KM Model


สคส. นำเสนอ KM model ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางจิตวิญญาณ เพื่อนำไปสู่องค์กรเรียนรู้แบบไทยๆ

          ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 มีประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือ New KM Model ซึ่ง ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ได้จัดทำขึ้น เป็นการตอบสนองข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการนโยบาย สคส.ว่าน่าจะนำ spiritual value เข้ามาแทรกในกระบวนการจัดการความรู้ทั้งหมด

          Tuna Model หรือโมเดลปลาทูที่ประกอบด้วย Knowledge Vision, Knowledge Sharing และ Knowledge Asset เป็นส่วนของ Team Learning

          จากการทำงานร่วมกับกลุ่มต่างๆ พบว่ามีความแตกต่างกันมากในการรับรู้ การตีความ การร่วมทีม ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะได้ประโยชน์หรือไม่ก็ขึ้นกับกับการเปิดใจที่จะรับรู้และตีความอย่างเป็นกลางเพียงใด

          Model ใหม่จึงนำปัจจัยเรื่องความคิด จิตสำนึก และการรับรู้ของผู้เข้าร่วมเรียนรู้เข้ามาพิจารณาด้วย ซึ่งความคิด จิตสำนึก และการรับรู้นี้จะมาจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ ก) การตีความเมื่อได้รับข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างๆ รวมทั้งการนำข้อมูลที่เป็นประสบการณ์เดิมมาใช้  ข) ความรัก แรงบันดาลใจ  ค) การหยั่งรู้

          ปัจจัยเหล่านี้จะเชื่อมโยงไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีม นำไปสู่การกระทำ และความสำเร็จขององค์กร

          ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการได้ร่วมกันให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม เช่น

·       การตีความเมื่อได้รับข้อมูลต้องเป็นกลาง ปราศจากอคติ ลดตัวตน  พยายามตีความในฐานขององค์กร ไม่ใช่ฐานของตัวเอง  ผู้ที่อัตตาไม่สูงจะเกิดการเรียนรู้มากกว่าและง่ายกว่า (สุมน อมรวิวัฒน์)

·       ในกระบวนการเรียนรู้จะต้องมีทั้ง touch (การพูดคุยสัมผัส) และ trust (สุมน อมรวิวัฒน์)

·       ควรผสมผสานแนวคิดตะวันตกกับตะวันออกให้กลมกลืนกัน (สุมน อมรวิวัฒน์)

·       การตั้งโจทย์ ตั้งคำถาม ให้ทีมช่วยกันคิดจะเกิดการเรียนรู้เป็นได้ดีกว่าการบอกให้คำตอบตรงๆ (สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์)

·       การเรียนรู้เป็นทีมโดยที่ผู้ร่วมมีอัตตาน้อย จะช่วยยกระดับภูมิปัญญาจากปัจเจกมาสู่องค์กรหรือสถาบัน (สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์)

·       การเรียนรู้แป็นทีมจะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อเขาเรียนในสิ่งที่เขากำลังจะดำเนินการเพื่อวิสัยทัศน์ร่วม (วิจารณ์ พานิช)

·       น่าจะพยายามทำ model ที่ครอบคลุมทั้งในระดับปัจเจก ทีม และองค์กร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับองค์กรด้วย (อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล)

·       Team learning เป็นการเรียนรู้วิธีการทำงานของแต่ละคนว่าเขาทำงานกันอย่างไรจะเกิดได้ต้องมี shared vision (สุรสิทธิ์ ตันธนาศิริกุล)

·       องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นเรื่องของการพัฒนาพฤติกรรม ขั้นที่หนึ่งต้องเริ่มต้นด้วย joyful work คือสภาพที่ทุกคนทำงานด้วยความสนุก ไม่เหน็ดเหนื่อย  ให้โอกาสเขาทำในสิ่งที่อยากทำ  แล้วคนจะทุ่มเทให้องค์กร  ขั้นต่อมาคือ cross functional mastery, organizational capability (พฤติกรรมทุกอย่างอยู่ใน 5 discipline ขององค์กรแห่งการเรียนรู้) และ การปรับตัวทางธุรกิจเมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง (สุรสิทธิ์ ตันธนาศิริกุล)

model นี้คงจะได้รับการนำไปทดสอบในไม่ช้า เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเต็มที่

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 555เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2005 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สคส. มี CD-ROM เป็น Narrated PowerPoint เรื่องนี้ จำหน่ายในราคา ๑๐๐ บาท ครับ

วิจารณ์

  • อาจารย์ขาปัญหาที่มักพบในการทำกิจกรรม KM คือ "ผู้ทรงความรู้มีน้ำเต็มแก้ว" ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้คนตัวเล็กๆได้เติมน้ำให้นะคะ
  • แล้วก็มักกลับไปสู่ระบบ เผด็จการสำเร็จรูป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท