งมาแต่กำเนิด (Fire : Heracritus)  ๓) มีการแข่งขันตลอดภพตลอดชาติ (Gravity :Newton) ๔) มนุษย์มีสิทธิขั้นพื้นฐานของตน (Natural Right : Loke) ๕) มีสมองและระบบประสาทที่ตอบสนองความคิดตนเอง (Brain and nerves : Anatomy) ๖) มนุษย์มีกายที่ต้องใช้กำลังต่อสู้และผลิตเครื่องมือ (Energy and Tools : Source)

๓) การแก้เกลียว (ไม่ได้ไข)

     ๑) จัดเวทีให้แข่งขันกัน เพื่อลดการสะสมความเห็นผิดแบบสุดโต่งเช่น เหมือนสื่อโลกไซเบอร์ที่เปิดเวทีอยู่อย่างเสรีอยู่ทุกวันนี้

     ๒) ส่งตัวแทนในการบริหารประเทศ เพื่อให้มีส่วนร่วมทุกกลุ่ม เหมือนการลงสมัครสส. แต่เราจะให้บริหารในส่วนท้องถิ่นแบบเบ็ดเสร็จ

     ๓) สร้างกลุ่มที่ตอบสนองสังคมแบบอุดมคติ เช่น สร้างนักปกครองแบบ One way แบบเข้มข้นเหมือนแนวคิดของเพลโพล

     ๔) ให้รัฐเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านเข้าร่วมรัฐในการบริการด้วยกัน

     ๕) ยอมรับแบบปกติว่า ต่อไปนี้ เราจะมีกิจกรรมประท้วงแบบมาราธอนทุกๆที่ ในอนาคต

๔) คำถาม

     ๑) เราเป็นคนมีขาสองขาเดินขัดกันหรือไม่

     ๒) เรายังพอใจกับวิถีแบบไทยหรือไม่

     ๓) เราจะเดินทางไปจุดหมายตรงไหน  

     ๔) เด็ก เยาวชน คนรุ่นต่อไป จะเป็นอย่างไร

     ๕) เราลืมไปแล้วหรือว่า เรามิได้อยู่ยืนยงบนโลกนี้

       ดังนั้น จากคำถามเบื้องต้น ขอตอบว่า (อริยะขัดขืน) คือ การพัฒนาด้านจิตสำนึกและให้ตระหนักในส่วนรวมพร้อมมีคุณธรรมต่อตนเองและประเทศชาติ (คน) หมายถึง การแสดงออกที่ขัดเกลา ขัดฝืนความชั่วในตนให้มากๆ โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรืออาวุธใดๆ (ทำร้ายตน) แต่ให้ใช้ปัญญาและจิตสำนึกในตนแบบผู้เจริญหรืออริยบุคคลเขาทำกัน แต่ที่เห็นเราล้วนต่างก็ยอมปากท้อง มือ เท้า ใจ หู ตา บ้าน ชีวิต ฯ จนปรนเปรอมันอย่างสุดโต่งไปแล้ว ไม่ใช้มาตรการอริยะขัดขืนกิเลสในตนเองเลย แล้วอนาคตจะรับผลอย่างไร

*การบันทึกนี้ ไม่ได้อิงวิชาการ เป็นเพียงคิดเล่นที่อยากให้เป็นจริงเท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #ขัด#ขืน#ตื่น#รู้
หมายเลขบันทึก: 553837เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2013 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท